|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
TDRI วิเคราะห์ศก.ของไทย “เงินเฟ้อ-ของแพง” โจทย์แรกของรัฐบาลต้องแก้ไข ชี้เพิ่มเงินขรก.ชั้นผู้น้อยยังไม่พอ “ซี6 - ขรก.บำนาญ” อ่วมภาครัฐต้องรีบอุ้ม ขณะที่เสถียรภาพทาง “การเมือง-น้ำมัน” กระทบการลงทุนต่อเนื่อง เตือนสัญญาณอันตราย “คนตกงาน-ของแพง-เงินเฟ้อ” เกิดขึ้นพร้อมๆกันได้เวลานับถอยหลังซ้ำรอยวิกฤตปี’40 อีกครั้ง
ในสภาวะเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในยุค “ชักหน้า ไม่ถึงหลัง” สาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นทุกตัว ส่งผลต่อรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ขณะที่รายได้เท่าเดิมมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจึงต้องรับชะตากรรมของตัวเอง แม้ว่ารัฐบาลจะเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยคือตั้งแต่ระดับ 5 ลงไปให้เพิ่มค่าครองชีพ 6 % มีผลย้อนหลังตั้งแต่1พ.ค.2551เป็นต้นมา และกลุ่มสถาบันการเงินก็ประกาศเพิ่มค่าครองชีพให้พนักงานเช่นกัน
แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนในภาคเอกชน ต่างๆกลับยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการช่วยเหลือ แล้วทางออกของวิกฤตครั้งนี้จะเป็นเช่นไร นี่คือสัญญาณที่เรากำลังจะย้อนกงล้อกลับไปสู่วิกฤตการณ์ซ้ำรอยเหมือนปี 2540 อีกครั้ง!?
ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยและด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ฝ่ายวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม สถาบันพัฒนาวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจภาครวมของประเทศให้ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ดังนี้
เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
ปัญหาของเศรษฐกิจของไทยขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องปากท้อง ปัญหาราคาสินค้าที่แพงขึ้นขณะที่รายได้ของประชากรกับกับเท่าเดิมโดยปัญหามากจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารที่เพิ่มสูงมากขึ้นแทบทุกตัว ซึ่งจากภาวะเงินเฟ้อนี่เองย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้ประจำ แม้ก่อนหน้านี้รัฐบาลจะประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกต้นปี และล่าสุดที่ปรับขึ้นอีก 2-11บาททั่วประเทศหรือในอัตราที่เพิ่มขึ้น 4-5% ซึ่งหากจะเปรียบเทียบค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อต้องเปรียบกับตัวเลขตั้งต้นปี 2551 คือ 4 เดือนที่ผ่านมาไม่ใช่เปรียบเทียบกับรอบ 12 เดือนเพราะเราจะได้เห็นตัวเลขที่แท้จริงของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มแค่ 3.9% ไม่ใช่ตัวเลข 6.2% อย่างที่รับรู้กัน
อย่างไรก็ดีหากดูลงไปในรายละเอียดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 3.9% นั้นจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยเพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะใช้จ่ายเงินในการซื้อหาอาหารค่อนข้างมากซึ่งในช่วง 4 เดือน(ม.ค.-เม.ย.) ทำให้พบว่าอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มคนทีมีรายได้น้อยจะอยู่ที่ 5.2% เพราะฉะนั้นค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มถือว่าสอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น 4-5% เพราะฉะนั้นมาตรของรัฐบาลจะเข้าไปช่วยผู้มีรายได้ต่ำ แต่หากมองไปข้างหน้าเมื่อราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นภาครัฐอาจต้องปรับคาแรงในเดือน ต.ค. หรือ พ.ย.อีกครั้งก็ได้
สถานะเงินการคลังยังเข็มแข็ง.!
ขณะที่สถานะเงินทางการคลังของไทยยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจเพราะเมื่อไปดูหนี้สาธารณะต่อGDP หากมีปัญหาตัวเลขสูงกว่านี้แต่ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ 36% และอาจจะเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนนี้เป็น 38 % แปลว่ายังมีช่องว่างอีก 12 % กว่าจะถึงจุดอันตรายคือ 50% ต่อ GDP ขณะเดียวกันการทำบัญชีงบประมาณแบบขาดทุนก็ช่วยได้มากเพราะไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวไปกว่านี้บทสรุปตรงนี้ถือว่าสถานการณ์เงินของประเทศยังไม่น่าห่วง
หวั่นเงินเฟ้อเพิ่มศก.ซ้ำรอยปี40
ส่วนกลุ่มอื่นๆที่มีเงินเดือนประจำอาทิ พนักงานบริษัท ข้าราชการบำนาญ ลูกจ้าง/พนักงานองค์กรของรัฐ ภาครัฐขึ้นค่าครองชีพชั่วคราว 5-6 % ก็ถือว่า อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเงินเฟ้อแต่ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไปน่าจะได้การดูแลอีกครั้งหลังจากนี้หากภาวะเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้น ส่วนข้าราชการบำนาญน่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะกติกาเขียนไว้ว่าหากจะปรับอัตราเงินเดือนตามภาวะเงินเฟ้อจะต้องส่งเรื่องเข้าครม.เพื่ออนุมัติเป็นครั้งคราวไป
อย่างไรก็ดีหากจะบอกว่าจะเกิดวิกฤติซ้ำรอยปี 2540 นั้นยังไม่มีสัญญาณจะเกิดวิกฤตแบบนั้น แต่ความเสี่ยงนั้นอาจจะมีหากปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นไป ราคาสินค้าแพงขณะเดียวกันแรงงานจำนวนมากตกงานไปอีก แต่ภาวะในปัจจุบันการจ้างงานอยู่ในระดับที่ดี ภาคการผลิตก็ยังดีเพราะการส่งออกไปได้สวยอีกทั้งตัวเลขไตรมาส1ยังอยู่ในดับที่น่าพอใจ
ลงทุนยังไม่พื้น “น้ำมัน-การเมือง”ฉุด.!
ส่วนการภาคลงทุนที่น่าห่วงในช่วงนี้จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหนักที่มีต้นทุนจากการใช้น้ำมันกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จะชะลอการลงทุนออกไปอีก แม้ช่วงแรกเหมือนจะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง ซึ่งภาครัฐต้องหาวิธีการส่งเสริมการลงทุนโดยสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการลงทุนอาทิ พ.ร.บ. ค้าปลีก พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวเป็นต้น ขณะเดียวกันก็เร่งขับเคลื่อนนโยบายเมกกะโปรเจ็กต์ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยเร็วอีกทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการและการท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศจำนวนมากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ภาครัฐต้องเร่งส่งเสริมเช่นกัน
นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บรรยากาศการลงทุนสดใสแต่ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศยังเป็นห่วงสถานะทางการเมืองของไทยที่มีความง่อนแง่น ทั้งเรื่องความขัดแย้งของ 2 กลุ่มการเมืองที่อาจจะเกิดความรุนแรง การแก้รัฐธรรมนูญ และวาระการการบริหารประเทศอาจจะสั้น สิ่งเหล่านี้คือความกังวลของนักลงทุนต่างชาติ
ซับไพรม์สหรัฐฯไม่กระทบไทย
ส่วนปัญหาวิกฤตวิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐฯที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยว่า ในระยะแรกหลายฝ่ายกังวลว่าปัญหาซับไพรม์ในประเทศสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แต่แล้วก็ไม่ร้ายแรงขนาดนั้นเพราะแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะชะลอตัวแต่การส่งออกของไทยไปยังประเทศดังกล่าวยังขยายตัวได้ดีในระดับร้อยละ 20% ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯจึงไม่มีผลกระทบต่อไทยเท่าที่ควร
ขณะที่มุมมองนักวิเคราะห์จากไอเอ็มเอฟ (IMF) มองว่าปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯจะมีผลต่อทางด้านการเงินเท่านั้น แต่จะส่งผลต่อทางด้านการลงทุน และการบริโภคของประเทค่อนข้างน้อย จึงน่าจะทำให้ประเทศไทยซึ่งส่งออกไปยังสหรัฐฯจำนวนมากไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ทว่าหากเกรงว่าจะเกิดวิกฤติในช่วงนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะหากจะเกิดผลกระทบต่อประเทศไทยนั้นน่าจะได้รับผลกระทบตั้งแต่ต้นปี 2551 ไม่ใช่จะมาเกิดขณะนี้จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ อีกทั้งการนำเข้าที่สูงขึ้นทั้ง เครื่องจักร วัตถุดิบนั่นเป็นสัญญาณที่ทำให้รู้ว่าภาคเอกชนเร่งลงทุนเพราะมองเห็นโอกาสและความเชื่อมั่นก็เริ่มกลับมาแล้ว
โดยสัญญาณจากนอกประเทศที่จะทำให้เรารู้ว่ามีวิกฤตคือการลงทุนจากต่างชาติที่ลดลงอย่างมาก 2-3 เดือนติดต่อกัน ทั้งการส่งออกก็ตกลดลงจากยอดที่กำหนดไว้นั่นคือวิกฤตที่ทำให้ไทยต้องเตรียมตัวรับมือแต่ปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณดังกล่าว
รัฐต้องเร่งจัดการปัญหาเงินเฟ้อ
ดังนั้นมาตรการระยะสั้นที่ภาครัฐจะต้องทำในช่วงนี้คือดูแลภาวะเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไปและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาข้าวของที่แพงขึ้น ดูแลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำซึ่งต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงงานนอกระบบที่ยังไม่ได้รับการดูแลซึ่งหากเศรษฐกิจซบเซาแรงงานกลุ่มนี้จะถูกเลิกจ้างทันที
ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้จะเป็นการพิสูจน์ฝีมือของ “รัฐบาลสมัคร1”ในการนำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตหรือจะนำไปสู่วิกฤตแบบปี2540 ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศต้องผ่านการเจ็บปวดมาแล้ว!
|
|
|
|
|