Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
บล.ไทยพาณิชย์ เน้นยุทธศาสตร์ความแตกต่าง             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล กฤษณ์ เกษมศานติ์

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ไทยพาณิชย์, บล.
กฤษณ์ เกษมศานติ์
Investment




ธุรกิจหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป จากที่ไม่เคยสนใจลูกค้า ทุกวันนี้ต้องแสวงหานักลงทุนหน้าใหม่ๆ เข้ามาเล่นหุ้น พร้อมกับให้ความสำคัญกับ บรรยากาศห้องค้าและนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการด้วย

"คุณป้าครับไม่ทราบว่าสนใจลงทุน ในหุ้นผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง หรือไม่ครับ เพราะปีนี้จ่ายเงินปันผล 1.50 บาทต่อหุ้น และราคาหุ้นขึ้นมาโดยตลอดเลย โดยเมื่อวานนี้ปิดที่ 18 บาท ถ้าสนใจเชิญมาดูข้อมูล ที่สาขาพวกเราซึ่งตั้งอยู่ข้างๆ แบงก์นี่เอง"

ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดเชิญชวน ของพนักงาน บล.ไทยพาณิชย์ สาขาเฉลิมนคร ซึ่งเพิ่งดำเนินการไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งพื้นที่จากธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทแม่สำหรับการให้บริการลูกค้า

วิธีการดังกล่าวจากนี้ไปลูกค้าออมทรัพย์ของธนาคารไทยพาณิชย์เริ่มชินและกลายเป็นเรื่องปกติมากยิ่งขึ้น หลังจากบล.ไทยพาณิชย์หันมาเน้นเปิดกลยุทธ์รับปีแพะด้วยการสร้างตลาดนักลงทุนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะการพยายามดึงลูกค้าที่ฝากเงินกับบริษัทแม่นำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้น

วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ธุรกิจ หลักทรัพย์ได้รับความเสียหายอย่างหนักจนบางแห่งไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือหาพาร์ตเนอร์จากต่างประเทศเข้ามาร่วมทุน ขณะที่บางแห่งต้องประคับประคองตนเองเพื่อความอยู่รอด

ปัจจุบันธุรกิจนี้กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระนั้นก็ตามรูปแบบการดำเนินการได้เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร "ปัญหาที่พวกเราเผชิญทุกวันนี้ คือ จำนวนผู้ประกอบการมีมากกว่านักลงทุน รวมไปถึงมากกว่าบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความวุ่นวายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการซื้อตัวมาร์เก็ตติ้ง" กฤษณ์ เกษมศานติ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.ไทยพาณิชย์กล่าว

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บล.ไทยพาณิชย์กลับมาพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจใหม่อีกครั้ง หลังจากก่อนหน้า เน้นกลยุทธ์ Conservative "จากนี้ไปพวกเราต้องเพิ่มฐานลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น" เขาบอก

หากพิจารณาถึงปัจจัยที่เชื่อได้ถึงความเคลื่อนไหวของ บล.ไทยพาณิชย์ในครั้งนี้มาจากธุรกิจวาณิชธนกิจเริ่มลดบทบาทลง อีกทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ได้จัดระเบียบการดำเนินธุรกิจในเครือชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นการเปิดช่องทางที่จะไปแสวงหาลูกค้าอย่างเต็มที่จากลูกค้าเงินฝาก

"เป็นโอกาสที่ดีและตลาดเปิดมากขึ้น รวมถึงแบงก์ชาติอนุญาตให้พนักงานขายของธนาคารพาณิชย์สามารถขายผลิตภัณฑ์ทางด้านหลักทรัพย์ได้ ดังนั้นพวกเราใช้โอกาสนี้ขยายฐานลูกค้า" กฤษณ์ อธิบาย

เมื่อมีความชัดเจน สิ่งแรกที่บล.ไทยพาณิชย์เริ่มดำเนินการ คือ เปิดสำนักงานสาขาที่มีแนวคิดก้าวล้ำนำสมัย สร้างความแตกต่างไปจากคู่แข่งพร้อมรองรับความต้องการของนักลงทุน ภายใต้ชื่อ SCBS Trade Zone

กฤษณ์กล่าวว่า สาขาของบริษัทหลักทรัพย์ทั่วๆ ไป เป็นเพียงห้องค้าให้ลูกค้าเข้ามาซื้อขายเท่านั้น แต่สำหรับ SCBS Trade Zone จะเป็นศูนย์รวมในทุกๆ ด้านของการลงทุน โดยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เลือกมากมาย

"แนวคิดแบบนี้แตกต่างจากห้องค้า ทั่วไปที่มักจะมีแต่การลงทุนในหุ้นเท่านั้น"

สำหรับเป้าหมายช่วงแรกจะเน้นลูกค้ารายใหม่ โดยเฉพาะบรรดาลูกค้าที่ออมเงินกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อดึงให้หันมาสนใจการลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น ซึ่งกฤษณ์ยอมรับว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการทำงานและความอดทนพอสมควร

"พฤติกรรมลูกค้าเงินออมแตกต่างไปจากนักลงทุนในตลาดหุ้น เพราะมีความกังวลเรื่องเงินต้นมาก ดังนั้นกลยุทธ์ในการเข้าหาพวกเขาจะต้องค่อยเป็นค่อยไป" เขาชี้ "แต่อย่าลืมว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีเงินออมมากและไม่ค่อยสนใจการลงทุนในตลาดอื่น ดังนั้นถ้าไปชักชวนให้ลงทุนเลยอาจจะตกใจและปฏิเสธไม่เล่นหุ้นตลอดชีวิต"

เหตุผลดังกล่าว สอดคล้องกับบรรยากาศภายในสำนักงานสาขา SCBS Trade Zone ที่มีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำกลยุทธ์จัดพอร์ตผสมผสานกับความเป็นกันเอง มีมุมสบายให้ลูกค้าพักผ่อน

"ทำให้พวกเขาผ่อนคลายและสามารถแสดงความคิดเห็นหรือกล้าถามพนักงานได้อย่างเต็มที่ เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยกล้าแสดงออกมากนัก สาขารูปแบบใหม่จึงเน้นความเป็นกันเอง"

หากพิจารณากันแล้วจะพบว่า SCBS Trade Zone เป็นแนวคิดสำหรับขยายเครือข่าย เนื่องเพราะ บล.ไทยพาณิชย์ต้องการเป็น National Broker และเป็นสะพานเชื่อมให้เข้าถึงฐานลูกค้ารายใหม่ๆ เนื่องจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันด้วยบรรยากาศการดำเนินธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์ต่างดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด

"นอกเหนือไปจากสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาที่พวกเราจัดการกันเองเพื่อขจัดความวุ่นวายออกไปในวงการน่าจะลดลงไปบ้าง และทุกคนไม่ต้องการต่อสู้กันในยุทธวิธีเดิมๆ เพราะในที่สุดก็ต้องทำผิดกฎหมายต่อไป พวกเราไม่ต้องการแบบนั้น" กฤษณ์เปิดเผย

นับตั้งแต่ บล.ไทยพาณิชย์เปิด SCBS Trade Zone นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง มีลูกค้ารายใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการแล้ว สังเกตจากส่วนแบ่งตลาดในปัจจุบันอยู่ที่ระดับเกิน 3% จากเดิม 2-2.3%

"พวกเราไม่ได้มีเป้าที่ยิ่งใหญ่ แต่อย่างน้อยช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ถ้าสามารถมีส่วนแบ่งตลาด 4-5% ก็มีความสุขแล้ว"

ความเชื่อมั่นนี้มาจากธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ต้องการเงินฝากอีกต่อไป ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ บล.ไทยพาณิชย์จากนี้ไปขึ้นอยู่กับศักยภาพของตนเอง ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันหรือไม่

จากตัวอย่าง ถ้าคุณป้าเชื่อพนักงานฝ่ายตลาดของ บล.ไทยพาณิชย์ตั้งแต่ถูกชักชวนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปัจจุบันจะได้รับ ผลตอบแทนใกล้ 10% จากราคาหุ้นที่ปรับ ตัวขึ้น และหากซื้อแล้วถือเพื่อรอเงินปันผล จะได้ผลตอบแทนในอัตราตัวเลขสองหลัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us