รายได้รวมของ "ผู้จัดการ 100" ปีล่าสุดลดลงจากปีก่อน และขาดทุนรวมของ
"ผู้จัดการ 100" เพิ่มมากขึ้น เป็นภาพทางยุทธศาสตร์ ที่เด่นชัดว่า
ธุรกิจหลักของสังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงของการปรับตัวอย่างรุนแรง ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างแท้จริง
ที่พยายามกล่าวอ้างกัน
นอกจากนี้ยังเป็นดัชนีของความไม่มีเสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยด้วย
มองลึกลงอีกระดับหนึ่ง กิจการส่วนใหญ่ ที่มีน้ำหนักในการทำรายได้ 50% ของ
"ผู้จัดการ 100" ก็ไม่เกิน 15 อันดับแรกรวมกัน ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่
ภาคการผลิตพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ต้องลงทุนสูง เช่น อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
และปิโตรเคมี ที่เหลือ ก็คือ กิจการกลั่น และจำหน่ายน้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศจำนวนมาก
อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งแต่เดิมมีน้ำหนักอย่างมากในกิจการหลักๆ
ของไทย ถือว่าลดน้ำหนักไปได้มาก เนื่องจากวิกฤติการณ์การเงิน ที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนลดลง
การทำรายได้ลดลง ขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจไฟแนนซ์ ซึ่งเคยมีบทบาทนำ ก็ไม่อยู่ในกลุ่มนำนี้
ขณะเดียวกันธุรกิจสื่อสาร และค้าปลีก ซึ่งขยายตัวภายใต้การบริโภค ที่ถูกกระตุ้นมากขึ้น
รวมทั้งการล้มหาย ตายจากของค้าปลีกดั้งเดิมของรายย่อย ไปสู่ค้าปลีกแบบใหม่ของรายใหญ่
โดยมีต่างชาติเป็นเจ้าของ
ที่น่าสนใจธุรกิจ เพื่อส่งออกมีน้ำหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบินไทย เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
และเดลต้าอีเล็กโทรนิคส์
ภาพทางยุทธศาสตร์ ที่เกิดขึ้นอีกภาพหนึ่งจากการพิจารณา "ผู้มาใหม่"
และ "ผู้จากไป" ในช่วง 3 ปี (2540-2542) ได้เห็นภาพการปรับตัวอย่างรุนแรงของธุรกิจไทย
ปี 2540 สถาบันการเงินสูญหายไปอย่างมากในปีนั้น เนื่องจากปิดกิจการ ปี
2541 สถาบันธนาคารก็มีปัญหาลดบทบาทธุรกิจลงอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนไฟแนนซ์ก็มีระลอกสองในปีนี้
ส่วนปี 2542 ธุรกิจไทยเริ่มปรับโครงสร้าง ทำให้โครงสร้างรายได้ของกิจการปรับเปลี่ยนไป
อันดับใน"ผู้จัดการ 100" ก็เปลี่ยนแปลงด้วย เครือซิเมนต์ไทยเริ่มทยอยตัดกิจการบางส่วนออกไป
เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร รวมกิจการอาหารของซีพีทั้งหมด ทั้งใน และนอกตลาดหุ้นเข้ามา
ทำให้มีรายได้สูงขึ้น ส่วนชินวัตรฯ ปรับตัวเองเป็นโฮลดิ้งคัมปะนี รายได้หลักจึงไปอยู่ ที่แอดวานซ์ฯ
ดังนั้น จึงเป็นการเร็วเกินไป ที่จะบอกว่า ธุรกิจในตลาดหุ้น ตั้งแต่ปี 2542
ได้ปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้งแล้ว