Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
Service industry ของบุญคลี ปลั่งศิริ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
บุญคลี ปลั่งศิริ




ไม่บ่อยครั้งนักที่บุญคลี ปลั่งศิริ ขึ้นเวทีแถลงข่าว หรือ ออกมาพบปะผู้สื่อข่าว โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

"ใช้เวลาไปศึกษาเรื่องซื้อกิจการ ดูตัวเลขทั้งวัน ทำเองกับผู้บริหารอีก 3-4 คน ไม่ได้จ้างที่ปรึกษา ดูอยู่หลายกิจการ" เขาแย้มต่อด้วยว่า "ใครที่ใกล้ชิดผมจะรู้ว่า ถ้าผมหายไปอีก ไม่นานจะมี deal ใหม่เข้ามาแล้ว"

บุญคลียกตัวอย่างกรณีซื้อกิจการดีพีซี 1800 และไอทีวี ที่เขาหายหน้าไปพักใหญ่ ต้องใช้เวลาเจรจา deal มาเปิดตัวอีกครั้งในงานแถลงข่าวซื้อกิจการเหล่านี้แล้ว

ครั้งนี้ก็เช่นกัน เขาต้องใช้เวลาศึกษาธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจที่มีอยู่เดิม ขยายฐานธุรกิจใหม่ๆ อยู่นอกสายธุรกิจเดิม

Port ใหม่ที่ชินคอร์ปจะลงทุนนั้น จะเติบโตไม่แพ้ที่มีอยู่เดิม การลงทุนเป็นไปได้ตั้งแต่ซื้อกิจการหรือร่วมลงทุนกิจการที่มีอยู่เดิม

คำถามที่บุญคลีได้จากผู้สื่อข่าวในวันนั้นจึงวนเวียนอยู่กับการซื้อกิจการของชินคอร์ป แต่เมื่อ deal ยังไม่จบ คำตอบที่ชัดเจนจึงไม่มี แต่บุญคลีก็มีคำตอบที่เหมาะสมเอาไว้แล้ว

"ไม่ใช่ธุรกิจเก่าไม่ดี ระหว่างที่ธุรกิจเดิมยังเข้มแข็ง เราต้องหาลู่ทางลงทุนใหม่ๆ ไม่อย่างนั้นจะเติบโตได้ยังไง มันถึงบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อไปได้"

การลงทุนครั้งนี้เป็นการ diversify ธุรกิจที่ชินคอร์ปไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน โดยธุรกิจใหม่จะมีขนาดใหญ่ไม่แพ้ธุรกิจที่ชินคอร์ปมีอยู่เดิม

บุญคลีเชื่อว่าด้วยฐานลูกค้าโครงข่ายโทรคมนาคม บวกกับฐานเงินทุนที่มั่นคงแข็งแรง (creditability) ที่ทำมา 20 ปี เป็นเครื่องการันตีได้ว่า ธุรกิจใดก็ตามที่ชินคอร์ปเข้าไปลงทุนจะได้รับการตอบรับที่ดี

"ดูอย่างไอทีวี พอชินคอร์ปเข้าไปลงทุนตลาดคึกคัก มีสีสัน ตลาดตอบรับดี"

แต่มีเงื่อนไขว่า ชินคอร์ปจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารด้วย ประเภทเอาเงินไปลงทุนอย่างเดียว ไม่ได้อยู่ในวิสัย เพราะอย่างน้อยธุรกิจใหม่ที่ว่านี้จะต้อง synergy กับธุรกิจเดิมที่มีอยู่

โมเดลธุรกิจของชินคอร์ปในอนาคต ในสายตาของบุญคลี จะไม่ต่างไปจาก จีอี แคปปิตอล หรือวอร์เรน บัฟเฟตต์

จากกระแสข่าวก่อนและหลังที่จะเข้าไปเจรจาซื้อหุ้นเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์หรืออาร์เอส โปรโมชั่น ธุรกิจบันเทิงน่าจะเข้าตาบุญคลีมากที่สุด

บันเทิงนั้น เป็นธุรกิจที่เกื้อกูลกับธุรกิจสื่อสารของกลุ่มชินคอร์ปมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฐานลูกค้ามีมากกว่า 10 ล้านราย และโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผันผวนเพียงใดก็ตาม แต่ธุรกิจบันเทิงไม่ได้รับผลกระทบเหมือนธุรกิจอื่นๆ เพราะเมื่อคนเครียดก็ต้องหา ความบันเทิงมาผ่อนคลาย

สำหรับธุรกิจโทรคมนาคม บุญคลี บอกว่า ไม่มีอะไรใหม่อีกแล้วในธุรกิจนี้

"ธุรกิจโทรคมนาคม มันหมดความตื่นเต้น เทคโนโลยีต่อไป 3G บรอดแบนด์จะมาจริงหรือเปล่ายังไม่รู้ อินเทอร์เน็ตก็เหมือนกันหลังจากล้มลุกคลุกคลานมาแล้ว ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่าอินเทอร์เน็ตคืออะไร" บุญคลีทิ้งท้ายด้วยว่า "ผู้สื่อข่าวเองต้องปรับ โครงสร้างใหม่เปลี่ยนมาเป็น service industry

สิ้นปีนี้ เป็นกำหนดที่ถูกวางไว้ว่า ธุรกิจ entertainment ประเภทใดที่จะเป็น ธุรกิจขาใหม่ของชินคอร์ป ที่จะเติบโตไม่แพ้ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม

บุญคลีทิ้งท้ายไว้ว่า "หรืออาจจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ได้"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us