Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
การเดินทางของ e-business on demand             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

IBM Homepage
โฮมเพจ เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น
โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

จิ้นเซ่งฮวด
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
กิตติชัย เชื้อรัตนพงษ์
ธวิช จารุวจนะ
ศุภจี สุธรรมพันธุ์
Computer




นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีเต็ม ที่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย นำผู้สื่อข่าวสายไอทีเดินทางออกสู่ต่างจังหวัด

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังจากการขึ้นรับตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของ ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ได้ไม่นาน

หนึ่งในภารกิจที่สำคัญของเธอ คือ การสานต่อแนวคิดธุรกิจ e-business on demand ยุทธศาสตร์ที่เป็นเป้าหมายที่ไอบีเอ็มใช้เป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จอีกครั้ง แต่เป็นเรื่องที่ไอบีเอ็มต้องอาศัยเวลาอีกพักใหญ่ เพื่อสร้างความรับรู้ให้เกิดขึ้นกับลูกค้า

e-business on demand ในความหมายของไอบีเอ็มไม่ใช่แค่นำคอม พิวเตอร์มาต่อเชื่อมกัน แต่ต้องลึกซึ้งมากขึ้นในแง่มุมของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าเข้าใจ และมองทะลุถึงความจำเป็นการนำไอทีมาใช้ประโยชน์ ก่อผลในทางธุรกิจมากขึ้น ต้องลดต้นทุน สร้างผลกำไรได้จริง

"ตอนแรกสับสนพอสมควร แนวคิด ก็คือ ใช้เท่าไร จ่ายเท่านั้น ศัพท์ที่เราใช้ในช่วงแรกก็ยังเป็น e-business transfor-mation" ธวิช จารุวจนะ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัทเมโทรซิสเต็มส์ จำกัด บอกถึง การไม่เข้าใจ

ไอบีเอ็มเรียกเป็นช่วงเวลาของการเดินทาง หรือ e-business on demand journal

การเดินทางไปหัวหินของผู้สื่อข่าวในครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ แต่เป็นการส่งผ่าน ความคิด และความหมายของ e-business on demand เพราะนักข่าวเป็นกระบอกเสียงหนึ่งที่จะส่งผ่านความคิดในระดับกว้าง

ก่อนเดินทางเจ้าหน้าที่เรียกน้ำย่อย ด้วยการสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับ e-business on demand ของผู้สื่อข่าว ก่อน จะเคลื่อนรถเดินทางไปหัวหินที่มีศุภจี สุธรรมพันธุ์ นำทีมผู้บริหารไปรออยู่แล้ว

งานสัมมนาในครั้งนี้ นับเป็นการสะท้อนถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงของไอบีเอ็มในหลายแง่มุม ไอบีเอ็มนำเอาบริษัท จิ้นเซ่งฮวดที่มีเมโทรซิสเต็มส์ คู่ค้าคนสำคัญ มาร่วมในงาน เพื่อใช้เป็น case study ของการเข้าสู่ e-business on demand

จิ้นเซ่งฮวด ไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่จัดอยู่ในกลุ่ม SMB ขายอะไหล่กระบะยี่ห้ออีซูซุ อยู่ในย่านถนนวรจักร ทำธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2510 จากรุ่นพ่อจนมาถึงรุ่นลูก กิตติชัย เชื้อรัตนพงษ์ ไปร่ำเรียนจากต่างประเทศ กลับมารับช่วงบริหารงานต่อ

แม้เป็นเพียงห้องแถว แต่เปิดรับแนวคิดบริหารจัดการ และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว เริ่มจากไอบีเอ็ม system 34 จากนั้นพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ system 36 มาเป็น as/400 จนมาเป็น 825

เมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัว จากที่เคยขาย อะไหล่เพียงแค่ 2 ยี่ห้อ แต่เมื่อขายหลายยี่ห้อ ความซับซ้อนทางธุรกิจมีมากขึ้น แต่ละยี่ห้อมีนโยบายการตลาดต่างกัน มีประเภทสินค้าหลากหลาย ปัญหาที่ตามมา คือ ระบบเดิมรองรับไม่ได้ ต้นทุนในการทำ ธุรกิจสูงขึ้นเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน กระแสของอีคอมเมิร์ซที่ส่งผลให้ผู้ผลิตอะไหล่กับบริษัทรถยนต์ติดต่อถึงกันมากขึ้น หากพ่อค้าคนกลางตอบสนองไม่ได้

"ต้องสร้าง value ให้องค์กร ต้อง หาวิธีสร้าง network ลูกค้า สินค้า และมีเครือข่ายแข็งแรง ด้วยเป้าหมายเหล่านี้"

ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง จิ้นเซ่งฮวด วางยุทธศาสตร์ทางธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาเริ่มขึ้น ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ยกเครื่องระบบไอที ลงทุนสร้าง Data center ซื้ออุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูล (storage) มาติดตั้ง

การติดตั้งระบบไอทีรอบนี้ นอกจาก ยกเครื่องระบบไอทีภายใน นอกจากใช้ระบบที่เป็นสากล ERP ใช้เชื่อมต่องานภายใน ยังเพิ่มระบบค้าขายดีลเลอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยจิ้นเซ่งฮวดลงทุนติดตั้งเครื่องให้ดีลเลอร์ 200 ราย ดีลเลอร์ หรือลูกค้า จะได้รับความสะดวกสามารถสั่งซื้อสินค้า ลูกค้าจะสั่งของจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้ และเร็วขึ้น ประหยัดขึ้น

นอกจาก จิ้นเซ่งฮวด case study ที่สะท้อน e-business on demand ให้กับ ไอบีเอ็ม เมโทรซิสเต็มส์ ผู้ติดตั้งระบบ ยังรับเหมา ช่วง outsource งานบางส่วนของจิ้นเซ่งฮวด มาดูแล ซึ่งก็ถือเป็นการเรียนรู้แนวคิด e-business on demand ไปพร้อมๆ กับโปรเจ็กต์นี้

นอกจากตัวธวิช ที่ทุ่มเทเวลาให้กับโปรเจ็กต์นี้อย่างเต็มที่ ยังใช้ทีมงาน 140 คน ในการติดตั้งระบบตลอด 6 เดือนเต็ม

เช่นกัน งานสัมมนาครั้งนี้ ธวิช จารุวจนะ และทีมงานของเมโทรซิสเต็มส์ เดินทางมาล่วงหน้า 1 วันเพื่อขนเอาเครื่อง server มาติดตั้ง เพื่อทดสอบให้เห็นถึงการทำงาน

"เป็น case ที่แม้แต่ไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิก ยังสนใจ เพราะไม่ใช่ธุรกิจใหญ่ แต่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่ทำมา ถึงขนาดนี้" ธวิชบอก

นอกจากมี case study เพื่อให้เห็น ภาพในมุมของลูกค้า ผู้บริหารที่มาถ่ายทอด แนวคิด e-business on demand ไม่ใช่ผู้บริหารดูแลผลิตภัณฑ์เหมือนเคย แต่เปลี่ยนมาเป็นผู้บริหารดูแลกลุ่มลูกค้ามาให้ ความรู้โดยตรง ศุภจีเชื่อว่า จะทำให้เข้าใจ ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้

ความท้าทายของไอบีเอ็ม คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจว่า สิ่งที่ไอบีเอ็มทำครั้งนี้ไม่ใช่แค่ลูกเล่นทางการตลาด แต่ทำเพื่อตอบสนองการใช้งานของลูกค้ามาก ที่สุด ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่รวมไปถึงขายบริการ และที่ปรึกษา หรือ รับเหมาให้บริการ (outsource) การให้คำปรึกษา การรีเอ็นจิเนียริ่ง และการติดตั้ง ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

นี่คือการเดินทางที่ยังไม่มีสิ้นสุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us