Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
เกมที่เปลี่ยนแทบทุกวัน             
 

   
related stories

51 วันกับค่าจ้าง 7.5 ล้านบาท

   
search resources

เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ - IFC
ผู้บริหารแผนไทย
ดิเอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล
ศาลล้มละลายกลาง
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ทักษิณ ชินวัตร
ชาตรี โสภณพนิช
พละ สุขเวช
สุวรรณ วลัยเสถียร
ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ




21 เม.ย.
- ศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาถอดบริษัทเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส (EPL) ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ TPI เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถบริหารได้ตามแผน และได้แต่งตั้งประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารเดิมร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว ก่อนให้เจ้าหนี้ลงมติคัดเลือกผู้บริหารแผนรายใหม่ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม EPL ยังเป็นผู้บริหารแผนของบริษัทในเครือ TPI อีก 6 แห่ง

22 เม.ย.
- คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้สั่งตัดเงินกู้หมุนเวียน จำนวน 80 ล้านดอลลาร์ ที่ให้กับ TPI ในช่วงการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราว เพื่อรอดูว่าผู้บริหารแผนคนใหม่จะทำงานร่วมกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ได้หรือไม่ พร้อมกันนั้น ก็ได้กำหนดวันประชุมเจ้าหนี้เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ในวันที่ 12 พฤษภาคม

- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง และกระทรวงยุติธรรมจะเข้าไปเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายจนมีผลกระทบกับพนักงานของ TPI ซึ่งมีจำนวน 7,300 คน

23 เม.ย.
- ดิเอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล เสนอบทความเชิงวิเคราะห์ที่สะท้อนให้เห็นปฏิกิริยาด้านลบจากกรณีนี้ โดยการ สัมภาษณ์ตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวคล้ายกันว่าเป็นช่องโหว่ในระบบยุติธรรมของไทย และอาจมีผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในอนาคต

24 เม.ย.

- เริ่มปรากฏรายชื่อบุคคลหลายคนที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ และลูกหนี้ ที่จะเข้าไปเป็นผู้บริหารแผน TPI แต่ยังไม่มีชื่อของสุวรรณ วลัยเสถียร

30 เม.ย.
- สุวรรณ วลัยเสถียร ได้เปิดตัวในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานการเจรจาในกรณีของ TPI โดยยอมรับว่าได้รับการทาบทามจากชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ ขณะเดียวกันตัวแทนจากฝ่ายเจ้าหนี้ ได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่ต้องการให้มีชื่อของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อยู่ในคณะผู้บริหารแผนชุดใหม่ ซึ่งกำลังจะมีการคัดเลือกกัน

1 พ.ค.
- ฝ่ายบุคคลของ TPI ได้มีคำสั่งปลดพนักงานตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ลงมา จำนวน 32 คน โดยอ้างว่าเป็นผู้ที่ทำงานสนองนโยบายของ EPL โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน แต่คำสั่งนี้ถูกคัดค้านจากตัวแทน จพท.ที่เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว ขณะเดียวกัน EPL ในฐานะผู้บริหารแผนบริษัทในเครือ TPI ได้ใช้สิทธิ์เรียกหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท
- นิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิค รีวิว ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์กรณี TPI ว่าเป็นสัญญาณไม่ดีต่อนักลงทุนต่างประเทศในไทย

2 พ.ค.
- สุวรรณ วลัยเสถียร นำเสนอรายชื่อกรรมการบริษัทที่เสนอตัวเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟู TPI รายใหม่ต่อคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 12 พฤษภาคม โดยมีชื่อของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นประธาน พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมากล่าวถึงการแก้ปัญหากรณีนี้ว่าทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้ ไม่ควรมีทิฐิซึ่งกันและกัน เพราะจะทำให้พังได้ทั้ง 2 ฝ่าย

5 พ.ค.
- สุวรรณ วลัยเสถียร ให้รายละเอียดแนวทางฟื้นฟูกิจการ TPI ว่าบริษัทที่จะเข้าไปดำเนินการ ใช้ชื่อว่าบริษัทบริหารแผนไทย ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย 100% มีกรรมการประกอบด้วยพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และพละ สุขเวช อดีต ผู้ว่า ปตท. และในการบริหารแผน จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายลูกหนี้ส่งกรรมการเข้าร่วมด้วย 1 คน ในการเปิดเผยราย ละเอียดครั้งนี้ สุวรรณได้อ้างว่าเป็นตัวแทนที่รัฐบาลส่งเข้ามา และได้มีการรายงานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ รับทราบแล้ว ขณะที่ฝ่ายลูกหนี้ ก็มีการเตรียมรายชื่อที่จะเสนอให้ที่ประชุมในวันที่ 12 พฤษภาคม คัดเลือกให้เป็นผู้บริหารแผนเช่นกัน

6 พ.ค. - สหภาพแรงงาน TPI ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่ยอมรับแผนของบริษัทบริหารแผนไทย เพราะเห็นว่าเป็นบริษัทที่เจ้าหนี้ส่งเข้ามาเหมือน EPL เพียงแต่เปลี่ยนหน้าเป็นบริษัทของคนไทย 100% เท่านั้น

7 พ.ค. - จพท.เรียกประชุม 3 ฝ่ายประกอบด้วยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และจพท. เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นก่อนการประชุมในวันที่ 12 พฤษภาคม แต่การประชุมล้ม เนื่องจากฝ่ายลูกหนี้ไม่มาร่วม

9 พ.ค. - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เชิญผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ แกนนำเจ้าหนี้ และประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารแผนชั่วคราว TPI เข้าร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านพิษณุโลก ร่วมกับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และสุชาติ เชาว์วิศิษฐ โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และได้ข้อสรุปว่าคณะกรรมการบริหารแผนชุดใหม่จะมี 15 คน โดยให้แต่ละฝ่ายเสนอรรายชื่อบุคคลเข้ามาฝ่ายละ 14 คน ให้ ดร.สมคิดเป็นผู้คัดเลือกเหลือฝ่ายละ 7 คน ส่วนอีก 1 คน จะเป็นตัวแทนที่รัฐบาลส่งเข้าไป

12 พ.ค. - การประชุมคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนชุดใหม่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยตัวแทนธนาคารกรุงเทพ และฝ่ายลูกหนี้เห็นชอบให้เลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 19 พฤษภาคม เพื่อพิจารณาแนวทางที่ทางรัฐบาลเสนอเข้ามาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ขณะที่เจ้าหนี้ต่างประเทศ ที่ยังไม่รับรู้เรื่องนี้ ได้แสดงความไม่พอใจ

13 พ.ค. - ตัวแทนบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ได้ยื่นหนังสือเรียกหนี้คืนจาก TPI จำนวน 319 ล้านดอลลาร์
- ศาลล้มละลายกลางได้ถอด EPL ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนบริษัทในเครือ TPI 6 แห่ง โดยให้ TPI และจพท.เข้าเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว

15 พ.ค. - ลูกหนี้ ได้ส่งรายชื่อบุคคลจำนวน 15 คนให้กับดร.สมคิด ขณะที่ฝ่ายเจ้าหนี้ยังไม่ส่ง แต่มีกระแสว่าเจ้าหนี้ต่างประเทศยังคงยืนยันแนวทางให้บริษัทบริหารแผนไทย ที่มีสุวรรณ วลัยเสถียร เป็นแกนนำ เข้าไปเป็นผู้บริหารแผน TPI

16 พ.ค. - พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เรียกตัวแทนธนาคารกรุงเทพ กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ และ IFC เข้าพบเพื่อหาข้อสรุปก่อนการประชุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งในการพบกันคราวนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เสนอแนวทางใหม่ 3 แนวทางประกอบด้วย 1-ให้เจ้าหนี้ยืนยันตามแนวทางเดิม คือเสนอชื่อบริษัทผู้บริหารแผนไทย 2-เพิ่มสัดส่วนตัวแทนจากฝ่ายลูกหนี้ให้เข้าไปร่วมในบริษัทบริหารแผนไทยมากขึ้น และ 3-เลื่อนการประชุมออกไปก่อน

19 พ.ค. - การประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป โดยตัวแทนจพท.ได้เลื่อนให้ไปคัดเลือกกันอีกครั้งในวันที่ 2 มิถุนายน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ภายในกลุ่มเจ้าหนี้เริ่มมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างเจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งนำโดย IFC ที่ยืนยันจะใช้บริษัทบริหารแผนไทย ส่วนเจ้าหนี้ไทย ที่นำโดยธนาคารกรุงเทพ มีแนวโน้มจะทำตามแนวทางของรัฐบาล

21 พ.ค. - จพท.แจ้งต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากครบกำหนด 30 วันหลังจากมีคำพิพากษาถอด EPL จากการเป็นผู้บริหารแผน โดยจะขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนในวันที่ 2 มิถุนายน

22 พ.ค. - สุวรรณ วลัยเสถียร รองประธานบริษัทบริหารแผนไทย ได้กล่าวว่าได้ทำแผนฟื้นฟู TPI ชุดใหม่เสร็จแล้ว โดยกำลังทยอยส่งให้เจ้าหนี้ ในแผนดังกล่าวมีหลักการให้เพิ่มทุนจดทะเบียน TPI ขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง

26 พ.ค. - จพท.ได้นัดตัวแทนเจ้าหนี้ และลูกหนี้ มาเจรจาเพื่อหาทางออกในการคัดเลือกผู้บริหารแผน ซึ่งตัวแทนลูกหนี้ยังยืนยัน แนวทางที่รัฐบาลเสนอ คือมีตัวแทนเจ้าหนี้และลูกหนี้ฝ่ายละ 7 คน และมีตัวแทนจากรัฐบาล 1 คน เช่นเดียวกับธนาคารกรุงเทพ ตัวแทนเจ้าหนี้ฝ่ายไทย แต่ตัวแทนเจ้าหนี้ต่างประเทศ ไม่มีตัวแทนเข้าร่วม

27 พ.ค. - กระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางใหม่ ให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ TPI อีกครั้ง โดยใช้เวลา 90 วัน

28 พ.ค. - ศาลล้มละลายกลางได้เป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย โดยเรียกตัวแทนจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และตัวแทนจากรัฐบาลเข้าร่วมหารือกัน โดยการประชุมครั้งนี้ ตัวแทนเจ้าหนี้ต่างประเทศเข้าร่วมครบทุกคน ผลการประชุมปรากฏว่าตัวแทนเจ้าหนี้ได้ปฏิเสธแนวทางที่รัฐบาลได้เคยเสนอไว้ทั้ง 2 แนวทางโดยสิ้นเชิง และมีแนวโน้มว่าในวันที่ 2 มิถุนายน คณะกรรมการเจ้าหนี้จะมีมติเลือกบริษัทบริหารแผนไทย ให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ TPI

2 มิ.ย. - ที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ ซึ่งปรากฏว่า 99.6% ของเจ้าหนี้ที่เข้ามาร่วมประชุม โหวตเลือกบริษัทผู้บริหารแผนไทย ให้เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของ TPI ซึ่ง จพท.จะนำผลการโหวตครั้งนี้ เสนอต่อศาลล้มละลายกลางแต่งตั้ง เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

13 มิ.ย. - ล่าสุดศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่อนุมัติบริษัทบริหารแผนไทย โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูแทน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us