Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 พฤษภาคม 2551
ธปท.เผยสินเชื่ออุปโภคชะลอ ผวาค่าครองชีพพุ่งคนไม่กล้ากู้แบงก์             

 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




ธปท.เผยผลประกอบการแบงก์ไตรมาสแรกปีนี้กลับมากำไรกว่า 3 หมื่นบาท จากไตรมาสก่อนที่ขาดทุน 7,500 ล้านบาท เหตุแบงก์หมดภาระกันสำรองตาม IAS39 และเริ่มมีกำไรจากเงินลงทุนและปริวรรตเงินตรา ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคเริ่มขยายตัวในอัตราลดลง เหตุกังวลค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น หวังไม่สร้างแรงกดดันให้เอ็นพีแอลในระบบพุ่ง

นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสแรกอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยมีกำไรสุทธิ 3.1 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ขาดทุน 7.5 พันล้านบาท เนื่องจากภาระการกันสำรองตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(IAS39) ได้ครบหมดแล้วตั้งแต่สิ้นปีก่อน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากเงินลงทุนและจากการปริวรรตเงินตราเพิ่มขึ้น

“แนวโน้มการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไปน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเห็นได้จากเครื่องชี้และดัชนีที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างๆ เริ่มขยายตัวดีขึ้นจึงน่าจะส่งผลดีต่อการขยายตัวของสินเชื่อ"

ทั้งนี้ ในส่วนของสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็น 7.3% จากสิ้นปีก่อนที่ระดับ 4.6% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาส หลังจากได้ชะลอลงต่ำสุดในไตรมาส 3 ของปีก่อน โดยสินเชื่อธุรกิจมีการเร่งตัวเป็นหลักในสัดส่วน 5.5% จากสิ้นปีก่อน 1.5% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวลดลงจากไตรมาสนี้ 13.5% เทียบกับไตรมาสก่อน 16% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการก่อหนี้มากขึ้น

“แม้ในไตรมาสนี้สัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลง แต่เชื่อว่าจะไม่กดดันให้เอ็นพีแอลในระบบสูงขึ้น แม้ค่าครองชีพของประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นในขณะนี้ เนื่องจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีเอ็นพีแอลแค่ 23-24%หรือประมาณ 1 ใน 4 ของสินเชื่อรวม จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสินเชื่อโดยรวม ส่วนประเด็นที่ความสามารถในการชำระหนี้ในแต่ละกลุ่มธุรกิจจะลดลงหรือไม่เป็นเรื่องที่ธปท.กำลังติดตามดูอยู่อย่างใกล้ชิด และต่อไปการขยายตัวสินเชื่อจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ในประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย”

ด้านเงินฝากเริ่มขยับเพิ่มขึ้นเป็น 2.8% หลังจากสิ้นไตรมาสก่อนชะลอต่ำสุดที่ 0.4% ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์ต่างเร่งระดมเงินฝาก เพื่อรองรับการขยายตัวสินเชื่อที่เพิ่มมาก และขณะนี้ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีวิวัฒนาการทางการเงินแบบใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะตั๋วแลกเงิน ทำให้เมื่อรวมเงินฝากกับตั๋วบี/อีแล้วจะมีอัตราการขยายตัวที่ 5.7% ซึ่งปัจจุบันในระบบมียอดคงค้างตั๋วบี/อีทั้งสิ้น 4.7 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามขณะนี้สภาพคล่องในระบบยังไม่ตรึงตัวนักเห็นได้จากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในขณะนี้อยู่ในระดับสูงถึง 90%

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก่อนกันสำรอง (Gross NPL) มียอดคงค้าง 4.65 แสนล้านบาท แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 11,807 ล้านบาท แต่มีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ลดลงต่อเนื่องจาก 7.3% เหลือ 6.8% ด้านหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่มีการหักสำรองหนี้เสียแล้ว( Net NPL)มีปริมาณเพิ่มขึ้น 11,662 ล้านบาท แต่สัดส่วนลดลงเหลือ 3.7% จาก 3.9% ในไตรมาสก่อน

โดยสินเชื่อภาคธุรกิจที่มีสัดส่วน 76.4%ของสินเชื่อรวมมีสัดส่วน NPL ลดลงเหลือ 7.6% โดยธุรกิจส่วนใหญ่มีสัดส่วน NPL ลดลงเกือบทุกประเภท โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดเหลือ 15% ธุรกิจก่อสร้าง 10.7% พาณิชย์ 6.6% สาธารณูปโภค 2.8% และธุรกิจการเงินลดลงเหลือ 1.4% ยกเว้นธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 11.9% และ 7.4% ตามลำดับ ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคมีสัดส่วน NPL ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อนที่ 4.0%

ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS Ratio)ของระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 14.8% จากสิ้นปีก่อนที่ 14.9% เนื่องจากไตรมาสนี้สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก แต่ยังนับว่าอยู่ในระดับน่าพอใจ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธปท.กำหนดไว้ระดับ 8.5%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us