Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤษภาคม 2551
อสมทเดินหน้าเพิ่มรายได้งัดทีวีมือถือรับพรบ.ฯคลอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ อสมท.

   
search resources

วสันต์ ภัยหลีกลี้
TV
อสมท, บมจ.




อสมท จับมือ 3 พันธมิตร สยามพิวรรธน์ แมคพายฯและเอสเค เทเลคอม เดินหน้าทดลองดิจิตอลทีวีบนมือถือ หรือ DVB-H ดีเดย์ 12 พ.ค.นี้ หวังเพิ่มรายได้เข้ากระเป๋า ผ่านการใช้บริการเป็นค่าสมัครสมาชิก, ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายต่อเมื่อมีการใช้บริการ (Pay per view) หลังพรบ.จัดสรรคลื่นความถี่คลอด

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ อสมท ได้เซ็นสัญญาร่วมมือกับทั้ง 2 พันธมิตร คือ บริษัท แมคพาย แอดวานซ์ ซัพพลาย จำกัด (MAS) และบริษัท เอสเค เทเลคอม จำกัด ประเทศเกาหลี เปิดการทดลองระบบกระจายภาพและเสียงในระบบดิจิตอลสำหรับอุปกรณ์รับสัญญาณบนมือถือ ในระบบดิจิตอล DVB-T หรือสัญญาณสำหรับจอภาพมาตรฐาน เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งบรรลุไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วนั้น

ล่าสุดทางบริษัทฯได้เดินหน้าทดลองโครงการดังกล่าวต่อ โดยการร่วมกับทาง บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของอาคารสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอร์รี่ ในการทดลองติดตั้งระบบ DVB-H ที่อาคารสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการทดลองประมาณ 2 เดือน โดยช่วงแรกจะเน้นผลการทดสอบทางด้านเทคนิคและความพึงพอใจต่อบริการเป็นหลัก และในช่วงที่ 2 จะเริ่มทดลองออกอากาศด้วยเนื้อหารายการแนวต่างๆ เพื่อทำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยตลาด และศึกษาพฤติกรรมเพื่อเตรียมเนื้อหารายการที่สอดคล้องนำเสนอต่อไป

สำหรับการทดลองระบบครั้งนี้จะสามารถทำเป็นเชิงธุรกิจได้ และจะสร้างรายได้เพิ่มให้กับ อสมท. อีกทางหนึ่ง และต่อยอดให้กับคลื่นความถี่ที่มีอยู่ โดย 1 คลื่นความถี่สามารถจัดสรรเป็นช่องได้ถึง 15 ช่อง ซึ่งที่ผ่านมา อสมท.ได้เปิดให้บริการรับชมทีวีทั้งหมดจำนวน 4 ช่อง ได้แก่ ช่องโมเดิร์นไนน์, ช่องเอ็มคอท 1 เป็นรูปแบบรายการข่าว, เอ็มคอท 2 เป็นรูปแบบรายการวาไรตี้ และช่องกิจกรรม และสามารถรับฟังคลื่นวิทยุ 2 ช่องจากทางสถานีอสมท. ได้แก่ 97.5 ซีดเอฟเอ็ม และ 99.0 เอฟเอ็ม ส่วนพื้นที่ที่สามารถใช้บริการได้นั้น จะอยู่บริเวณอาคารสยามเซ็นเตอร์ และพื้นที่ใกล้เคียงบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)

“ระบบดังกล่าว จะเปิดให้บริการเชิงทดลองในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ซึ่งทาง อสมท. ส่วนการให้บริการเชิงพาณิชย์นั้นต้องขึ้นอยู่กับทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คาดว่าในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ พระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่น่าจะแล้วเสร็จ และจะสามารถประกาศใช้ได้ช่วงต้น-กลางปี 2552 นี้ ส่วนรายได้ที่จะได้รับนั้น จะมาจากค่าสมัครสมาชิก, ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายต่อเมื่อมีการใช้บริการ (Pay per view)

สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการ ทางอสมท. จะเป็นผู้รวบรวมคอนเทนต์เพื่อนำเสนอ ในขณะที่ทางแมคพายจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทางเทคนิคในการติดตั้ง และทางเอสเค จะเป็นผู้ที่ให้ความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านระบบกระจายภาพและเสียงในระบบดิจิตอลสำหรับอุปกรณ์รับสัญญาณบนมือ

นายสมมาศ เลิศวัฒนกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมคพาย แอดวานซ์ ซัพพลาย จำกัด (MAS) กล่าวว่า การติดตั้งอุปกรณ์ระบบกระจายเสียงและภาพในระบบดิจิตอล สำหรับอุปกรณ์รับสัญญาณแบบมือถือที่บริเวณ บริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน)นั้น คิดเป็นมูลค่า 100 ล้านบาท หรือกว่า 200 เครื่องรับสัญญาณ และในส่วนของการติดตั้งระบบทวนสัญญาณ Gap Filler สำหรับรับชมภายในอาคารสยามเซ็นเตอร์ได้ทำการติดตั้งอย่างถาวรแล้ว เพื่อให้เป็นต้นแบบของ DVB-H ของประเทศไทย ผ่านอุปกรณ์รับชมแบบมือถือ 2 รูปแบบ คือ ทีวีมือถือขนาดจอ 4.5 นิ้ว และโทรศัพท์มือถือขนาด 2.5 นิ้ว

โดยในส่วนของแผนการขยายการติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ เฉพาะอาคารสูงกว่า 650 แห่ง ในรูปแบเชิงพาณิชย์นั้น คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะสามารถทำการติดตั้งแล้วเสร็จประมาณ 1 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us