|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เงินบาทล่าสุด 32.50 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่ากว่าเพื่อนบ้าน คาดแนวโน้มยังคงอ่อนค่าถึงสิ้นเดือน ปัจจัยการเมืองผสมโรง แบงก์ชาติมองแง่ดีเป็นทิศทางเดียวกับภูมิภาค เผยต่างชาติมีการซื้อดอลลาร์นำออกนอกประเทศมากขึ้น ยอมรับ ธปท.เข้าดูแล "ประสาร" ชี้สาเหตุดอลล์แข็งค่าหลังคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงจุดต่ำสุด ขณะที่ภาคการเมืองที่ยังไม่นิ่งกดดันอีกแรง
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเย็นวานนี้ (14 พ.ค.) ปิดตลาดที่ระดับ 32.49-32.50 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยทั้งวันการเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะอ่อนค่า ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามค่าเงินสกุลหลักที่ยังคงอ่อนค่าสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และมองว่าแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายเดือน พ.ค. ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ (15 พ.ค.) คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.45-32.60 บาทต่อดอลลาร์
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ค่าเงินบาทแม้จะอ่อนค่าตามภูมิภาคจากปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐรีบาวน์ขึ้นไปหลังจากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงอีกแล้ว ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอ่อนค่าแล้วประมาณ 1% แต่ค่าเงินบาทของไทยกลับอ่อนค่าเร็วกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแล้ว 2% ซึ่งมองว่าส่วนหนึ่งมาจากความกังวลเรื่องการเมือง โดยเฉพาะการปฎิวัติทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยมองว่าหากการเมืองยังมีการพูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อไป รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง ทำให้มีเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า
ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงเวลานี้เกิดจากข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นรายวัน เช่น ข้อมูลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ส่งผลให้แนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ในจุดนี้ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าของไทย ได้ซื้อประกันความสี่ยงค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งต่างกับช่วงก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกวิตกว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่า จึงได้ประกันความเสี่ยงค่าเงิน ในจุดนี้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนของไทยนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ หากดุลชำระเงินเกินดุลมากๆ ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้จนถึงปลายปีน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ซึ่งทางนักวิเคราะห์หลายแห่งก็ประเมินไปในทิศทางนี้เช่นเดียวกัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจะค่อนข้างมีความผันผวน โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูง การซื้อขายบางวันอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 0.40-0.60 % ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ลงทุนมีความอ่อนไหวกับข่าวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ประกอบกับในปัจจุบันนัลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรคิดเป็นเงินคงค้าง 100,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขการลงทุนเท่ากับก่อนที่ทางการใช้มาตรการสำรอง 30 % โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากพันธบัตระยะสั้นอายุ 1-3 ปี
“ดอกเบี้ยตลาดเงินค่อนข้างผันผวนเพราะมีต่างชาติมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้สูงพอ ๆ กับช่วงก่อนที่จะใช้มาตรการกันสำรอง 30% ที่ในตอนนั้นมียอดคงค้างอยู่ประมาณ 100,000 ล้านบาท แต่พอประกาศใช้มาตรการก็ทำให้มีเงินทุนไหลออก แต่ตอนนี้เงินลงทุนได้กลับเข้ามา อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองเกิดความผันผวนมาแล้ว 1-2 เดือน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะตลาดเงินโลกที่ไม่นิ่ง” นายประสารกล่าว
แบงก์ชาติปลอบใจแข็งตามภูมิภาค
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาเป็นไปตามทิศทางเดียวกับค่าเงินในแถบภูมิภาค แต่ไม่ได้เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งการที่เงินบาทค่อนข้างอ่อนค่าเกิดจากต่างชาติมีการซื้อเงินดอลลาร์นำออกไปนอกประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มองว่าค่าเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้จากปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงมากกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งภาวะตลาดการเงินก็ไม่ได้เลวร้าย เชื่อทางสหรัฐฯสามารถควบคุมดูแลเศรษฐกิจได้แล้ว
ขณะเดียวกันผู้นำเข้าก็มีการซื้อเงินดอลลาร์บ้าง แต่ก็ไม่มาก โดยเฉพาะบริษัทนำเข้าน้ำมันและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต ดังนั้นในส่วนของคนไทยเองก็ไม่ได้เห็นสัญญาณว่าจะเร่งซื้อเงินดอลลาร์จนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่ามากนัก
“ส่วนกระแสข่าวที่ว่ามีกองทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาผสมโรงในการช้อนซื้อเงินดอลลาร์กลับไปนั้นจนทำให้เงินบาทอ่อนมาก ยังไม่เห็นสัญญาณผิดปกติ แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเขาเคยลงทุนไว้แล้วจะนำเงินออกไปบ้าง จึงเชื่อเรื่องนี้เป็นเพียงสถานการณ์ช่วงสั้นๆ ซึ่งธปท.พยายามติดตามและดูแลตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่ามากเกินไป" นางผ่องเพ็ญกล่าว
ผู้ว่าฯ แจงออกบอนด์อุ้มบาท
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าในตลาดตราสารหนี้มีพันธบัตร ธปท.ออกมาจำนวนมากถึง 2.5 ล้านล้านบาท เพื่อช่วงพยุงค่าเงินว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ธปท.มีการออกพันธบัตรอายุสั้นๆ ไม่เกิน 7 วัน หรือ 14 วัน ทำให้มีการครบกำหนดไถ่ถอนเร็ว และธปท.ก็มีการออกพันธบัตรใหม่มาทดแทนพันธบัตรเก่าที่หมดอายุดังกล่าว ซึ่งตามข้อเท็จจริงในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) ธปท.ได้มีการออกพันธบัตรสู่ตลาดตราสารหนี้ไปแล้วแค่ 1.3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีการออกไป 1.6 แสนล้านบาท ถือว่าน้อยมาก
ส่วนการออกพันธบัตรในปีนี้ที่น้อยกว่าปีก่อนขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละช่วงว่าธปท.จำเป็นต้องมีการดูดซับสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน ทำให้เหตุผลที่ออกพันธบัตรมามากไม่ได้เกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วยทั้งสภาพคล่องในระบบว่าธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินมากเกินไปไหมในช่วงนั้นๆ รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากแค่ไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ธปท.ต้องนำมาพิจารณาในการออกพันธบัตรด้วย
|
|
 |
|
|