|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เคทีซี ชี้ชัดเอ็นพีแอลบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อและการผ่อนชำระขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 10% กดความสามารถในการผ่อนชำระ ชี้ภาพรวมตลาดบัตรเครดิตปีนี้ไม่โต เพราะคนรายได้เข้าเกณฑ์15,000 บาทต่อเดือนไม่เพิ่ม หันเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมมั่นใจมาถูกทาง
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของตลาดบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6% นั้น เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและทำให้อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นไปที่ 6% รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ผู้ถือบัตรไม่สามารถที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังมาจากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำการปรับเกณฑ์การชำระขั้นต่ำจาก 5% มาเป็น 10% ทำให้ผู้ถือบัตรต้องจ่ายชำระหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และก่อให้เกิดเป็นเอ็นพีแอลตามมา สำหรับยอดเอ็นพีแอลของเคทีซี ในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อย โดยมาจากกลุ่มคนที่ไม่สามารถชำระได้ ณ ปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.5% ยอดของอัตราการผิดนัดชำระอยู่ที่ 3.3-3.4%
สำหรับภาพรวมตลาดบัตรเครดิตในปีนี้มองว่าจะไม่มีการเติบโตเนื่องจากตลาดดังกล่าวไม่ได้มีการเติบโตมานานแล้ว โดยฐานบัตรเครดิตรวมทั้งตลาดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบัตร ซึ่งผู้ถือบัตร 1 ราย จะถือบัตรเครดิตประมาณ 3-4 บัตร ทำให้ในตลาดมีผู้ที่ถือบัตรเครดิตจริง ๆ อยู่ประมาณ 3 ล้านรายเท่านั้น เนื่องจากการเติบโตของผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือนที่จะสามารถทำบัตรเครดิตได้นั้นไม่ได้มีการขยายตัว ส่วนการเติบโตของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในปัจจุบันนั้นมาจากลูกค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง
นายนิวัตต์ กล่าวว่า จากที่ทางบริษัทได้ประเมินภาพรวมของตลาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำตลาดบัตรเครดิต โดยจะไปเน้นลูกค้าในระดับพรีเมี่ยมหรือเป็นกลุ่มลูกค้าที่ถือบัตรทอง ไทเทเนี่ยมและแพลตินัมแทน เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 12,000 บาท และเป็นกลุ่มที่จะชำระหนี้แบบเต็มจำนวนทำให้ไม่เป็นเอ็นพีแอล โดยปัจจุบันฐานบัตรเคทีซีมีอยู่ประมาณ 1.4 ล้านบัตร และเป็นผู้ถือบัตรในระดับพรีเมี่ยมประมาณ 60% และในสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 70%
ทั้งนี้ ลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยมยังเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะทุกยอดใช้จ่ายที่ลูกค้าใช้จ่ายผ่านร้านค้า เคทีซีจะได้รับค่าธรรมเนียม1.85% ขณะที่ถ้าเป็นบัตรคลาสสิกธรรมดานั้นจะได้รับค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1.2% ดังนั้นการทำกลยุทธ์ทางการตลาดต่อจากนี้จึงจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มพรีเมี่ยมเป็นหลัก ส่วนกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ จะยังไม่เน้นกระตุ้นมากนักเพราะหากกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายแล้วอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ได้
"เราได้เน้นการทำโปรโมชั่นให้กับกลุ่มพรีเมี่ยมตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าได้เดินมาถูกทาง โดยลูกค้ากลุ่มมักจะใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่มีการเติบโตได้ดี สังเกตได้จากยอดใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว การเดินทางในอดีตเคยอยู่อันดับที่30 จากประเภทบัตรที่มีอยู่ทั้งสิ้น 33 แบบ โดยในขณะนี้ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 แล้ว ส่วนอันดับต้นยังคงเป็นเรื่องของน้ำมันซึ่งค่าธรรมเนียมที่เคทีซีจะได้รับอยู่ที่0.8% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ได้รับจากการใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวของกลุ่มพรีเมี่ยมที่อยู่ที่ 1.85%"
นายนิวัตต์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่มาสเตอร์การ์ดได้ปรับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตสำหรับลูกค้าชาวต่างชาติที่มาใช้จ่ายในประเทศไทย จาก 0.2% มาเป็น 0.4%ของยอดการใช้จ่ายและในเดือนก.คนี้วีซ่า ก็จะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาอยู่ที่ 0.4% เหมือนกัน และทางชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาทางสมาคมได้ทำการหารือกับสมาชิกเพียงไม่กี่รายเท่านั้น และการต่อต้านดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ซึ่งในสหรัฐอเมริการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในส่วนของเคทีซีนั้นได้สั่งห้ามให้ผู้บริหารหรือพนักงานเข้าร่วมประชุมในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาธุรกิจบัตรเครดิตได้มีการแข่งขันกันมาก โดยไม่ดูต้นทุน พอมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็จะไปห้าม หรือ กีดกันไม่ให้ต่างชาติมาใช้จ่ายผ่านบัตรในไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ซึ่งเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวที่ต่างชาตินำมาใช้จ่ายในเมืองไทยมีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท และกระจายไปยังทุกกลุ่มและเม็ดเงินถึงท้องถิ่นจริง ๆ หากไปกีดกันต่างชาติโดยไม่รับบัตรเครดิตของต่างชาติด้วยเหตุผลที่มีต้นทุนจากวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดเพิ่มนั้นถือว่าผิด
|
|
|
|
|