Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
Kantana The Experienced             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

52 ปีกันตนากรุ๊ป
Kantana Casting หนทางสู่ดวงดาว
Kantana Movie Town
กันตนากรุ๊ป

   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โฮมเพจกันตนา

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
กันตนากรุ๊ป, บมจ.
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
อาร์เอส, บมจ.
บอร์น ออพเปอเรชั่น
มีเดีย ออฟ มีเดียส์, บมจ.
มิก้า มีเดีย
เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์, บมจ.
บรอดคาซไทยเทเลวิชั่น
กันตนาพับลิชชิ่ง
กันตนา ออแกไนเซอร์ และแมนเนจแมนท์
ไทยนคร พัฒนา
IRIM
สู้แล้วรวย
กันตนา มูฟวี่ ทาวน์
กันตนา โมชั่น พิคเจอร์
ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์
จาฤก กัลย์จาฤก
เอ็กซัน บินหะซัน
Entertainment and Leisure




จากคณะละครวิทยุเล็กๆ เมื่อ 52 ปีก่อน วันนี้ กันตนากรุ๊ป กลายเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใหญ่ของเมืองไทย เป็นผู้นำในการนำเอาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับวงการบันเทิง รวมทั้งคิดการใหญ่สร้างกันตนา มูฟวี่ ทาวน์ และมหาวิทยาลัยกันตนา สถาบันด้านการแสดงแห่งแรกของประเทศไทย ประสบการณ์ของบุคลากรที่ถูกบ่มเพาะจนได้ที่ ถูกนำมาใช้กำหนดยุทธศาสตร์ เรื่องราวของ กันตนากรุ๊ป ในยุคนี้ จึงน่าตื่นเต้น เร้าใจ ไม่ต่างกับละครฮิตในช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ เลยทีเดียว

เบื้องหน้าที่เห็นคือ อาณาจักรของกันตนากรุ๊ปในพื้นที่ 11 ไร่ บนถนนรัชดาภิเษก ที่มีเพียง ตึกสูง 5 ชั้น และอาคารหลังเล็กๆ กระจัดกระจาย ไม่มีตึกสูงหรูหรา โอ่อ่า ชนิดต้องแหงนคอตั้ง แต่เบื้องลึกลงไปในสถานที่แห่งนั้น มีทรัพย์สินมูลค่ากว่าพันล้านบาท และที่สำคัญกว่านั้น กันตนา กรุ๊ปยังมีทรัพยากรบุคคลมากมายที่เป็นมูลค่ามหาศาล

กันตนา มีจุดกำเนิดจากคณะละครวิทยุเล็กๆ ของคนในครอบครัว ประดิษฐ์ และสมสุข กัลย์จาฤก เมื่อ 52 ปีก่อน ปัจจุบันคือบริษัททางด้านธุรกิจบันเทิงครบวงจรของเมืองไทย ที่มีพนักงาน กว่า 1,000 คน มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มหลักคือ 1. ธุรกิจผลิตและจัดหารายการโทรทัศน์ 2. ธุรกิจภาพยนตร์และภาพยนตร์โฆษณา 3. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในวงการสื่อบันเทิง และ 4. เมืองภาพยนตร์กันตนา ภายใต้คอนเซ็ปต์ One Town One Stop Service ของธุรกิจทางด้านบันเทิงของไทย

ธุรกิจกล่มที่ 1 คือกลุ่มหลักที่สร้างเม็ดเงินอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจกลุ่มที่ 2 กำลังมีรายได้ที่น่าสนใจ แต่ในขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และอนาคตของภาพยนตร์ไทย ก็ยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่อาจจะมองข้าม ส่วนกลุ่มที่ 3 กันตนากำลังเก็บเกี่ยวรายได้จากผลงานเก่าๆ แม้มีมูลค่าไม่มากนัก แต่ยังสามารถพัฒนา "บุญ เก่า" นี้ ให้มีมูลค่าเพิ่มและเก็บกินได้อีกนาน ในขณะที่กลุ่มที่ 4 คือสิ่งที่ "คิดการใหญ่" ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในวงการบันเทิงบ้านเรา เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัย "ความกล้า" "ใจถึง" และเม็ดเงินจำนวนมากทีเดียว การก้าวไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสานฝันให้เป็นจริง จึงเป็นเรื่องของบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการเงิน "ทรีนิตี้" กำลังทำการศึกษาอยู่อย่างเร่งด่วน

เรื่องราวของกันตนาในยุคนี้ กำลังเริ่มต้นอย่างน่าสนุก เร้าใจ ประสบการณ์จากสมองของ "คน" กำลังถูกผนึกเป็นหนึ่งเดียวกับ "เครื่องมือ" ที่ทันสมัย และกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้กันตนาก้าวไปสู่ยุคใหม่อย่างรวดเร็ว จะเป็นอย่างไรต่อไป โปรดติดตาม

ในปี 2545 รายได้รวมทั้ง 4 กลุ่มหลักของกันตนา ประมาณ 2,079 ล้านบาทนั้น รายได้หลักมาจากการผลิต และจัดหารายการป้อนสถานีโทรทัศน์ช่อง 5, 7, 9 และไอทีวี ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 30 รายการต่อเดือน มีช่วงเวลาในการขายโฆษณาประมาณ 695 นาทีต่อเดือน และ หากขายได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เม็ดเงินรายได้จากจุดนี้จะสูงถึง 138 ล้านบาทต่อเดือน

กันตนาทำรายการป้อนให้ช่อง 7 มากที่สุดสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ช่อง 9 28 เปอร์เซ็นต์ ช่อง 5 20 เปอร์เซ็นต์ และไอทีวีอีก 12 เปอร์เซ็นต์

แม้กันตนาไม่ใช่เจ้าใหญ่ที่สุดในการผลิตรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ โดยยังเป็นรองค่ายอื่นๆ เช่น มีเดีย ออฟ มีเดียส์ และแกรมมี่ แต่เป็นค่ายที่ยึดครองเวลาในช่วงไพร์มไทม์ (5 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม) มากที่สุด ตัวเลขจากกันตนาระบุว่า มีประมาณปีละ 500 ชั่วโมง หรือเดือนละประมาณ 48 ชั่วโมง

ละครทีวีคือหัวใจในการสร้างชื่อเสียงของกันตนา ให้เป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่ในประเทศ โดยเฉพาะการได้ช่วงเวลาดีหลังข่าวของช่อง 7 ที่มีเครือข่ายครอบคลุม ไปทุกพื้นที่ของเมืองไทย ปัจจุบันละครหลังข่าวของช่อง 7 สี นั้น ผลิตโดยบริษัทกันตนา ประมาณ 5 วันใน 7 วัน กันตนาผลิตละครป้อนให้กับช่อง 7 และช่อง 5 เป็นหลัก เพิ่งขยับทำให้ช่อง 9 ในปี 2544 และไอทีวี เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมานี่เอง

ละครยังเป็นธุรกิจฐานรากสำคัญที่เติบโตแตกยอดผลิใบอย่างต่อเนื่องจนเป็นต้นไม้ใหญ่ในปัจจุบัน แต่ ไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตให้กับทางสถานี ไม่ได้ขายเวลาในการโฆษณาเอง รายได้ที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เป็นเม็ดเงินกำไรที่มากมายนัก แต่ ในการผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งทำให้ช่อง 5 3 รายการ ช่อง 7 10 รายการ ช่อง 9 5 รายการ และไอทีวีอีก 3 รายการนั้น กันตนาจะเป็นผู้บริหารเวลาในการขายโฆษณาทั้งหมด

สัดส่วนในการผลิตละคร ช่วงปีหลังๆ ของกันตนาจะค่อยๆ ลดลง ในขณะที่รายการโทรทัศน์ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ในปี 2546 มีละครที่กันตนารับจ้างผลิตและกำลังออกอากาศในช่วงปีแรกเพียง 2 เรื่องคือ คุณแจ๋ว กะเพราไก่คุณชายไข่ดาว และเกล็ดมรกต โดยกำลังเตรียมเปิดกล้องเรื่องใหม่อีก 4 เรื่องคือ เจ้าสาวสาละวัน, แดนซ์ ไม่เซ่อเลยเจอรัก มิตรรักนักแช็ท และเจ้าบ่าวโค้งสุดท้าย

ส่วนละครที่ผลิตเอง และขายเวลาเอง ก็มีเพียง 2 เรื่องเช่นกัน ทางช่อง 5 คือ เรื่องกษัตริยา ซึ่งทางผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะรักษาเวลานี้เอาไว้เพื่อผลิตละคร อิงประวัติศาสตร์ สร้างจิตสำนึกในเรื่องความรักชาติ รักแผ่นดิน อีกเรื่องหนึ่งคือ ละครแนววาไรตี้ เรื่องพ่อบ้าน เมียเผลอ ทางช่องไอทีวี

"กันตนายังต้องทำละครต่อไปแน่นอน เพราะมัน คือส่วนที่สร้างชื่อเสียงให้เราเป็นที่รู้จักในวงการ และที่สำคัญมันได้สร้างศิลปินใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในบ้านเราอย่างต่อเนื่องด้วย มันเป็นงานที่กันตนาทำตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา" จาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร อธิบาย

การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง เป็นเรื่องที่กันตนาให้ความสำคัญ มาโดยตลอดและในปีที่ผ่านมา ฝ่าย Casting ได้ขยายเป็น Kantana Casting Center จัดทำ หลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจภายนอกได้เข้ามาศึกษาด้วย (อ่านเพิ่มเติมใน Kantana Casting Center)

เหตุผลหนึ่งในการเคลื่อนย้ายแหล่งสร้างเม็ดเงินจากละครมาป็นรายการโทรทัศน์ เพราะในระยะหลังนี้กันตนาได้มีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก การตัดต่อด้วยเทคนิคพิเศษ และเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัย ของบริษัท Post Production ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้จะช่วยเสริมในเรื่องการทำรายการให้มีสีสัน และรูปแบบที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น

การขยับออกมายึดฐานที่มั่นแห่งใหม่ และช่วงชิง ความเป็นผู้นำในการผลิตรายการโทรทัศน์คือ เป้าหมาย ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปี

แต่ก็ใช่ว่าหนทางใหม่นี้จะง่ายไปหมดเสียทีเดียวการแข่งขันในเรื่องรูปแบบรายการโทรทัศน์เอง นับวันจะรุนแรงขึ้น ค่ายต่างๆ ในวงการ ไม่ว่าจะเป็นมีเดียออฟ มีเดียส์, แกรมมี่, อาร์เอส, บรอดคาซไทยเทเลวิชั่น, โพลีพลัส, เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์, บอร์น ออพเปอเรชั่น ล้วนแล้วแต่พยายามจะปักธงเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์รายการใหม่ ทั้งคิดเอง เลียนแบบ หรือก๊อบปี้ รายการจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา

จุดแข็งของกันตนากรุ๊ปที่ผ่านมาคือ การไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่แต่พยายามหารูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในจอแก้วของเมืองไทยตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทำรายการ "โลกกว้างทางแคบ" ในปี 2525 ชุดเรื่องกินเรื่องใหญ่ ซึ่งเป็นสารคดีสั้น 1-3 นาที รายการแรกๆ ของเมืองไทย เกมโชว์แนวแอคชั่น และรายการ "นาทีประลองยุทธ์" รายการควิซโชว์รายการแรกของเมืองไทย

ในปี 2538 กันตนายังสร้างนวัตกรรมให้กับวงการ บันเทิงไทยด้วยการนำเสนอรายการ HUGO เกมโชว์ Interactive เปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านได้เข้ามาร่วมรายการได้เป็นรายการแรก และรายการนั้นได้สร้างบทเรียนราคาแพงให้กับกันตนา

รายการดี แต่ไทม์มิ่งไม่ดี เมืองไทยในเวลานั้นยังไม่พร้อมในเรื่องระบบโทรศัพท์ เพราะปรากฏว่ารายการ นั้นทำให้ชุมสายโทรศัพท์บางย่านใช้การไม่ได้ถูกคนโทรมาต่อว่า จนทางกันตนาต้องไปขอตั้งชุมสายใหม่หมดเงินไปกว่า 10 ล้านบาท

ในปี 2542 ได้นำเสนอรายการประเภท Real TV เป็นรายการแรกในชื่อ เรื่องจริงผ่านจอ และปี 2545 ได้ไปซื้อรายการใหม่ Survivor เข้ามาฉายในเมืองไทย

ในช่วงบ่ายของวันเสาร์ และอาทิตย์ จะว่าไปแล้ว ไม่ใช่ช่วงเวลาทองของช่อง 7 แต่กันตนาสามารถทำให้รายการ "คดีเด็ด" เป็นรายการยอดฮิต เรตติ้งสูงสุดของ กันตนาติดต่อมาหลายปี เป็นรายการที่ดูง่ายๆ มีเสน่ห์ตรงตัวนักแสดง แสดงได้เป็นธรรมชาติ และยังเป็นรายการที่สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับตำรวจไทย ที่สำคัญรายการนี้ยังสามารถขายโฆษณาได้สูงถึงนาทีละ 200,000 บาททีเดียว

นโยบายในการทำรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์เป็นนโยบายหลักของกันตนามานาน แต่เพื่อการขยายกลุ่มคนดูให้กว้างขึ้น รายการบันเทิงอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามา เช่น ป๊อก ป๊อก โชว์ และบุปผาสวรรค์ แต่ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

ความเป็นผู้นำในเรื่องเทคโนโลยี ความพร้อมในการจัดหารายการ โดยผู้มีความชำนาญในรายการแต่ละ ประเภท เพื่อเตรียมนำออกอากาศได้ทันทีหากสถานีโทรทัศน์ต้องการ จะเป็นตัวพิสูจน์ว่ากันตนาจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำอย่างแท้จริงหรือไม่

นอกจากการผลิตรายการโดยบริษัทเองแล้วในสายงานนี้ กันตนายังไปเพาะพันธุ์รายการใหม่ๆ ร่วม กับกลุ่มอื่นอย่างต่อเนื่อง เช่น ในบริษัท IRIM ซึ่งกันตนาถือหุ้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ผลิตรายการคดีเด็ด และ ป๊อก ป๊อก โชว์ บริษัทสู้แล้วรวย ร่วมกับดำรง พุฒตาล ร่วมทุนกับบริษัทไทยนคร พัฒนา ตั้งบริษัทมิกก้า มีเดีย ดำเนินการบริหารสถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมรภูมินทร์ ช่อง 5 ซึ่งเป็นช่องที่มีเรตติ้งอันดับ 1 ของประเทศกัมพูชา และยังวางแผนผลิตละครโทรทัศน์และรายการต่างๆ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ วีทีวี ของเวียดนาม

การไปร่วมทุนในบริษัทต่างๆ ที่มีวัฒนธรรมองค์กรต่างกัน สิ่งที่กันตนาจะได้กลับคืนมาก็คือ ทำให้มีรายการที่หลากหลายออกไป

และที่น่าสนใจอย่างมากๆ ก็คือ การไต่ระดับของรายได้ในกลุ่มธุรกิจที่ 2 ทางด้านภาพยนตร์ และภาพยนตร์โฆษณา ตัวบริษัทที่น่าสนใจในกลุ่มนี้คือ กันตนา แอนนิเมชั่น ซึ่งมีพนักงานที่มีประสบการณ์สูงในสายงานของฟิล์มแล็บ ซาวด์แล็บ คอมพิวเตอร์กราฟิก ผลิตเสียงภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดตั้ง Oriental Post เมื่อปี 2541 โดยร่วมทุนกับบริษัทล็อกซเล่ย์ วิดีโอโพสท์ เพื่อให้บริการสร้างสรรค์งาน High-End Post Production เป็นขั้นตอนในการตัดต่อและจัดทำเทคนิคพิเศษด้วยศักยภาพสูงสุด

ห้องเสียงกันตนาให้บริการบันทึกเสียง ตัดต่อเสียง และมิกซ์เสียง ด้วยมาตรฐานระบบเสียงดิจิตอล เป็นผู้บุกเบิกทางด้านการมิกซ์เสียงระบบ Surround แห่งแรกของไทย โดยได้รับสิทธิในการบันทึกเสียงระบบ Dolby SRD เป็นแห่งแรกในเอเชีย

สิ่งที่จะกำหนดคุณภาพของหนังแต่ละเรื่องว่า ยิ่งใหญ่สมราคาคุยหรือไม่ คือ ความผูกพันในขั้นตอน การล้าง และพิมพ์ฟิล์ม

Warners Brothers และ Twenty Century Fox คือ ลูกค้ารายใหญ่เจ้าประจำที่มาใช้บริการในเรื่องการพิมพ์ฟิล์ม ทำซับไตเติ้ลภาษาไทย รวมทั้งเคยได้รับความไว้วางใจจาก Lucas Flim. ให้เป็น 1 ใน 7 ของโลก ที่พิมพ์ฟิล์ม Star Wars Episode 1 อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก Lucas Film ให้เป็นผู้บันทึกเสียงภาษาไทย 1 ใน 17 ภาษาทั่วโลก สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้อีกด้วย

เอ็กซัน บินหะซัน ผู้อำนวยการกันตนา กรุ๊ป ยืนยันให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ภาพยนตร์ไทยระดับแนวหน้าทุกเรื่อง และบริษัทภาพยนตร์จากฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน คือ ลูกค้าของที่นี่ รวมแล้วจะมีภาพยนตร์เข้ามาทำขั้นตอนต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 เรื่องต่อปี เช่นเดียวกับภาพยนตร์โฆษณาที่มีการถ่ายเป็นฟิล์มอยู่นับ 100 เรื่องในเมืองไทยนั้น จำนวน 90 เปอร์เซ็นต์จะถูกส่งมาล้างฟิล์มที่นี่เช่นกัน

เมื่อปี 2544 กันตนาได้ทุ่มทุนไป 50 กว่าล้าน เพื่อสร้างโรงหนังที่มีระบบสมบูรณ์แบบเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในปีนี้ยิ่งตอกย้ำวิธีคิดในการเป็นผู้นำทางด้าน Post Production ด้วยการทุ่มทุนกว่า 100 ล้านบาท ซื้ออุปกรณ์ Spirit Data Cine จากประเทศ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเครื่องแปลงสัญญาณภาพฟิล์มเป็นสัญญาณวีดีทัศน์ดิจิตอล ที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับฟิล์ม ภาพยนตร์มาตรฐานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น 16 mm Super 16 mm 35 mm หรือ Supper 35 mm รวมทั้งสามารถแปลงสัญญาณไปอยู่ในรูปแบบใดๆ ก็ได้ตาม ความต้องการ ตั้งแต่สัญญาณวีดีทัศน์ปกติ สัญญาณวีดีทัศน์ความละเอียดสูง ไปจนถึงข้อมูลดิจิตอลความละเอียดสูงสำหรับฟิล์มภาพยนตร์ ขนาด 2K Oriental Post ได้ติดตั้งระบบนี้เข้ากับระบบเดิมของบริษัทไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 ที่ผ่านมา

อุปกรณ์ Da Vinci 2K Plus จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเครื่องปรับแต่งสีระบบดิจิตอลความละเอียดสูง สามารถปรับแต่งสีนับล้านเฉด โดยมีระบบกำจัดสัญญาณรบกวนบนเนื้อภาพ และอุปกรณ์ Inferno Version 5.0 จากประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นเครื่องมือประกอบสร้างเทคนิคพิเศษระบบดิจิตอล

"เครื่องมือใหม่จะเปลี่ยนรุ่นไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ไม่ใช่ ปัญหาของกันตนา มีเงินก็ซื้อ แต่เราอาจจะซื้อก่อนคนอื่น เพราะเรามีโนว์ฮาวทางด้านเทคโนโลยี แต่คนเป็น เรื่องที่ผมต้องมานั่งคิดว่าจะสร้างคนอย่างไร ปีหนึ่งๆเราจึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศมาสอนพนักงานมิกซ์เสียงอย่างน้อย 6 เดือน ใน Oriental Post มีการจ้างชาวต่างชาติเงินเดือนสูงๆ เข้ามา แล้วเราเอาคนของเราไปฝึกส่วนหนึ่ง คือทำงานให้ลูกค้า ส่วนหนึ่งก็ฝึกคนของเราเอง รวมทั้งส่งคนไปเรียนรู้ ไปอบรมในต่างประเทศตลอดเวลา ตอนนี้เราอาจจะแค่ดูความเหมาะสมว่าใครเหมาะที่จะเรียน ไปอบรมเพิ่มเติมก็ส่งไป แต่ต่อไปเราจะเซ็ตให้เป็นระบบมากขึ้น" จาฤก อธิบายถึงวิธีคิดของเขา

เครื่องมือและอุปกรณ์ ระดับ High-End มีประสิทธิ ภาพสูงสุดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และบุคลากรกว่า 70 คน ทั้งฝ่ายบริการลูกค้า และทีม Creative Editors, Designer, Producers, Artists และ Technicians เมื่อได้มาผนึกกำลังทำงานร่วมกัน โจทย์ทุกอย่างที่ลูกค้าให้มาก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากอีกต่อไป

หากเป็นไปตามที่ผู้บริหารกันตนาคาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจโฆษณาจะดีขึ้น และตลาดหนังไทยไม่มีวันตาย รายได้ที่มาจากกลุ่มธุรกิจนี้ก็น่าจะไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

ในปี 2545 ที่ผ่านมา Oriental Post สร้างรายได้ ประมาณ 120 ล้านบาท เป็นรายได้จากธุรกิจภาพยนตร์ 15 เปอร์เซ็นต์ จากงานโฆษณา 70 เปอร์เซ็นต์ และงาน จากลูกค้าต่างประเทศ 15 เปอร์เซ็นต์

ประสบการณ์ที่ได้จากงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก จากเดิมที่ได้ใช้หลักๆ ในงานของหนังโฆษณา ซึ่งมีมากบ้างน้อยบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ ก็กำลังมีการขยับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน ทีมงานที่มีอยู่ประมาณ 40 คน ได้รับคำสั่งให้รับเพิ่มอีก 40 คน เพื่อเตรียมทำการ์ตูนซีรีส์เรื่องใหม่ คือ "ซน"และ "ช้างก้านกล้วย"

ซน เป็นเรื่องราวของเด็ก 7 คนที่อยู่ในซอยเดียวกัน แต่ละคนมีคาแรคเตอร์แตกต่างกัน แต่ละตอนจะเป็นเรื่องราวสนุกสนานของเด็กแต่ละคน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการถ่ายทำ มีทั้งหมด 52 ตอน

ช้างก้านกล้วย เป็นเรื่องราวของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเป็นเรื่องราวของการตามหาพ่อ ซึ่งเป็นช้างทรงเช่นเดียวกัน เป็นเรื่องราวการผจญภัยที่มีสีสัน สนุกสนาน

การ์ตูนทั้ง 2 เรื่องจะเป็นทางเลือกใหม่ของเด็กไทยที่จะสามารถเลือกดูภาพยนตร์การ์ตูนได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันจะเป็นการท้าทายทีมงานหนุ่มสาวหน้าใหม่กลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน ว่าจะสามารถผลิตการ์ตูนขึ้นมา "โดนใจ" ได้หรือไม่

กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ อีกบริษัทหนึ่งของกลุ่มธุรกิจนี้ก็กำลังเดินเครื่องสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่ กำหนดเปิดกล้องปลายปี 2546 นี้ในเรื่อง "คนไทยทิ้งแผ่นดิน" แนวคิดใหม่ในการทำภาพยนตร์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ของกันตนา กลุ่มนี้เคยสร้างภาพยนตร์ไทยมาหลายเรื่องเช่น เพชรตาแมว, แม่เบี้ย, วิมานมะพร้าว, และเรื่องที่ใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายทำคือ กาเหว่าที่บางเพลง ส่วนเรื่องสุดท้ายที่สร้างคือ "ท้าฟ้าลิขิต" ผลงานการกำกับ จากทีมงานเก่าแก่ที่มากด้วยฝีมือคนหนึ่งของกันตนาคือ ออกไซด์ แปง

งานใหม่ของกันตนากำลังถูกวางแผนรุกไปข้างหน้า ในขณะเดียวกัน ผลงานเก่าๆ ทั้งหมดที่เคยเป็นทรัพย์สินทางปัญญาตลอดระยะเวลายาวนานกำลังถูกบริหารจัดการ สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับวางแนวทางในการบริหารในเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ หลายบริษัทจึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับทรัพย์สินเหล่านี้ เช่น บริษัทกันตนาพับลิชชิ่ง นำเอารายการดังต่างๆ มารวมเล่มเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค เช่น คดีเด็ด สู้แล้วรวย ละครเรื่อง กษัตริยา รวมทั้งลงแผ่น VCD มีบริษัท Artemeis Records ดูแลเรื่องที่เกี่ยวกับเพลง รวมทั้งนำเอาประสบการณ์และกำลังคนที่มีอยู่ตั้งบริษัทกันตนา ออแกไนเซอร์ และแมนเนจเมนท์ ปี 2002 รับจัดงานใหญ่ เช่น แม่น้ำของแผ่นดิน หรืองานสำคัญต่างๆ

จาฤกอธิบายโมเดลการโตแล้วแตก แตกแล้วโต ของกันตนากรุ๊ปไว้ชัดเจนว่า "อย่างเช่น ธุรกิจกลุ่มที่ 3 เป็นธุรกิจที่เราเพาะขึ้นมาจากธุรกิจ 1 กับ 2 ก่อน พอมันเริ่มโตขึ้นก็เอามาใส่ในกลุ่ม 3 พอกลุ่ม 3 โตขึ้นอีกก็แยกตั้งเป็นบริษัทได้อีก เช่น บริษัทพับลิชชิ่ง หากสามารถทำเงินเป็น 100 ล้านบาทในอนาคต เราก็อาจจะต้องตั้งบริษัทแยกขึ้นไปอีก กลายเป็นธุรกิจกลุ่มที่ 5 ออกมา"

รายได้ทั้งหมดของส่วนงานที่เกี่ยวข้องนี้กำลังถูกเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยแทบจะไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม พร้อมๆ กับการคิดการใหญ่ของกันตนากรุ๊ป

ในปี พ.ศ.2546 นี้ จะเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญของกลุ่มนี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้บริหารประกาศเตรียมพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน สร้างโครงการ "Kantana Movie Town" ภายใต้คอนเซ็ปต์ One town One Stop Service

กันตนา มูฟวี่ ทาวน์ ประกอบไปด้วยโครงการหลักๆ คือ เมืองภาพยนตร์จำลอง สตูดิโอขนาดยักษ์ ฟิล์มแล็บ และซาวด์แล็บ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกันตนากรุ๊ป และมหาวิทยาลัยกันตนา (อ่านเพิ่มเติมในเรื่องประกอบ Kantana Movie Town)

โครงการมหาวิทยาลัย ที่มุ่งเน้นให้ความรู้ทางด้านผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์นั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่กันตนาต้องการทำมานาน แต่ยังไม่มีความพร้อม ทั้งที่ในความเป็นจริง ที่นี่เปรียบเสมือนสำนักตักศิลาทางด้านธุรกิจบันเทิงมานาน มีผู้คนมากมายที่ไปเติบโตในบริษัทต่างๆ ความตั้งใจที่จะสร้างเป็นสถาบันอย่างเป็นระบบจึงมีมาตลอดตั้งแต่สมัยประดิษฐ์ ผู้เป็นพ่อยังมีชีวิตอยู่

"กันตนาแข็งแรงพอที่ก้าวเดินไปอย่างช้าๆ และแข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่ที่เข้า เพราะเรามองไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางหรือทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมหนังไทยในอนาคต เราจึงอยากทำในเรื่องของมูฟวี่ ทาวน์ แต่พอทำตรงนี้มันต้องลงทุนหลายร้อยล้าน ก็มองว่า ถ้าเราจะลงไปเต็มตัวต้องทำเป็นโครงการให้สมบูรณ์แบบ ไปเลยน่าจะดีกว่าทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมนี้กำลังขาดคนอย่างมาก"

จาฤกให้เหตุผลในเรื่องการเข้าตลาดฯ กับ "ผู้จัดการ" และเขาคาดว่าน่าจะสามารถทำการซื้อขายหุ้นได้ในปลายปีนี้ หรือประมาณต้นปี 2547

ความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของ กันตนากรุ๊ป ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนในวงการหันมามองการทำงานของกลุ่มนี้อย่างไม่กะพริบตา แต่ยังทำให้นักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศ จับตามองบริษัททางด้านธุรกิจบันเทิงของไทยกลุ่มนี้เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us