Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 พฤษภาคม 2551
พิษค่าแรง-ค่าครองชีพเพิ่ม ส่อเค้าเงินเดือนลด-โบนัสเพิ่ม             
 


   
search resources

Economics
วัทสัน ไวแอท ประเทศไทย




ค่ายวัทสัน ไวแอท บริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง เผยผลสำรวจ “เงินเดือน-โบนัส” ปลายปี 2551 นี้ ของบริษัทเอกชนกว่า 200 แห่ง วิเคราะห์ การปรับค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพ ส่งผลกระทบต่อการปรับเงินเดือนลด 0.3% ขณะที่เงินโบนัส คาดการณ์ เพิ่ม 0.16 เดือน กูรูแรงงาน -นักเศรษฐศาสตร์ แนะเพิ่มสวัสดิการ-มุ่งปรับระบบจัดการภายใน ย้ำภาค เกษตร-บริการ กระทบต้นทุนหนัก ด้าน PMAT ระบุแก้ปัญหาระยะสั้น

ยังคงส่งผลกระทบออกไปไม่หยุด สำหรับการประกาศขึ้น “ค่าแรงขั้นต่ำ” และการปรับ “ค่าครองชีพ” ในยุควิกฤติราคาน้ำมันและอาหาร ที่มีเป้าหมายเพื่อบรรดาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และข้าราชการชั้นผู้น้อยต่ำกว่าซี 5 ลงมา อันเนื่องมาจาก ภาวะเงินเฟ้อ และสินค้าราคาสูงเพิ่มขึ้น

ปรากฎการณ์ขึ้นค่าแรงและค่าครองชีพพร้อมกันภายในเดือนเดียวกันนี้ ทำให้ธุรกิจภาคเอกชนหลายแห่งออกมาขานรับกระแสด้วยการเพิ่มค่าครองชีพให้กับพนักงานกันอย่างคึกคักเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งในธุรกิจ อุตสาหกรรม และธนาคาร อาทิ ปูนซีเมนต์ไทย กรุงเทพ ทหารไทย ธนชาต ได้ขึ้นค่าครองชีพให้กับพนักงานเป็นรายเดือนเฉลี่ย

ล่าสุดจากการสำรวจของ “ผู้จัดการายสัปดาห์” พบว่า บริษัทเอกชนหลายแห่ง ที่มีการแยกค่าครองชีพออกจากเงินเดือนนั้นได้มีการทยอยปรับขึ้นค่าครองชีพ เฉลี่ย 600-1,000 บาท และภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมอีกหลายแห่งอยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยอ้างถึงอัตราค่าจ้างเงินเดือนได้สูงกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ มาโดยตลอด

ส่วนบริษัทที่ได้รวมค่าครองชีพเข้าด้วยกันกับเงินเดือนนั้นโดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ เริ่มมีความเคลื่อนไหวพิจารณาโบนัส เงินเดือนที่จะปรับใหม่ในช่วงปลายปีกันแล้ว จากเดิมที่จะมีการพิจารณาในไตรมาส 3 เพื่อดูสถานการณ์เศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัท

ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นไปยังบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ตอบในทำนองเดียวกันว่าจะส่งผลต่อการปรับอัตราจ้างหรือเงินเดือนในปี 2551 นี้ แต่มีจุดสังเกตที่ว่าองค์กรหรือบริษัทผู้ประกอบการจะหันไปให้โบนัสเป็นการตอบแทนโดยเฉพาะ Variable Bonus ซึ่งสามารถปรับได้ตามผลประกอบการและผลงานของพนักงานเป็นรายบุคคลมากกว่า Fixed Bonus เหมือนอย่างที่ผ่านมา

วัตสันคาดปลายปี เงินเดือนลด 0.3%-โบนัสเพิ่ม 0.16 ด.

บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด โดยกรรมการผู้จัดการ บุปผาวดี โอวรารินท์ ให้ความเห็นว่า จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพดังกล่าวนี้ จะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาเงินเดือนและโบนัสประจำปีของบริษัทเอกชนต่างๆอย่างแน่นอน อีกทั้ง บริษัทต่างๆ จะหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเม็ดเงินและงบประมาณรายจ่ายกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น

จากผลการสำรวจบริษัทเอกชนต่างๆ จำนวน 200 บริษัท พบว่า ปลายปี 2551 อัตราเฉลี่ยของการปรับขึ้นเงินของบริษัทเอกชนจากทุกอุตสาหกรรมจะอยู่ที่อัตรา 6.06% เปรียบเทียบกับปี 2550 ซึ่งมีอัตราเฉลี่ย 6.31% หรือคิดเป็นอัตราลดลงจากปีก่อนจำนวน 0.3 % โดยประมาณ

สาเหตุหลักมาจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผลประกอบการบริษัทลดลง และ ความไม่ชัดเจนในนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการปรับขึ้นเงินเดือนปลายปีนี้ลดลง

ขณะที่เงินโบนัสในปีนี้คาดว่า จะมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.16 เดือน โดยเฉพาะโบนัสประเภทยืดหยุ่น (Valiable Bonus) คาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 2.25 เดือน โดยเปรียบเทียบกับปี 2550 ที่มีอัตราเฉลี่ยเพียง 2.09 เดือน ทั้งนี้มาจาก บริษัทต่างๆ ได้มีการรวมค่าครองชีพที่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มเข้าไปรวมกับเงินโบนัสปลายปี

บุปผาวดี บอกว่า การเพิ่มโบนัสที่เป็นตัวเงิน เป็นทางออกที่ดีกว่าการเพิ่มเงินผลประโยชน์ (Benefit) ที่หลายองค์กรอาจนำมาใช้ เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า สิทธิพิเศษสมาชิกสถานออกกำลังกาย ซึ่งอาจไม่ได้ผลเพราะเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่ได้บรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และสินค้าราคาแพง

จากผลการวิจัยของบริษัทในเอเชีย โดยบริษัทวัทสัน ไวแอท ในต่างประเทศ เพื่อวัดความพึงพอใจของพนักงาน ในการดึงดูดและรักษาพนักงานไว้กับบริษัทได้นั้น ประเทศไทยติด 1 ใน 4 ประเทศ (ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย) ที่มองเรื่อง “เงินเดือน” มาเป็นอันดับ 1 ดังนั้นการจ่ายสิ่งที่เป็นตัวเงินหรือเม็ดเงินจะสร้างความพอใจต่อพนักงานสูงสุด

ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการบริษัทวัทสัน ยังเตือนว่า พนักงานไม่ควรคาดหวังตัวเลขเงินเดือนที่ปรับสูงขึ้นเท่านั้น เพราะเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นนี้ยังต้องมาสัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย แม้ว่าเงินเดือนจะปรับเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6% แต่ถ้าหากอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5-5.5% เท่ากับเงินเดือนขึ้นเพียง 1% หรือไม่ถึงด้วยซ้ำ ซึ่งก็นับว่าน้อยมาก อาจไม่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้กับ วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 พบว่า มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แม้จะคนละเหตุปัจจัยก็ตาม โดยในช่วงเวลานั้นภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ส่งผลให้อัตราการปรับเงินเดือนเฉลี่ยจากเดิมสูงถึง 2 หลัก ลดลงเหลือเพียง 6% เท่านั้น และตลอดกว่า 11 ปีที่ผ่านมา อัตราเฉลี่ยของการปรับขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ 6% ต่อเนื่องกันมาหลายปี

กูรูแนะเพิ่มสวัสดิการ มุ่งปรับระบบจัดการภายใน

รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ ว่า ในส่วนภาคผู้ประกอบการ ธุรกิจอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้ สำหรับผู้ประกอบการใด หากยังไม่พร้อมที่จะปรับเงินเดือนพนักงาน ก็อาจจะหันมาให้โอกาสนี้ปรับสวัสดิการให้มากขึ้น เน้นไปที่ของกิน-ของใช้จะส่วนสร้างขวัญและกำลังใจ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างได้ดี อีกทั้งไม่ควรมองระยะสั้น ตัดสินใจเลิกจ้าง หรือปลดคนงานให้สถานการณ์แบบนี้

รวมไปถึงการปรับระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะปัญหา เช่น การโยกย้ายพนักงานจากบางส่วนมาให้น้ำหนักในด้านงานขายมากขึ้น แล้วทำการฝึกอบรม เทรนนิ่งให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานอีกทางหนึ่ง แทนที่จะคิดลด ปลดพนักงาน อันเป็นการแก้ไขปัญหาที่มองแต่ระยะสั้น แต่จะส่งผลกระทบในระยะยาวได้ รวมทั้ง การจัดการด้านภาษี ความคล่องตัวกับระบบราชการ รวมถึงการต่อรองวัตถุดิบ เชื้อเพลิงพลังงาน รวมไปถึงอุปกรณ์ ค่าวัสดุต่างๆ ในการผลิต เป็นต้น

“เจ้าของกิจการทำธุรกิจมีกำไรมาหลายปี เมื่อจะต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ ก็ไม่ควรคิดสั้นๆปลดคนงาน เลิกจ้าง มันยิ่งเป็นการซ้ำเติม แต่ควรยอมแบกภาระไปอีกระยะหนึ่ง 1ปี เพราะเมื่อธุรกิจฟื้นตัวจะได้มีคนเหล่านี้ไว้ทำงาน แต่ถ้าหากเรามองระยะสั้นๆคิดว่าต้องลดทุนด้วยการปลดคนงาน พนักงาน พอถึงเวลาเศรษฐกิจ ธุรกิจฟื้นตัวเราก็จะไม่มีใครทำงานให้เรา”

รศ.แล ยังบอกอีกว่า ค่าแรงงานอย่างเดียวไม่ใช่ต้นทุนที่ใช้มากที่สุดในการผลิต โดยต้นทุนแรงงานโดยเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ "ค่าแรงงาน"คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 10เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต อีกทั้งต้นทุนส่วนใหญ่มักเกิดจากค่าใช้จ่ายในส่วนอีก อาทิ ธุรกิจโรงงาน บริการ หากคำนวนแล้วต้นทุนอาหาร การตลาดและประชาสัมพันธ์อาจมีจำนวนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม หากจะแก้ปัญหาอย่างถูกจุดก็ควรให้สถานการณ์นี้ปรับตัวทั้งระบบ ทั้งส่วนที่ทำให้ล่าช้าหรือส่วนที่ใช้ต้นทุนสูงจะเป็นการดีกว่า

เกษตร-บริการ กระทบต้นทุนหนัก

ทางด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ด้วยว่า แนวโน้มค่าจ้างและเงินเดือนที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจต่างๆมากน้อยแตกต่างกันไป ตามอัตราส่วนต้นทุนแรงงานของแต่ละธุรกิจ โดยเฉพาะ ภาคเกษตรและการบริการจะได้รับผลกระทบสูงกว่าภาคอื่นๆ เพราะต้นทุนแรงงานสูงกว่าอุตสาหกรรม ส่วนธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้แก่ การขนส่ง การผลิตรองเท้า การทำเหมือง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ โรงแรมและการบริการด้านบันเทิง และสันทนาการ การค้าปลีกและการประมง เป็นต้น

ขณะที่ ธุรกิจการผลิตยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำนักงาน อุตสาหกรรมเหล็ก การผลิตน้ำมันพืช และไขมันสัตว์ อาหารสัตว์ โรงกลั่นน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ มีแนวโน้มได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องมาจากมีการใช้แรงงานน้อย ส่วนมากใช้เทคโนโลยี่ในการผลิต

PMAT ระบุแก้ปัญหาระยะสั้น

ด้านฉัตรพงษ์ วงษ์สุข นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ให้ความเห็นว่า การปรับเงินเดือนและค่าครองชีพนี้ ถือเป็นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่งผลให้ระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาจเป็นคาดการณ์ได้ยากถึงการปรับเพิ่มเงินเดือนและโบนัสในปลายปี เพราะตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรได้ปรับฐานค่าจ้างเพิ่มล่วงหน้าไปบ้าง เพื่อรับมือการแข่งขันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในอุตสหกรรมนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า การปรับค่าครองชีพของบริษัทต่างๆในครั้ง ถือว่ามาถูกทางแล้ว เพราะว่า ปัจจุบันวิกฤติน้ำมันและอาหารแพงที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสินค้ามีราคาแพง ส่งผลให้ค่าครองชีพของลูกค้าสูงขึ้น

ขณะเดียวกัน เขาแนะนำว่า สถานการณ์เช่นนี้ นายจ้างควรพิจารณาเพิ่มเงินพิเศษให้กับพนักงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสินค้าราคาแพง และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ จูงใจพนักงานไว้โดยพนักงานถือว่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่บริษัทต้องรักษาไว้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us