Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 พฤษภาคม 2551
เปิดแผนเชนนอกยึดโรงแรมไทยส.โรงแรมหวั่นนอมินีเกลื่อนเมือง             
 


   
search resources

Hotels & Lodgings




ธุรกิจโรงแรมในช่วงปีที่ผ่านมานับว่ามีการแข่งขันกันมากขึ้นโดยเฉพาะเชนต่างชาติที่บุกเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยขยายฐานเครือข่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยวหลักที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไป

โดยเฉพาะเส้นทางในแถบภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่การเดินทางของตลาดจีนกับอินเดียอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น อนาคตอันใกล้การเติบโตด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะส่งผลอย่างมากสำหรับการเติบโตโดยรวมทั่วโลก

ในที่สุดกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวจึงมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น การปรับตัวเพื่อรองรับกระแสการเติบโตของตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจึงเริ่มถูกหยิบนำมาใช้กันมากขึ้นเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่เชนโรงแรมไทยอย่างดุสิต ธานีที่ในช่วงปีที่ผ่านมากระโดดลงมาเล่นตลาดโรงแรมชั้นประหยัดเปิดตัว “ดีทู”ออกมารองรับตลาดหรือแม้แต่กลุ่มของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่เปิดตัวโรงแรมเครือ “อิมม์”ไปเมื่อต้นปี 51 ที่ผ่านมา

ขณะที่เชนโรงแรมจากต่างชาติอย่าง “แอคคอร์” ที่รับบริหารอย่างเดียวกว่า 20 แห่งในประเทศไทย ดูจะสวนกระแสเศรษฐกิจมากกว่าใครเพราะยอดพุ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 8 โดยเฉพาะที่ภูเก็ตมีอัตราการเข้าพักถึง 37% ทำให้เชนแอคคอร์ได้ใจประกาศจุดยืนภายในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีโรงแรมในเครือข่ายสูงถึง 40 แห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันแอคคอร์มีโรงแรมในเครือที่รับบริหารสำหรับประเทศไทยอยู่ในมือถึง 25 แห่ง และกำลังจะเปิดให้บริการใหม่เพิ่มอีกจำนวน 3 แห่ง คือในเมืองพัทยา,ชุมพร และกรุงเทพฯ

สอดคล้องกับที่เชน แอคคอร์ มีการขยายแบรนด์ในทุกระดับดาว ซึ่งประกอบด้วยแบรนด์ โซฟิเทล โรงแรมระดับ 5 ดาว,แกรนด์ เมอร์เคียว 4 ดาวครึ่ง,โนโวเทล 4 ดาว,เมอร์เคียว 3 ดาวครึ่ง และอีบิส 3 ดาว

จึงไม่แปลกที่กลุ่มเชนแอคคอร์จะเพิ่มเครือข่ายมากกว่า 1 เท่าตัวใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น....

การบริหารโรงแรมใหม่ในสำหรับเชนแอคคอร์ในปีที่ผ่านมามีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ภายใต้ชื่อ “ออลซีซั่นส์” เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาวในรูปแบบสไตล์รีสอร์ท และถือเป็นการเข้ามาครั้งแรกของแบรนด์นี้สำหรับประเทศไทย และเป็นแห่งที่สองในแถบภูมิภาคเอเชีย

โดยคาดว่าจะเจาะกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวระดับกลางเช่นเดียวกันอีบิส

กลยุทธ์สำคัญของแบรนด์ ออล ซีซั่นส์ นับว่าเป็นแบรนด์ที่ 6 ของกลุ่มแอคคอร์ที่ถูกส่งมาวางตำแหน่งทางการตลาดเดียวกับอีบีส คือระดับ 3 ดาวแต่จะแตกต่างที่โลเคชั่นของโรงแรม โดยอิบิสจะเน้นกลุ่มโรงแรมในเมือง และมีราคาประหยัด

ขณะที่ ออล ซี ซั่นส์จะถูกวางตำแหน่งทางการตลาดเป็น โรงแรมสไตล์รีสอร์ท ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยจะเน้นไปที่โลเคชั่นหัวเมืองท่องเที่ยวหลักๆ อย่างเช่น พัทยา ที่กำลังจะเปิดให้บริการเร็วๆนี้

“ด้วยศักยภาพที่มีเครือข่ายบริหารโรงแรมไปทั่วโลก โดยเฉพาะแถบภูมิภาคเอเชีย ทำให้ธุรกิจของแอคคอร์ในประเทศไทยกว่า 70%มาจากนักเดินทางในทวีปเอเชียด้วยกัน ดังนั้นแบรนด์ ออล ซีซั่นส์จึงน่าจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ประกอบการคนไทยที่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงแรมและรีสอร์ทได้

จากตัวเลขการเดินทางในแถบเอเชียที่เติบโตสูงขนาดนี้ น่าจะส่งผลให้การเติบโตของธุรกิจโรงแรมอิบิสราคาประหยัด ออลซีซั่น เมอร์เคียวและโนโวเทลจะมีอัตราเติบโตรวดเร็วกว่าแบรนด์โซฟิเทล ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักเดินทางที่มาจากประเทศห่างไกล อาทิ ยุโรป อเมริกา

ขณะที่แผนรุกตลาดในแถบอินโดจีนส่งผลให้สนามบินสุวรรณภูมิจะถูกใช้เป็นศูนย์กลางการจราจรทางอากาศของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามและจีนตอนใต้...การเลือกที่จะเปิดให้บริการโรงแรมในสนามบินจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ถูกเชนแอคคอร์วางยุทธศาสตร์เอาไว้ตั้งแต่แรก

โนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต คือโรงแรมแห่งที่ 2 ในจำนวนโรงแรมโนโวเทลทั้ง 3 แห่งที่เปิดให้บริการภายในบริเวณสนามบิน

ปัจจุบันแอคคอร์เปิดให้บริการโรงแรมโนโวเทล ซิตี้เกท ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติฮ่องกงเพียง 5 นาท นอกจากนี้การเปิดตัวโรงแรม บันยัน กวางโจว เมื่อปลายปี 2549 นั้นส่งผลให้แอคคอร์มีโรงแรมถึง 3 แห่งในสนามบินและเป็นโรงแรมแฟลกชิพของแอคคอร์

ขณะที่การเปิดให้บริการของสนามกอล์ฟโภคีธรา คันทรี่ กลับ นครวัต เป็นเสมือนหนึ่งการปรับโฉมของการเล่นกอล์ฟท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ ถึงแม้ว่าสนามกอล์ฟจะตั้งอยู่ในประเทศที่การเมืองผันผวนอยู่ตลอดเวลาอย่างกัมพูชาก็ตาม แต่การบริหารจัดการหรือมุมมองทางการตลาดที่เชนแอคคอร์วางไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น

ศักยภาพและตลาดการเล่นกอล์ฟท่องเที่ยวที่มีอยู่ยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศไทย เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

หรือแม้แต่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน รีอสอร์ทก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีสนามกอล์ฟที่ดีหลายแห่ง เช่นเดียวกับเมืองพัทยาที่เติบโตเพราะส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนกอล์ฟ

ในภูมิภาคนี้แอคคอร์มีรีสอร์ทหลายแห่งที่ให้บริการสนามกอล์ฟด้วย และโภคีธรา คันทรี่ คลับก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่จะใช้มาตรฐานโซฟิเทลเข้าไปบริหารจัดการ และเชื่อว่าการทำตลาดยังคงดำเนินต่อไปเพราะมีนักเดินทางเข้าประเทศกัมพูชาประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 7 แสนคน

ล่าสุดแนวโน้มที่ธุรกิจโรมแรมของคนไทยจะถูกปรับไปให้ธุรกิจเครือโรงแรมต่างชาติเข้าไปบริหารเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากข้อได้เปรียบของธุรกิจโรงแรมข้ามชาติมีอยู่หลายด้าน ทั้งเรื่องรูปแบบบริหารที่เป็นสากล เครือข่ายการจองที่พักที่สามารถจองได้หลากหลายวิธี แผนการตลาด รวมถึงชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวมากกว่า ขณะที่ธุรกิจโรงแรมสายพันธุ์ไทยแท้มักจะเสียเปรียบในเรื่องของแผนการตลาด และเครือข่ายการให้บริการ

ปฏิบัติการเปิดเกมรุกของ เชนแอคคอร์ ที่มีแผนขยายธุรกิจโรงแรมในไทยเพิ่มจาก 30 แห่ง เป็น 44 แห่งให้ได้ภายในปี 52 ประกอบด้วย ออล ซีซันส์ 3 แห่ง ที่กรุงเทพฯ 2 แห่ง และภูเก็ต อีบิส 4 แห่ง ที่พัทยา เกาะสมุย กรุงเทพฯ และภูเก็ต แกรนด์ เมอร์เคียว-ปทุมวัน โนโวเทล-ชุมพร โนโวเทล-คิงพาวเวอร์กรุงเทพฯ และเมอร์เคียว-ป่าตอง ภูเก็ต ซึ่งทั้งหมดอยู่ในการบริการเครือแอคคอร์ ที่มีคู่แข่งขันเป็นธุรกิจโรงแรมไทย และโรงแรมราคาถูกจากค่ายอื่น

ปัจจุบันการขยายธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมที่เปิดใหม่จึงอยู่ในทำเลย่านธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยจะโฟกัสไปที่โรงแรมราคาถูก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มียอดการเติบโตสูงมากในระยะหลัง เห็นได้จากการเติบโตของสายการบินโลวคอสต์ ขณะที่สายการบินทั่วไปก็มีชั้นอีโคโนมีถึง 80% และชั้นธุรกิจเพียง 20% ดังนั้นค่ายแอคคอร์จึงต้องหันมาให้บริการรองรับกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

ส่วนหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ด้วยศักยภาพของกลุ่มแอคคอร์ที่สยายปีกคุมโรงแรมไทยในเวลานี้ ได้ทำให้โรงแรมโนโวเทล บางนา ซึ่งเป็นเชนโนโวเทล ในกลุ่มแอคคคอร์ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากเป็นการบริหารของชาวต่างชาติที่มีระบบการตลาดที่ค่อนข้างมั่นคงนั้นเอง

สำหรับกลุ่มแอคคอร์ที่เข้ามาบริหารในประเทศไทยเวลานี้มีประมาณ 20 กว่าแห่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเครือโซฟิเทล เมอร์เคียว ออลซีซั่น อีบิส และฟอร์มูลที่กระจายไปตามทุกภาคส่วนของประเทศไทย เนื่องจากทางกลุ่มแอคคอร์มองว่า การเข้ามาบริหาร ไม่ใช่เป็นผู้ลงทุนจึงไม่ต้องใช้เงินเยอะ เพราะฉะนั้นสาเหตุที่บริษัทตัดสินใจรุกเข้ามาบริหารโรงแรมในประเทศไทย และย่านเอเชียเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจทางด้านนี้

พร้อมกันนี้จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี พบว่า 70 %ของลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในแถบเอเชีย เป็นเพราะเทรนด์ของการเดินทางท่องเที่ยวกันระหว่างประเทศไทยในละแวกภูมิภาคเดียวกันมีเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มแอคคอร์มีเครือข่ายอยู่ในเอเชียน้อยมาก คืออยู่ที่ 103 แห่ง ขณะที่โรงแรมระดับเชนดังๆ มีมากกว่า 1,000 แห่ง

จากการรุกคืบดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้ สมาคมโรงแรมไทย มองว่า การเข้ามาร่วมทุนของชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะเข้ามาในรูปแบบการบริหาร และจะอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ส่วนการเข้ามาร่วมลงทุนด้วยเงินลงทุนนั้นยังมีเป็นจำนวนน้อยมาก แต่ในอนาคตถ้าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ ก็รู้สึกหวั่นๆ ไม่ใช่น้อย

"การที่เชนโรงแรมใหญ่ๆ จากต่างประเทศไหลเข้ามาในเมืองไทยในเวลานี้เป็นเรื่องปกติ และมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นสนธิสัญญาใน WTO ตั้งแต่ปี 2000 ถึง ปี2010 ที่ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งในเวลานี้เหลือเพียงประมาณ 3ปีที่ทางประเทศไทยจะต้องพร้อมที่จะรับการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติทุกรูปแบบธุรกิจ ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้น" แหล่งข่าวระดับสูงของสมาคมโรงแรมไทย กล่าว

ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยจะต้องเข้ามาให้ความรู้ในเรื่องการศึกษา โดยจะต้องทำให้คนไทยรู้จักเรื่องการบริหารงานโรงแรมมากขึ้น ให้มีแนวคิดเทียบเท่าต่างประเทศ ซึ่งในเวลานี้ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากมีโรงเรียน และมหาวิทยาลัยที่สอนหลักสูตรเกี่ยวกับการโรงแรมขึ้นมามากมาย

สำหรับเรื่องการลงทุนนั้นในอดีตประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่า ชาวต่างชาติสามารถร่วมลงทุนได้ไม่เกิน 49 % แต่มาในระยะหลังมีนอมินี ซึ่งอาจจะเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษาเป็นหุ้นส่วนในนามของเจ้าของที่เป็นชาวต่างประเทศกันเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวเหมือนกันว่า ถ้าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงแรมไทยในเวลานี้ได้ สภาวะของโรงแรมสัญชาติไทยคงจะมีรูปแบบไม่แตกต่างจากธุรกิจธนาคารไทยมากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us