|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ธนาคารทหารไทย" ภายใต้เงา "สิงโตสีส้ม" ค่าย ING กรุ๊ป จากเนเธอร์แลนด์ ปรับภูมิทัศน์ พลิกมิติจากแบงก์ สัญลักษณ์ "ท็อปบูท" มาเป็น ติดเครื่องยนต์เทอร์โบ ลงสนามแข่ง "ฟอร์มูล่า วัน" เร่งรายได้จากฝั่ง "รีเทล แบงกิ้ง" ผ่าน "ไอเอ็นจีประกันชีวิต" และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน "ไอเอ็นจี" ไล่ตามหลังแบงก์อื่นที่ ล่วงหน้าไปนานจนแทบไม่เห็นฝุ่น....
ธนาคารทหารไทย คือ อีกแบงก์ที่ผ่านการควบรวมกับ "ดีบีเอส ไทยทนุ" และ "บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม" ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมาแต่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า "ทหารไทย" ยังไม่สามารถเดินหน้าไปได้ไกล เมื่อเทียบกับแบงก์อื่น ที่แซงล้ำหน้าไปหลายเท่าตัว โดยเฉพาะในฝั่ง "รีเทล แบงกิ้ง" ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับแบงก์นับไม่ถ้วน
จนกระทั่ง ปลายปี แบงก์ที่มีภาพทหารบาดเจ็บ สาหัส มีอาการปางตาย ก็ได้รับการชุบชีวิต จากทุนหน้าใหม่ฝั่งยุโรป "ING กรุ๊ป" จากเนเธอร์แลนด์
การเปิดตัว แบงก์ทหารไทย และไอเอ็นจีกรุ๊ป เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ภายในห้องโถงชั้นล่างของแบงก์ทหารไทย จึงสร้างความแปลกตาและประหลาดใจ ให้กับหลายๆฝ่าย ราวกับ พลิกมิติมหัศจรรย์ในรอบ 50 กว่าปี นับจากก่อตั้งธนาคาร
" ปลายปี 2550 ทหารไทยได้ร่วมกับพันธมิตร ไอเอ็นจี กรุ๊ป หลังจากนี้ ทหารไทย ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จะเป็นยุคใหม่ เหมือนการปรับภูมิทัศน์ทางการเงิน ทั้งการให้บริการ และสินค้าหลากหลาย ผ่านสาขาทั้ง 470 กว่าแห่ง"
สถิต ลิ่มพงศ์พันธ์ ประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดจะทำให้ภาพของแบงก์สัญลักษณ์ "ท็อปบูท" ต่างออกไปจากอดีต เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ทหารไทยก็ต้องปรับตัวให้เร็ว โดยมี ไอเอ็นจี เป็นแบ็คอัพเบื้องหลัง
ในวันนั้น ภายในห้องโถง ชั้นล่าง ธนาคารทหารไทย ถูกเนรมิตรให้มีบรรยากาศที่มีสีสันสดใส มีรถแข่งเรโนลต์ ในสนามแข่ง ฟอร์มูล่า วัน จอดแน่นิ่ง
สิ่งนี้ อธิบายให้เห็นถึง เงาของผู้ถือหุ้นใหม่ ที่กำลังจะเข้ามา พลิกมิติ รูปแบบการตลาด การขาย และบริการให้กับ ธุรกิจ "รีเทล แบงกิ้ง" จุดอ่อนที่ทั้ง ไอเอ็นจี กรุ๊ป และทหารไทย ยังแก้ปัญหาไม่ตกเสียที
หลายปีที่ผ่านมา ไอเอ็นจี กรุ๊ป หว่านเม็ดเงินไปกับธุรกิจทั้ง 4 ขาหลักในไทยมากกว่า 2,500 ล้านบาท ทั้งไอเอ็นจีประกันชีวิต ธุรกิจธงนำ บลจ.ไอเอ็นจี ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และล่าสุดลงทุนในธนาคารทหารไทย
การขยายตลาดรีเทล แบงกิ้ง ผ่านสองพันธมิตร จึงไม่ต่างจากการใช้ประโยชน์จากทั้งสองฝั่ง ไอเอ็นจีใช้ช่องทางสาขา และฐานลูกค้าแบงก์ทหารไทย ขณะที่ทหารไทยก็จะมีรายได้จากโนฮาวน์ และนวัตกรรมด้านสินค้า และบริการที่หลากหลายจากไอเอ็นจี กรุ๊ป ที่เหนือชั่นกว่า รวมถึงเงินทุนที่เพรียบพร้อมกว่าในอดีต ไอเอ็นจีประกันชีวิต มีแต่ช่องทางขายผ่านตัวแทนเกือบจะทั้ง 100% รวมถึง บลจ.ไอเอ็นจี ก็ไม่มีช่องทางขายผ่านแบงก์ได้เลย ขณะที่แบงก์ทหารไทย ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จด้านธุรกิจรีเทลเลย นับจากก่อตั้งธนาคารมา 50 กว่าปี
ราเจซ เสฐฐี กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอเอ็นจีประกันชีวิต บอกว่า ในฐานะเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ ไอเอ็นจีจะเป็นฝ่ายป้อนโปรดักส์ใหม่ๆให้กับสาขาแบงก์ โดยประเดิมที่ 4 สินค้า คือ ทีเอ็มบีคุ้มค่า 15/8จับกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูง ทีเอ็มบี คุ้มอนาคต สำหรับกลุ่มเพิ่งมีรายได้หรือฐานะปานกลาง ขณะที่ ทีเอ็มบี คุ้มครอง99/8 เน้นครอบครัว และทีเอ็มบีคุ้มบ้าน เจาะกลุ่มสินเชื่อบ้าน
สำหรับตลาดสินเชื่อบ้าน ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่ไอเอ็นจีฯเพิ่งจะได้รับโอกาสเป็นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ พันธมิตรเก่า คือ ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต ในเครือ ไทยประกันชีวิต คือ ผู้ครองพื้นที่นี้ แต่ตอนหลังต้องถอยฉากไป เพราะหมดอายุสัญญา หลังการเข้ามาของไอเอ็มจีฯในแบงก์หทารไทยการเปิดตัวของไอเอ็นจีฯจึงมาพร้อมกับการเปิดช่องทางขายใหม่ในธุรกิจแบงแอสชัวรันส์ ที่คาดกันว่าจะขยายตัวเป็น 20% จากช่องทางขายหลักคือ ตัวแทน ที่จะลดสัดส่วนลงมาเป็น 60% จากเดิม เกือบ 100% และที่เหลือคือ ช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้ง
" เราอาจต้องใช้เวลา 7-15 ปีจึงจะคุ้มทุน หลังจากการลงทุนในธุรกิจแบงกอสชัวรันส์ และเชื่อว่าจะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 500-1,000 ล้านบาท"
สมโภช เกียรติไกรวัล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และ CAO ไอเอ็นจีประกันชีวิต ย้ำว่า แม้จะมีการขยายช่องทางแบงแอสชัวรันส์ แต่ช่องทางตัวแทนก็ยังคงเป็นช่องทางหลักที่สำคัญ เพราะเป็นช่องทางที่ทำรายได้ให้ไอเอ็นจีฯมาตลอด
" เราจะเติบโตติดอันดับ 1 ใน 5 ในแง่ของรายได้ และกำไรไม่ใช่ทรัพย์สิน"
สถิต บอกว่า ในอนาคต แบงก์ทหารไทยจะขยายตัวมากขึ้น ขณะที่ สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย ก็อธิบายว่า ความรวดเร็วจะไม่ต่างจาก เครื่องยนต์ติดเทอร์โบ ของรถแข่งฟอร์มูล่า วัน
สุภัค บอกว่า โลกการเงินเปลี่ยน วิถีชีวิตผู้คนก็เปลี่ยน ธนาคารจำเป็นต้องปรับตัว เน้นการขายและให้บริการเป็นเลิศ รวดเร็ว เร่งปรับปรุงการขาย ช่วยสาขา และมีสินค้ามากมายเป็นทางเลือกให้เหมาะสมกับลูกค้า
" เราเคยจับแต่ลูกค้ารายใหญ่หรือแม้แต่ เอสเอ็มอี แต่ธุรกิจรายย่อยยังไม่ได้รุกเต็มที่ แต่หลังจากนี้เราจะให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจรายย่อยมากขึ้น"
ขณะที่ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน มาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) อธิบายว่า ถึงแม้จะมีธุรกิจบริหารจัดการกองทุนทหารไทย เป็นส่วนหนึ่ง ในแบงก์ทหารไทย และปัจจุบันก็ยังไม่มีนโยบายชัดเจนว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่ทั้งสองบลจ.ก็ทำตลาดแตกต่างกัน มีสินค้าที่หน้าตาไม่คล้ายคลึงกันมากนัก
ทั้งหมดจึงอธิบายภาพของ ธนาคารทหารไทยยุคใหม่ ภายใต้การควบคุมและบริหารงาน ของกลุ่มไอเอ็นจีฯ จากเนเธอร์แลนด์ ที่พยายามจะขยายธุรกิจ รีเทล แบงกิ้งเข้ามาในตลาดเอเชีย อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก
นอกจากจะแสดงถึงการปรับภูมิทัศน์เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่วนหนึ่งยังบอกได้ถึงการพยายามเปิดจุดเด่น เพื่อกลบจุดด้อยของทั้งสองฝ่าย ได้อย่างลงตัว ท่ามกลางสนามแข่งขันที่ใกล้จะถึงจุดเดือดเต็มที....
|
|
|
|
|