Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
ฟื้นความหลัง ในแบงก์สยามกัมมาจล             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย




ตึกใหญ่หลังหนึ่งที่ตั้งอยู่โดดเด่นคียงคู่กับไทรริมน้ำมานานถึง 95 ปีเป็นภาพที่ลูกหลานหลายรุ่น ในย่านตลาดน้อยคุ้นตามาตั้งแต่จำความได้

นอกจากความสง่างามของตัวอาคาร ตึกหลังนี้ยังมีร่องรอยของประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และเต็มไปด้วยคุณค่าที่น่าจดจำเพราะในอดีตคือ แบงก์สยามกัมมาจล ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทย แต่ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

องค์ประธานกำเนิดธนาคารแห่งนี้คือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไชยันตมงคล หรือ "พระบิดาแห่งการธนาคารไทย"

พระองค์เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมุ่งมั่นก่อตั้งธนาคารกลางของประเทศ เพื่อดูแลระบบการเงินของประเทศเช่นเดียวกับชาติตะวันตก โดยครั้งแรกที่ทำการเป็นเพียงตึกแถว 2 ชั้น 3 คูหา บริเวณย่านบ้านหม้อ มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "บุคคลัภย์" (book Club)

แม้ตัวอาคารหลังนี้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2451 ซึ่งกรมหมื่นมหิศศรราชหฤทัยสิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว ขณะที่มีพระชนม์เพียง 42 พรรษา แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะการวางรากฐานในเรื่องธนาคารของพระองค์

อาคารหลังนี้มีทั้งหมดสามชั้น ถูกกำหนดผังและวางแบบแปลนไว้อย่างพิถีพิถัน โดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน มุขด้านหน้าอาคารหันเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตามความนิยมในสมัยนั้น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนสซองส์ (ร่วมสมัยกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอนันตสมาคม)

การก่อสร้างเป็นฝีมือของผู้รับเหมาสัญชาติเยอรมัน ที่เข้ามาตั้งกิจการในเมืองไทย ชื่อ ห้างยี.ครูเซอร์ การก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 2 ปี เป็นเงิน 3 แสนบาท เมื่อเปิดใช้ครั้งแรกนั้นชั้นบนเป็นที่พักของผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ชาวต่างประเทศ ชั้นที่สองเป็นที่ทำการและชั้นล่างเป็นห้องนิรภัย

ปี พ.ศ.2529 มีการบูรณะครั้งใหญ่ แต่ก็เป็นเพียงเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาในจุดที่รั่วซึม และทาสีใหม่ให้งดงามขึ้นเท่านั้น ในคราวนั้นมีการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้

ปลายปี พ.ศ.2538 มีการบูรณะใหญ่อีกครั้ง เพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษารายละเอียดทางด้านสถาปัตยกรรมเพื่อคงความงดงามต่อไป และได้ย้ายส่วนพิพิธภัณฑ์ไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่บริเวณรัชโยธิน

ทุกวันนี้ผู้คนย่านตลาดน้อยจำนวนมาก ได้เดินเข้าออกธนาคารแห่งนี้เพื่อใช้บริการและได้สัมผัสกับความงดงามของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us