Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
51 วันกับค่าจ้าง 7.5 ล้านบาท             
 

   
related stories

เกมที่เปลี่ยนแทบทุกวัน

   
search resources

เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สมชาย สกุลสุรรัตน์
อรพิน เลี่ยวไพรัตน์
ประทีป เลี่ยวไพรัตน์
ประมวล เลี่ยวไพรัตน์




เป็นเหมือนเกมที่พลิกผันตลอดเวลากว่า 1 เดือน ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาถอดบริษัทเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส (EPL) ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) และแต่งตั้งประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหาร ผู้ซึ่งแสดงบทบาทเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเจ้าหนี้มาตลอดเวลากว่า 3 ปี เข้าเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว ร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.)

แต่ในที่สุด กรณีนี้ก็ได้บทสรุปตรงที่เจ้าหนี้มีน้ำหนักมากกว่าในการโหวตเลือกให้บริษัทบริหารแผนไทย ซึ่งนำทีมโดยสุวรรณ วลัยเสถียร เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ ที่จะเข้าไปรับหน้าที่แทน EPL

แม้ว่าระหว่างเวลาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ รัฐบาลโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พยายามยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป็นตัวกลางหาทางออกที่น่าจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย แต่สุดท้ายแล้ว กลุ่มเจ้าหนี้ก็ไม่เลือกหนทางนั้น

เหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้กรณี TPI ต้องได้บทสรุปเช่นนี้ ก็น่าจะเนื่องมาจากบุคลิกส่วนตัวของประชัย ที่ขัดแย้งไปกับทุกฝ่าย ไม่เว้นแต่ จพท.ที่ต้องเป็นผู้บริหารแผนร่วมกับเขาตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม

ตลอดระยะเวลา 51 วันที่เขาเหมือนกับได้กลับบ้านเก่าเพื่อบริหารกิจการของ TPI อีกครั้ง การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ ของ TPI ระหว่างที่เขาเข้าเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวแต่ละอย่าง ล้วนไม่ได้รับความเห็นชอบจาก จพท.แทบทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นกรณีการไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ยงวดเดือนเมษายน และพฤษภาคม การจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาประเมินทรัพย์สิน การจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย รวมถึงการไล่ออกพนักงานตั้งแต่ระดับบริหารลงไปจำนวน 38 คน ได้ถูก จพท.แสดงความ เห็นคัดค้านอย่างเป็นทางการออกมา

ในเวลา 51 วันดังกล่าว ดูเหมือนจะมีเพียงเรื่องเดียวที่จพท.ไม่แสดงท่าทีคัดค้านออกมา คือการตั้งอัตราเงินเดือนเพื่อจ่ายให้กับกลุ่มของประชัย

อัตราเงินเดือนดังกล่าว ประกอบด้วยประชัย ประทีป และ ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ คนละ 1.5 ล้านบาท สมชาย สกุลสุรรัตน์ 1.5 ล้านบาท อรพินท์ เลี่ยวไพรัตน์ 1 ล้านบาท และประกิต ประทีปเสน 5 แสนบาท รวม 6 คน คิดเป็นเงิน 7.5 ล้านบาท

มองในมุมของประชัย เงินก้อนนี้ที่เขาได้รับไม่น่าจะคุ้ม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us