Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
KTC ต้นแบบการแปรรูปบริษัทในเครือ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

New Culture Character Strategy
Outsource & Privatization แนวทางการลดต้นทุน
Dual Banking System ยุทธศาสตร์ระดับโลก
CBS โครงการที่จะทำให้ฝันขอวิโรจน์เป็นจริง
GFMIS : The Big Project

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ เคจีไอ (ประเทศไทย)

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส - AMEX
บัตรกรุงไทย, บมจ.
เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.
วิโรจน์ นวลแข
หทัยพร จิรจริยาเวช
Credit Card




เพียงแค่ 6 ปี บัตรกรุงไทยสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำ ในธุรกิจบัตรเครดิต แซงหน้าซิตี้แบงก์ ยักษ์ใหญ่ ลงอย่างราบคาบ นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ของธนาคารกรุงไทยที่แปรรูปบริษัทลูกนี้ออกไป

 

นับตั้งแต่วันแรกที่ นิวัตต์ จิตตาลาน ผู้มีประสบการณ์จากการสร้างบัตรเครดิตอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ในประเทศไทยจนมีความแข็งแกร่งและมีสมาชิกผู้ถือบัตรทะลุ 1 แสนใบ เข้ามารับหน้าที่กรรมการผู้จัดการ บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) ช่วงปลายปี 2539 เพื่อมาจัดโครงสร้างองค์กรนี้ให้อยู่ในรูปบริษัท หลังจากเป็นเพียงแค่หน่วยธุรกิจหนึ่งของธนาคาร กรุงไทย

บรรยากาศขณะนั้นเขารู้สึกตกใจกับตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธุรกิจบัตรเครดิต 3,000 ล้านบาท และมีสมาชิกบัตรเครดิตแค่ 70,000 ใบ "สาเหตุมาจากไม่มีการดำเนินกิจการอย่างจริงจัง เพราะแค่ปี 2536 ปีเดียวพวกเขามี NPLs เกือบ 300 ล้านบาท และมีมิจฉาชีพโกงบัตรเครดิต 18 ล้านบาท" นิวัตต์เล่า

หลังจากเขาเห็นสภาพของการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว ภารกิจแรกคือ หยุดปัญหา NPLs ขณะเดียวกันพยายามเก็บเงินเข้ามาให้ได้มากที่สุดอย่างน้อย 25% ของหนี้ทั้งหมด "ผมใช้เวลา 5 ปีสามารถเก็บหนี้ได้ 50%"

นอกจากนี้นิวัตต์ยังจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะการจัดการด้านการปฏิบัติงาน พร้อมๆ กับเปลี่ยนนโยบายอำนาจการตัดสินใจมาไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการควบคุมต่อกระบวนการทำงาน

"เพียงแค่ 3 ปีแรก พวกเราจัดการทุกอย่างเสร็จสิ้นและสามารถออกไปแข่งขันได้ แต่ก็ทำงานท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่ก็เจ็บตัวน้อยที่สุดจากนโยบายเข้มงวดเพื่อลดความเสี่ยง"

อย่างไรก็ตาม หลังจากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจบัตรกรุงไทยยังรับจ้างบริหารบัตรเครดิตให้กับธนาคารกรุงไทยเหมือนเดิม ทำให้อำนาจการตัดสินใจยังคงอยู่กับบริษัทแม่

"พวกเราดำเนินธุรกิจเพื่อแข่งขันตามแนวทางที่พวกเขาจะสามารถรับได้" นิวัตต์ เปิดเผย "ความสามารถเชิงการแข่งขันจึงถูกกำหนดจากขอบเขตหรือวัฒนธรรมจากธนาคารกรุงไทยและจากผู้ที่มีอำนาจเป็นหลัก"

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทยในขณะนั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 13% และรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมในการบริหารเพียงอย่างเดียว โดยมีกำไรประมาณ 1 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น

กระนั้นก็ดี ความโดดเด่นของการดำเนินงานสะท้อนออกมาจากจำนวนสมาชิกผู้ถือบัตรเมื่อบริษัทฉลองการออกบัตรครบ 1 แสนใบในปี 2542 นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนิวัตต์ในการก้าวเดินไปข้างหน้า

"เวลาทำอะไรที่เริ่มจากติดลบแล้วประสบความสำเร็จมีความภูมิใจอย่างมาก เป็นความท้าทายและสนุก โดยสิ่งที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่เริ่มแรกเรียกว่า Creation ซึ่งต้องสร้างเองทั้งหมด"

ด้วยบุคลิกที่กระตือรือร้นพร้อมมุ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของนิวัตต์ ส่งผลให้ธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทยเริ่มถูกจับตามองจากคู่แข่งมากยิ่งขึ้นจากความแข็งแกร่งของกิจการ

ความกังวลของคู่แข่งเริ่มปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่องและเป็นจริงเมื่อวิโรจน์ นวลแข เข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 และมีนโยบายแปรรูปบริษัทในเครือออกทั้งหมดด้วยการลดสัดส่วนการถือหุ้นลง

"เดือนมกราคมปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบคุณวิโรจน์เพื่อเสนอแผนการทำงาน เขาบอกว่าอยากเห็นธุรกิจบัตรเครดิตแปรรูป ซึ่งผมบอกว่าขอเวลา 3 เดือน" นิวัตต์เล่า "ผมกลับไปหาคุณวิโรจน์อีกครั้งในเดือนมีนาคม เขาบอกว่า นอกจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ยังต้องการเป็นผู้นำตลาดบัตรเครดิตอีกด้วย และเดือนถัดมาคณะกรรมการธนาคารอนุมัติแผนการแปรรูป พวกเราก็ดำเนินการทันที"

หลังจากบริษัทกระโดดออกมาดำเนินธุรกิจด้วยตัวเอง โดยธนาคารกรุงไทยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 49% ส่งผลให้อำนาจการดำเนินงานมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และจากความต้องการเป็นผู้นำธุรกิจ การยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับบัตรเครดิตกรุงไทยทุกประเภทโดยไม่มีเงื่อนไขจึงถูกนำมาใช้

ผลลัพธ์จากช่วงปลายปี 2544 บริษัทมีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิต 1.71 แสนใบ ถัดมาอีก 6 เดือนตัวเลขกระโดดไปอยู่ระดับ 2.57 แสนใบ และสิ้นเดือนกันยายน 2545 เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกเลิกเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำในการสมัครสมาชิกบัตรเครดิต ส่งผลให้มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนใบ

"ช่วงที่ผ่านมาจำนวนบัตรเครดิตของบัตรกรุงไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากฐานที่เล็กในช่วงแรก แต่อีกเหตุผลเกิดจากการวางกลยุทธ์การทำงานของตนเอง" หทัยพร จิรจริยาเวช นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) บอก

จากการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา แต่เดือนถัดมา ธปท.เปลี่ยนกฎเกณฑ์ด้วยการคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิตทำให้อัตราการเติบโตชะลอตัวลง โดยสิ้นปีสมาชิกบัตรเครดิต 6 แสนใบ ปัจจุบันตัวเลขขยับขึ้นมาเป็นประมาณ 6.5 แสนใบ แต่ก็เพียงพอที่จะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งแทนที่ซิตี้แบงก์ที่ครองตลาดนี้มายาวนาน

ปัจจัยสำคัญทำให้บัตรกรุงไทยโดดเด่นและกลายเป็นผู้นำในตลาดบัตรเครดิตหนี ไม่พ้นการวางสถานะของตนเองเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อและการเงินเพื่อการบริโภคเต็มรูปแบบ หรือ Total Consumer Provider และเพื่อขยายฐานลูกค้า จึงนำกลยุทธ์ราคาและบริการที่รวดเร็ว รวมถึงความสะดวกมานำเสนอ

"การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการจัดกิจกรรมการตลาดก่อให้เกิดปฏิวัติการตลาดในวงการบัตรเครดิต เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานรูปแบบใหม่" นิวัตต์เล่า "อีกทั้งยังสร้างฐานการตลาดให้กว้างขวางและแข็งแกร่งขึ้น"

ปัจจุบันบัตรกรุงไทยเป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปีและแรกเข้ากับลูกค้า ขณะที่คู่แข่งต้องแสวงหาวิธีการคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปจากกฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติ

"ความแตกต่างของเรากับคู่แข่งอยู่ที่ราคา ด้วยคุณภาพที่เท่ากัน" นิวัตต์บอก

กลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ถือบัตรเครดิตแห่งอื่นหันมาถือบัตรของบัตรกรุงไทยมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมายที่ผู้ประกอบการคิดค้นขึ้นมา พวกเขาจึงได้รับประโยชน์อย่างมาก

"ผมต้องการสร้างองค์กรให้ใหญ่และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นพวกเราจึงไม่ได้มองการตลาดเป็นหลัก แต่เน้นการสร้างแบรนด์ที่ครอบคลุมทุกๆ ด้าน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us