Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
ปักหลักธุรกิจรีไซเคิล ในวัฒนธรรมผลิตของใช้แล้วทิ้ง             
 


   
search resources

D & Department
Kenmei Nagaoka
Crafts and Design




ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมออกแบบและผลิตสินค้าสำหรับใช้แล้วทิ้งมานานจนรู้กันดีในทั่วโลก แต่ประมาณ 4 ปีที่แล้ว D & Department ถือกำเนิดขึ้นบนเว็บไซต์โดย Kenmei Nagaoka ผู้เป็นกราฟิกดีไซเนอร์โดยอาชีพ เขาสนใจทำงานอดิเรกเกี่ยวกับของมือสองในช่วงสุดสัปดาห์มานานแล้ว เมื่อเห็นคนโยนทิ้งหม้อ กระทะ เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ จนกองสุมเป็นภูเขาเลากา เขาเฝ้าถามตัวเองว่า ทำไมคนญี่ปุ่นถึงโยนทิ้งของที่ออกแบบดีและยังใช้งานได้เป็นว่าเล่น?

Nagaoka และทีมดีไซน์ของเขาจึงสร้างเว็บไซต์ขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อเสนอขาย สินค้ามือสอง ไม่นานนักยอดขายก็ล้ำหน้าซัปพลาย ทำให้ Nagaoka ต้องอุทิศเวลาครึ่งหนึ่งให้กับการแสวงหาสินค้าเข้าสต็อกมากขึ้น จึงซื้อใบอนุญาตของนักค้าของเก่าและตัดสินใจว่าถึงเวลาเปิดกิจการในโตเกียวได้แล้ว โดยทำเป็นสำนักงานรับออกแบบด้วย ปัจจุบัน D & Department มี 2 ห้างที่โตเกียว และโอซาก้า โดยพ่วงเอาธุรกิจรับจัดนิทรรศการ คาเฟ่ และสำนักพิมพ์เข้าไปด้วย

D & Department มีเวิร์คชอปเล็กๆ สำหรับทำความสะอาดและซ่อมของมือสอง นอกจากนี้ยังผลิต "Sampling Furniture" ที่ Nagaoka นำชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ควรโยนทิ้งไปมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ใหม่ เช่น สตูลทำจากที่นั่งสกู๊ตเตอร์ของฮอนด้า และกรอบรูปทำจากม้านั่งไม้

แม้จะทำธุรกิจหลายอย่างในเวลาเดียวกัน Nagaoka ไม่เคยลืมว่าอาชีพหลักเบื้องแรกของเขาคือการเป็นดีไซเนอร์ และนักค้าของมือสองนั้นเป็นอาชีพรอง "ผมเพียงแต่ต้อง การนำมุมมองของดีไซเนอร์เข้าไปใส่ในธุรกิจรีไซเคิล มันเป็นเรื่องของการนำเสนอทัศนคติใหม่ๆ มากกว่าการขายสินค้า"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us