ตลอด 3 ปีที่ไทยต้องเผชิญภาวะวิกฤติทางการเงิน TUF กลับใช้วิกฤติในรอบนี้ พลิกผันจนกลายเป็นโอกาส
ในการก้าวรุกไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องด้วยรากฐาน ที่แข็งแกร่งขณะที่ธุรกิจหลายแห่ง
กำลังอยู่ในช่วงถอยเพื่อตั้งหลัก หรือไม่ก็ต้องล้มหายตายจากไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว
นับเป็นกรณีศึกษา ที่น่าจับตา
ด้วยวัยเพียงไม่ถึง40ปีธีรพงศ์จันศิริสามารถนำพากิจการไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่น
โปรดักส์(TUF)ค่อยๆขยับก้าวขึ้นเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าอย่างเงียบๆท่ามกลางหมอกควันของวิกฤติเศรษฐกิจ
ที่ยังปกคลุมประเทศ ไทยอยู่อย่างไม่จางหาย
TUFอยู่ในอันดับ ที่18ของ"ผู้จัดการ100"ปี2542ด้วยยอดรายได้รวม20,228.95
ล้านบาทแม้จะไม่ติดอยู่ใน10อันดับแรกแต่จังหวะการก้าวรุกของบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าแห่งนี้
ในช่วง4ปีที่ผ่านมากลับมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
TUFขยับขึ้นจากอันดับ ที่50ในปี2539ด้วยยอดรายได้รวมเพียง8,938.50ล้านบาท
มาอยู่อันดับ ที่33 และ26ในปี2540 และ2541 และเป็น1ในกิจการเพียงไม่กี่แห่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่สามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2539-2542
ที่สำคัญคือ ในขณะที่บริษัทหลายแห่งต่างชะลอการลงทุนแต่TUFกลับทำตรงข้ามโดยการรุกซื้อกิจการในประเทศ
และข้ามไปซื้อกิจการในต่างประเทศอีกหลายแห่งตลอดช่วง4ปีที่ผ่านมา
และสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่า ที่ใหญ่เป็นอันดับ1ในเอเชีย
และอันดับ2ของโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว
"3-4 ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ดีสำหรับการส่งออกเพราะเราได้ประโยชน์จากการลดค่าเงินบาท
อีกประการคือ เมื่อเกิดวิกฤติประเทศคู่แข่งของเราอย่างอินโดนีเซียฟิลิปปินส์
ก็มีปัญหาไปด้วยเป็นโอกาส ที่ทำให้เราสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง"ธีรพงศ์
จันศิริประธานกรรมการบริหารTUFกล่าวกับ"ผู้จัดการ"
TUFเป็นกิจการที่ก่อตั้งขึ้นโดยไกรสรจันศิริบิดาของธีรพงศ์ในปี2531โดยเปลี่ยนชื่อมาจากบริษัทเอเซี่ยน
แปซิฟิคไทยทูน่าเมื่อปี2532มีหน้าที่ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง และแปรสภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
เพื่อการส่งออก และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปลายปี2537
ปี2539เป็นปีแรก ที่TUFเริ่มรุกเข้าไปจับตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าโดยการเข้าไปตั้งบริษัทไทยยูเนี่ยนอินเตอร์เนชั่นแนล
ด้วยทุนจดทะเบียน10ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นตัวแทนในการลงทุนในสหรัฐอเมริกา
โครงการแรกคือ การร่วมทุนกับกลุ่ม Tri-Marine Internationa lผู้ค้าปลาทูน่าอันดับ
1ของโลก และ The Gann Family Trust เจ้าของกองเรือจับปลาในน่านน้ำแปซิฟิกก่อตั้งบริษัท
Tri-Union International, LLc ขึ้น เพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแพนแปซิฟิกฟิชเชอรี่
ซึ่งเป็นโรงงานผลิตปลาทูน่ากระป๋องขนาดกลางในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ปีต่อมาTUFลงทุนเพิ่มอีกครั้งโดยร่วมกับพันธมิตรเดิมตั้งบริษัทTri-Union
Seafoods เพื่อเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทVanCampSeafoodผู้ผลิตปลาทูน่า และปลาแซลมอน
บรรจุกระป๋องรายใหญ่ในสหรัฐฯเจ้าของเครื่องหมายการค้า"ChickenoftheSea"
มูลค่าตลาดสินค้าปลาทูน่าในสหรัฐอเมริกาสูงถึงปีละ2,000ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยผู้ครองตลาดอันดับ
1เป็นเครื่องหมายการค้า"Starkist"มีส่วนแบ่งตลาด45%รองลงมาเป็นของ"Bumble
Bee"22%โดยมี"ChickenoftheSea"อยู่อันดับ3ครองส่วนแบ่งตลาด16-17%
การจับมือกับพันธมิตรอย่างกลุ่ม Tri-Marine International และ The Gann
Family Trustรวมถึงการเข้าซื้อกิจการผลิตปลาทูน่าทั้ง2แห่งส่งผลให้ TUF มีเครือข่ายธุรกิจ
ที่ครบวงจรในสหรัฐอเมริกา โดยมีทั้งกองเรือประมง และข่ายการค้าปลาทูน่าขนาดใหญ่รวมทั้งมีโรงงานผลิต
และเครื่องหมายการค้า ที่เป็นที่นิยมในตลาดแห่งนี้อยู่แล้ว
"เราไม่คิดว่าจะให้เป็นบริษัทข้ามชาติแต่พยายามทำให้ดีเท่า ที่จะทำได้เพราะยึดหลักว่าต้องสามารถดูแลได้ทั่วถึง"
ธีรพงศ์เคยกล่าวไว้กับ"ผู้จัดการ"ภายหลังการซื้อกิจการของVanCampได้ประมาณ
1ปี("ผู้จัดการ"ฉบับเดือนตุลาคม2541)
การลงทุนในสหรัฐอเมริกายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
Tri-UnionSeafoodsยังได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทCISeafoods.,Inc. ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายอาหารทะเลกระป๋อง
และปลาทูน่ากระป๋องภายใต้เครื่องหมายการค้า"PasificPearl" และ"Jonah" ซึ่งตั้งอยู่
ที่เมืองซีแอตเทิล
ผลของการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ทำให้TUFมีเครื่องหมายการค้าสำหรับอาหารทะเลกระป๋องในสหรัฐอเมริกา
เพิ่มขึ้นมาเป็น3แบรนด์จาก ที่เคยมี"ChickenoftheSea"เพียงแบรนด์เดียว
"เราจะขยายฐานการตลาดเพราะCISeafoodsเขามีฐานตลาดในแถบแปซิฟิก ซึ่งจะช่วย
เสริมไลน์สินค้าของเราให้หลากหลาย และตลาดของเราแข็งมากขึ้น"ธีรพงศ์บอกถึงวัตถุประสงค์ของการซื้อกิจการครั้งนี้
ไม่เพียงแต่การขยายการลงทุนในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ภายในประเทศไทยเองTUFก็มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
โดยในเดือนธันวาคม2539TUFได้เข้าไปซื้อทรัพย์สินของบริษัทแอควาสตาร์ ที่จังหวัดสงขลา
และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไทยยูเนี่ยนซีฟูดส์ทำหน้าที่ผลิตกุ้งแช่แข็งส่งออก
เป็นการขยายไลน์ของผลิตภัณฑ์เป็นครั้งแรกจากเดิม ที่เคยเน้นผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าเป็นหลัก
เดือนกันยายน2541TUFได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทสงขลาแคนนิ่ง(SC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าส่งออก
ที่เคยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรเดียวกัน
การเข้าซื้อSCในครั้งนี้ส่งผลให้ยอดรายได้รวม และกำไรสุทธิของTUFเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
จาก ที่เคยทำยอดรายได้รวม13,448.96 ล้านบาท ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็น 18,708.69
ล้านบาท ในปี 2541 และ กำไรสุทธิจาก 801.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,207.86
ล้านบาท
เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว TUF ก็ได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทไทยรวมสิน พัฒนาอุตสาหกรรม
กิจการผลิตปลาทูน่ากระป๋องส่งออกอีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง ไกรสร จันศิริ บิดาของธีรพงศ์
เป็นผู้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2519
ถือเป็นการจัดโครงสร้างกิจการที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ให้มารวมศูนย์อยู่
ที่ TUF เพียงแห่งเดียว
เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เดือนเดียวกันกับ ที่ Tri-Union Seafoods เข้าซื้อกิจการ
CI Seafoods ที่สหรัฐฯในเมืองไทย TUF ก็ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ของบริษัทสยามนำฮง
โปรดัคส์ ผู้ผลิตผัก และผลไม้แปรรูป เพื่อส่งออก โดยได้ตั้งบริษัทไทย ยูเนี่ยนนำฮงขึ้นมา
เป็นผู้ดำเนินธุรกิจแทน
เป็นการขยายไลน์สินค้าเพิ่มขึ้นเป็นครั้ง ที่ 2 หลังจาก ที่ได้เข้าไปซื้อสินทรัพย์ของแอควาสตาร์
แล้วขยายไลน์จากปลาทูน่า ไปสู่การผลิตกุ้งแช่แข็ง เมื่อปี 2539
"นโยบายการขยายตัวของเราคือ การเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ไทย ยูเนี่ยนนำฮงก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง
ที่เข้ากับกลยุทธ์ของเรา คือ หนึ่ง-การขยายผลิตภัณฑ์ สอง-การขยายตลาดให้กว้างขวาง
และสาม-เ ป็นการทำธุรกิจใหม่ๆ" ธีรพงศ์กล่าว
การขยายกิจการของ TUF นับว่าสวนกับกระแสของธุรกิจ ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤติทางการเงินอย่างหนักมาตลอด
3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเข้าไปลงทุนซื้อกิจการในสหรัฐอเมริกา ซึ่งกรณีของบริษัทยูนิคอร์ดเมื่อหลายปีก่อน
นับเป็นบทเรียน ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนชาวไทย เพราะเป็นการซื้อกิจการโดยอาศัยเงินกู้เป็นหลัก
ซึ่งเมื่อถึงที่สุดก็ไม่สามารถแบกรับภาระหนี้สินได้ไหว ต้องขายกิจการต่อไปให้กับนักลงทุนรายอื่น
แต่สำหรับ TUF แล้ว การขยายกิจการแต่ละครั้ง ไม่ได้อาศัยการกู้เงินจากสถาบันการเงิน
แต่นำเงินจากทุนหมุนเวียนภายใน และการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นหลัก
"การตัดสินใจลงทุนแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับเหตุผล 2 ประการ ประการแรก -ธุรกิจ
ที่เราเข้าไปลงทุนเป็นธุรกิจส่งออกเป็นหลัก เพราะจะไม่มีผลกระทบกับธุรกิจในประเทศ
ประการที่สอง-เราต้องดูฐานะการเงินของบริษัท และขนาดของการลงทุนต้องไม่ใหญ่เกินไป
อยู่ในระดับ ที่เราลงทุนได้ ไม่ต้องไปกู้ใคร ซึ่งเป็นแนวทาง ที่เราทำมาตลอด"
ธีรพงศ์กล่าวถึงปัจจัยในการตัดสินใจขยายกิจการ
เดือนเมษายน 2541 หลังจากได้เริ่มเข้าไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาได้เพียงปีเศษ
TUF เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 500 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาท โดยการออกหุ้นใหม่
10 ล้านหุ้น ขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะ ในราคาหุ้นละ 134 บาท ซึ่งเป็นการขายหุ้น
ที่ทำได้ค่อนข้างลำบาก เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจ เนื่องจากประเทศไทยเพิ่งประกาศลอยตัวค่าเงินไปได้ไม่ถึง
1 ปี
แต่ TUF ก็สามารถขายหุ้นจำนวนนี้ได้หมด และได้เงินเข้าบริษัทเป็นจำนวนถึง
1,340 ล้านบาท
"การขายหุ้นครั้งนี้ยากพอสมควร แต่เราก็โชคดี เพราะตอนนั้น เป็นโอกาสของบริษัท
ที่ทำเรื่องการส่งออก นักลงทุน จะมองการลงทุนในบริษัท ที่ทำส่งออก มีรายได้เป็นยูเอสดอลลาร์ทำให้นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจ
และมีความต้องการที่จะเข้ามาลงทุน"
เมื่อ TUF ต้องเข้าไปซื้อกิจการ บริษัทสงขลาแคนนิ่ง (SC) ในอีก 6 เดือนถัดมา
TUF เลือกใช้วิธีการสวอปหุ้นกับผู้ถือหุ้นเดิมของ SC โดยการ เพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นเป็น
770 ล้านบาท ออกหุ้นสามัญใหม่ 17 ล้านหุ้น ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของ SC
ตามอัตราส่วนผู้ถือหุ้น SC 1.7 หุ้น สามารถซื้อหุ้น TUF ได้ 1 หุ้น ทำให้
TUF ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อกิจ การ SC ใน ครั้งนี้
"วิธีนี้ดีที่สุดในช่วง ที่เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยในการใช้เงินสดจำนวนมากๆ
เพราะถ้าสมมุติว่า TUF ต้องใช้เงินสดซื้อ SC ดีลนี้ต้องใช้เงินถึง 2,880
ล้านบาท" ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท
พลัส ที่ปรึกษาในการรวมกิจการของ TUF กับ SC กล่าวกับ "ผู้ จัดการ"
ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว TUF ได้มีการระดมทุนครั้งใหญ่ โดยการออกหุ้นกู้
และหุ้นกู้แปลงสภาพวงเงินรวม 6,000 ล้านบาท พร้อมการออกวอร์แรนต์ ซึ่งจากการขายหุ้นกู้แปลงสภาพล็อตแรก
ทำให้บริษัทสามารถระดมเงินเข้าไปได้แล้วอีก 1,650 ล้านบาท
แนวทางการขยายกิจการ และ การระดมเงิน เพื่อนำมาใช้ในการขยายกิจการของ TUF
ถือเป็นแนวทาง ที่มีความเสี่ยงน้อยมาก ในภาวะ ที่เศรษฐกิจ โดยรวมยังไม่ผ่านพ้นช่วงวิกฤติ
ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลมาจากนโยบาย ที่ถูกวางไว้ตั้งแต่รุ่นของไกรสรผู้เป็นบิดา
ที่มีแนวทางการบริหารแบบอนุรักษนิยม (conser-vative) และถ่ายทอดต่อมายังธีรพงศ์ผู้เป็นลูก
โดยเฉพาะเรื่องการสร้างหนี้ ซึ่งหากไม่มีความจำเป็นจริงๆ แล้ว TUF จะพยายามไม่กู้เงินจากสถาบันการเงินมากนัก
"
ถ้าจำเป็นต้องกู้ จะกู้เข้ามา เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่หากต้องกู้เงินมาล็อตใหญ่ๆ
เพื่อลงทุน ไม่ใช่วิธีการของเรา" ธีรพงศ์บอกกับ "ผู้จัดการ"
สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ TUF ในงบการเงิน ปี 2541- 2542 แสดงออกมาให้เห็นได้ชัดว่าเป็นบริษัท
ที่มีหนี้สินน้อยกว่าเงินกองทุน ถึงครึ่งต่อครึ่ง โดยปี 2541 TUF มีหนี้สินรวม
2,625.19 ล้านบาท ในขณะที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น 4,191.53 ล้านบาท และปี 2542
มีหนี้สินรวม 3,277.39 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 6,182.44
ล้านบาท
จะมีปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรก ที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเพียงปีเดียว
ที่สัดส่วนดังกล่าวเป็นไปในทางตรงข้าม โดยหนี้สินรวมสูงถึง 5,389.97 ล้านบาท
แต่มีส่วนผู้ถือหุ้นเพียง 2,102.97 ล้านบาท
"ช่วงนั้น เรามีหนี้ต่างประเทศอยู่ประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ"
และผลจากการขยายกิจการ ซึ่งกระทำอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้
TUF ได้กลายเป็นผู้ผลิตอาหาร เพื่อการส่งออก ที่มีผลิตภัณฑ์ค่อนข้างหลากหลาย
และมีเครือข่ายการผลิต และการตลาดที่ครบวงจร
ปัจจัยดังกล่าวทำให้ TUF มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในการสร้างยอดขาย
เพราะหากสินค้าตัวใดมีแนวโน้มการขยายตัวดี ก็จะเน้นการผลิตในสินค้าดังกล่าว
แต่หากสินค้าตัวใดมีแนวโน้มในการแข่งขันสูง จนผลตอบแทนจากการลงทุนมีทิศทางลดลง
ก็จะเริ่มลดกำลังการผลิตสินค้านั้น ลง เพื่อลดความเสี่ยง
นับเป็นข้อได้เปรียบของ TUF กว่าบริษัทอื่นๆ ที่ต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปมาก
ในช่วง 3 ปีที่ต้องวนเวียน และเผชิญปัญหาอยู่กับภาวะวิกฤติ จนไม่สามารถก้าวรุกต่อไปได้
< dd>
หลายคนอาจมองว่า TUF โชคดีกว่าบริษัทอื่น ตรง ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก
ซึ่งมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากวิกฤติการเงิน
ที่เกิดขึ้น
บางคนอาจเปรียบเปรยว่าถ้า TUF ไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาทูน่าส่งออก แต่ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
สภาพในทุกวันนี้ อาจจะไม่แตกต่างจากยักษ์ใหญ่ในอดีตอย่างบางกอกแลนด์ หรือกลุ่มยูนิเวสต์
จากยุทธศาสตร์ ที่ TUF เน้นปฏิบัติในช่วงตลอด 4 ปี แสดงให้เห็นได้ชัดแล้วว่าการที่
TUF สามารถก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าอย่างทุกวันนี้ได้ไม่ได้เป็นเพราะโชค
แต่เป็นเพราะนโยบาย conservative ที่ช่วยให้บริษัทไม่พยายามสร้างภาระหนี้สินจำนวนมาก
แม้ตลาดการเงินจะเปิดช่องทางให้
และก้าวการรุกของ TUF ที่สามารถแปรเปลี่ยนวิกฤติ ที่เกิดขึ้น ให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ
นับเป็นการก้าวรุก ที่ถูกจังหวะที่สุด เพราะในขณะที่คู่แข่งทางการค้ากำลังอ่อนล้า
TUF กลับมีความพร้อม ที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า