Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
Dual Banking System ยุทธศาสตร์ระดับโลก             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

New Culture Character Strategy
Outsource & Privatization แนวทางการลดต้นทุน
CBS โครงการที่จะทำให้ฝันขอวิโรจน์เป็นจริง
GFMIS : The Big Project
KTC ต้นแบบการแปรรูปบริษัทในเครือ

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - HSBC
ธนาคารอิสลาม
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
สุวรรณ ดำเนินทอง
Banking and Finance




เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าในหลักของศาสนาอิสลามมีข้อห้ามมิให้ชาวมุสลิมเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นการรับ หรือการจ่าย เพราะในพระคัมภีร์ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่มาก

หลักศาสนาอิสลาม ซึ่งยึดหลักแห่งความยุติธรรม มองว่าดอกเบี้ยคือสัญลักษณ์ของการเอาเปรียบ

ด้วยข้อห้ามนี้เอง ทำให้ที่ผ่านมาชาวมุสลิมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศไทย ไม่มีโอกาสนำเงินเข้ามาไว้ในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งยังคงยึดในหลักการของดอกเบี้ย

มีเงินจำนวนมหาศาลที่ออกไปอยู่นอกระบบ และยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่รออยู่ว่าเมื่อไรจะมีระบบธนาคารที่ไม่ขัดต่อหลักของศาสนาอิสลามออกมาเปิดให้บริการแก่เขา

ข้อเท็จจริงนี้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วิโรจน์ นวลแข ตัดสินใจจัดตั้งธนาคารอิสลามขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของธนาคารกรุงไทย ที่มีระบบ 2 ระบบ อยู่ในโครงร่างเดียว

"เราไม่ได้สร้างขึ้นมาโดยไร้ความหมาย หรือเห็นเป็นแฟชั่น เรามองภาพว่ามีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลาม เขามีความต้องการในระบบการเงินมานานแล้ว แต่เพราะศาสนานั้นห้ามเขาไว้รุนแรงมากเรื่องการคิดดอกเบี้ย เมื่อคนกลุ่มนี้มีถึง 8 ล้านคน แล้วไม่เคยมีใครบริการทางการเงินกับเขา เราจึงเห็นว่าไม่มีบริการใดที่มีลูกค้าคอยใช้บริการอยู่แล้วอย่างล้นเหลือเหมือนอย่างนี้"

ธนาคารอิสลามสาขาแรกของธนาคารกรุงไทยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 ที่จังหวัดนราธิวาส แต่ก่อนที่จะเปิดสาขานี้ได้ ธนาคารกรุงไทย ต้องใช้เวลาเกือบปี เพื่อศึกษาระบบธนาคารอิสลามในต่างประเทศ เพื่อนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย

"เราเดินทางไปศึกษาดูงานทั้งในตะวันออกกลาง อินโดนีเซีย และมาเลเซีย" สุวรรณ ดำเนินทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลาม ของธนาคารกรุงไทย บอก

ระบบธนาคารอิสลามที่ธนาคารกรุงไทยนำมาใช้ เป็นลักษณะของการแบ่งปันผลประโยชน์ โดยผู้ที่นำเงินมาฝากกับธนาคาร จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ การปันผลกำไร

ยกตัวอย่างเช่น เงินฝากประจำประเภท 3 เดือน เมื่อลูกค้านำเงินมาฝากแล้ว หลังครบกำหนดระยะเวลา 3 เดือน ธนาคารจะต้องมานั่งคิดบัญชีว่ามีผลกำไรเท่าไร แล้วก็จะแบ่งกับลูกค้าเจ้าของเงินฝากตามสัดส่วนที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อนหน้านั้น

เงินที่ลูกค้านำมาฝาก ธนาคารจะนำไปลงทุนด้วยการให้การสนับสนุนทาง การเงินแก่คนที่ต้องการเงินทุน โดยรูปแบบ การหารายได้ จะใช้วิธีคล้ายกับการซื้อมาขายไป

ตัวอย่างคือ หากลูกค้าต้องการสนับสนุนทางการเงินเพื่อนำเงินไปซื้อบ้าน ธนาคารจะทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้ซื้อรายแรก แล้วตีราคาของบ้านบวกด้วยผลกำไร เพื่อนำไปขายต่อให้กับลูกค้าที่ต้องการเงินสนับสนุน โดยลูกค้าจะเฉลี่ยจ่ายคืนให้กับธนาคารเป็นรายเดือนตามมูลค่าที่มีการตกลงไว้กับธนาคาร

"หลักการดูเหมือนง่าย แต่มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนมากพอดู"

บัญชีธนาคารอิสลามของธนาคารกรุงไทย จะแยกออกจากบัญชีปกติ ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งกันและกัน โดยธนาคารกรุงไทยได้ให้ทุนประเดิมในการก่อตั้งเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันจากสาขาที่เปิดไปแล้วประมาณ 15 แห่ง มีลูกค้านำเงินมาฝากแล้วประมาณ 800 ล้านบาท และเริ่มบทบาทการเป็นผู้ให้ความสนับสนุนทางการเงินกับลูกค้าไปบ้างแล้ว ในวงเงินใกล้เคียงกับยอดเงินฝาก

แต่การเปิดธนาคารอิสลามของธนาคารกรุงไทย ในความเห็นของวิโรจน์มีความหมายมากกว่าการเพิ่มโอกาสในการใช้บริการทางการเงิน ของคนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว

วิโรจน์มองไกลไปกว่านั้น เพราะเขามองว่าธนาคารอิสลามจะเป็นท่อต่อไป ถึงแหล่งเงินทุนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

แหล่งเงินทุนดังกล่าวจะเป็นทางเลือกใหม่ หากในอนาคตประเทศไทยบังเอิญจะต้องประสบปัญหาทางการเงินขึ้นมาอีกครั้ง

"ตอนวิกฤติที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้แล้วว่าบางทีการที่เราพึ่งพาชาติตะวันตกมากเกินไป เมื่อผลกระทบเรารุนแรง เราไม่สามารถจะเอา fund จากที่อื่นเข้ามาช่วย เราได้ เพราะว่าเราต่อสายท่อเดียว"

ปัจจุบัน ในประเทศนอกจากธนาคาร อิสลามของธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายนแล้วในต่างประเทศ ธนาคารขนาดใหญ่อย่างเช่นซิตี้แบงก์ HSBC หรือแม้กระทั่งบาร์เคลย์แบงก์ ก็กำลังให้ความสนใจรูปแบบการให้บริการกับคนที่นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us