Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
Kantana Movie Town             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Kantana The Experienced
52 ปีกันตนากรุ๊ป
Kantana Casting หนทางสู่ดวงดาว

   
www resources

โฮมเพจกันตนา

   
search resources

กันตนากรุ๊ป, บมจ.
กันตนา มูฟวี่ ทาวน์
จาฤก กัลย์จาฤก
ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก
ปนัดดา ธนสถิตย์
Entertainment and Leisure




ท้องทุ่งนาพื้นที่กว่า 800 ไร่ ในอำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม กำลังแปรเปลี่ยนไปเป็น One Town One Stop Service เมืองในจินตนาการทางด้านธุรกิจบันเทิงของ กันตนากรุ๊ป

ตั้งแต่ปลายปี 2545 ที่ผ่านมา งานพัฒนาพื้นที่ในโครงการ กันตนา มูฟวี่ ทาวน์ ได้เริ่มขึ้น จากงานดิน ทำถนน ขุดคูคลอง พร้อมๆ กับนำต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นประดู่ ต้นลั่นทม ต้นโมก ต้นข่อย ต้นเข็ม และไม้ไทยอีกจำนวนมาก เคลื่อนย้ายมาปลูกในที่ดินเพื่อสร้างความร่มรื่น และท่ามกลางลมร้อน และสายลมที่พัดแรงจัด การก่อสร้างฉากจำลอง เรื่อง กษัตริยา ละครฟอร์มยักษ์ของกันตนา ก็เกิดขึ้น แม้การก่อสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบ แต่ก็เต็มไปด้วยความสวยงามของงานฝีมือ และความสมจริงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งศรีสรรเพชร ฉากพลับพลา ท้องพระโรง หรือหมู่เรือนไทยต่างๆ

วันนี้ งานส่วนการสร้างฉากเมืองจำลองเสร็จไปแล้วเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กันตนาหมดเงินไปแล้วนับ 100 ล้านบาท แต่สิ่งก่อสร้าง และเม็ดเงินที่ลงไปแล้วนั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยวเดียวของโครงการ กันตนา มูฟวี่ ทาวน์ ที่ถูกกำหนดมาสเตอร์แพลนไว้ เพราะกันตนาต้องหว่านเม็ดเงินการลงทุนไปอีกไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท

หากกันตนาไม่ลงทุนสร้างฉากเองในละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องนี้ การถ่ายทำในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะฉากที่เป็นวัด เป็นวัง เป็นท้องพระโรง ซึ่งเป็นฉากส่วนใหญ่ของเรื่องนั้น จะสร้างปัญหาและอุปสรรคมากมายในเรื่องการเช่าและจัดหาสถานที่ นักแสดงอาจจะต้องเดินทางไกลถึงจังหวัดเชียงใหม่ หรืออยุธยา จะต้องผ่านขั้นตอนขออนุญาตหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย บทเรียนในการจัดหาสถานที่ในการถ่ายทำ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นแนวคิดสำคัญที่ทำให้กันตนา มูฟวี่ ทาวน์เกิดขึ้น

ฉากต่างๆ ที่ลงทุนอย่างยิ่งใหญ่และสมจริงทุกอย่าง ด้วยวัสดุที่มีความคงทนถาวร ทำจากเหล็กปนไฟเบอร์ สามารถมีอายุใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ทางกันตนาเองก็สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อด้วยการสร้างละครอิงประวัติศาสตร์ในเรื่องต่อไป หรือการให้เช่าสถานที่เพื่อการถ่ายทำหนังใหญ่ หรือหนังโฆษณา และการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องไปอีกนาน

มูฟวี่ ทาวน์ ได้แบ่งการดำเนินงานทั้งสิ้นออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่ 1 ใช้พื้นที่ 250 ไร่ เริ่มการก่อสร้างในปี 2546 เป็นการก่อสร้างฉาก และเมืองจำลอง เฟสที่ 2 เริ่มงานในปี 2547 สร้างสตูดิโอขนาดยักษ์ 4 โรง พร้อมจัดสรรที่ดิน เพื่อสร้างฟิล์มแล็บ ซาวด์แล็บ ในพื้นที่ 50 ไร่ และเฟสที่ 3 ปี 2548 ก่อสร้างมหาวิทยาลัยกันตนา ในพื้นที่ 100 ไร่ และสำนักงานบริษัทกันตนาในพื้นที่ 78 ไร่

หน้าตาของงานทางด้านสถาปัตยกรรมของอาคารทั้งหมดในมูฟวี่ ทาวน์นี้ จะมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย โดยเลียนแบบการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลัก สถานที่สำคัญต่างๆ ที่เคยมีในประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลานั้นหลายแห่งถูกสร้างจำลองขึ้นมา เช่น จำลองวังบูรพาภิรมย์ มาเป็นรูปแบบของอาคารสำนักงาน จำลองสถานีรถไฟของจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟแม้นศรี บ้านหมอบลัดเลย์ มาเป็นสถานที่ต่างๆ ในโครงการ ส่วนอาคารเรียนในมหาวิทยาลัย ถูกออกแบบในสไตล์ไทยล้านนา ท่ามกลางบรรยากาศของต้นไม้ที่ร่มรื่น

แม้ภาพลักษณ์การก่อสร้างจะเป็นแบบไทยโบราณ แต่อุปกรณ์ และสื่อการสอนข้างในจะทันสมัยทั้งหมด

ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก ผู้ก่อตั้งบริษัทกันตนา ได้เคยวาดฝันว่าจะต้องสร้างสถาบันที่ให้ความรู้ทางด้านการบันเทิงเต็มรูปแบบให้เกิดขึ้นในเมืองไทย ตัวของเขาเองเมื่อสมัยมีชีวิต ก็เป็นผู้บรรยายพิเศษในเรื่องการทำละครวิทยุโทรทัศน์ ให้กับนักศึกษาในสถาบันต่างๆ เสมอ และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปิน เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีความสามารถด้านการแสดง รวมถึงการจัดตั้งโรงเรียนฝึกการแสดงในสังกัดของสมาคมนักแสดงอาชีพแห่งประเทศไทย

จาฤก ลูกชายคนโต เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เมื่อ 15 ปีก่อน สมัยคุณพ่อยังมีชีวิต เมืองมหาวิทยาลัยกันตนา นั้นเคยถูกออกแบบไว้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงเป็นเสมือนการสานฝันของผู้เป็นพ่อ โดยจะเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ทางด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์ นักศึกษาสามารถผลิตงานดูงาน และปฏิบัติการจริงได้ทั้งหมด

ผู้บริหารที่จะลงมาดูแลเมืองมหาวิทยาลัย คือ ปนัดดา ธนสถิตย์ ลูกคนที่ 3 ของประดิษฐ์ เธอสอนคณะนิเทศศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานานถึง 25 ปี ก่อนที่จะลาออกมา เพื่อรับผิดชอบโครงการนี้อย่างเต็มตัว โดยขณะนี้กำลังเตรียมงานทางด้านยื่นขออนุญาตก่อสร้าง และเตรียมงานด้านโครงสร้างหลักสูตรต่างๆ

แม้มหาวิทยาลัยจะยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่การเตรียมพร้อมในเรื่องการเรียนการสอน การสร้างหลักสูตรสำหรับถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ตั้งแต่ประมาณปลายปีที่ผ่านมา กันตนาแคสติ้ง เซ็นเตอร์ สอนนักเรียนไปแล้วหลายพันคนทางด้านการแสดง และทางบริษัทยังมีหลักสูตรระยะสั้นสำหรับการเรียนที่จะเปิดสอนในเดือนกันยายน 2546 นี้ ในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตหนังการ์ตูน การผลิตรายการโทรทัศน์ และหลักสูตรความรู้เรื่องการตลาด ในแวดวงบันเทิง รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้นในเรื่องเทคนิคและโนว์ฮาวต่างๆ ทางด้านฟิล์มแล็บ ซาวด์แล็บ และการบันทึกเสียง ซึ่งจะเริ่มเปิดสอนในเร็วๆ นี้เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us