Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
Outsource & Privatization แนวทางการลดต้นทุน             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

New Culture Character Strategy
Dual Banking System ยุทธศาสตร์ระดับโลก
CBS โครงการที่จะทำให้ฝันขอวิโรจน์เป็นจริง
GFMIS : The Big Project
KTC ต้นแบบการแปรรูปบริษัทในเครือ

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
บัตรกรุงไทย, บมจ.
กรุงไทย ธุรกิจบริการ (KGS)
กรุงไทยคอมพิวเตอร์
กรุงไทยแลนด์แอนด์เฮาส์
วิโรจน์ นวลแข
Banking and Finance




แนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนของธนาคารกรุงไทยคือธุรกรรม และกิจกรรมใดๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวพันกับธุรกิจหลักของธนาคาร จะใช้วิธี ว่าจ้างจากบุคคลภายนอกทั้งหมด

ในทางเดียวกัน วิโรจน์ นวลแข มีพันธะที่ชัดเจนตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งว่าในการลดต้นทุนการดำเนินงานของธนาคาร เขาจะไม่ใช้วิธีการให้คนออก

การเปลี่ยนหน้าที่ให้กับพนักงานขับรถเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงรูปธรรมของแนวทางนี้

ธนาคารกรุงไทยมีพนักงานซึ่งเป็นพนักงานประจำ และลูกจ้างรายปีในตำแหน่งพนักงานขับรถอยู่ทั้งสิ้น 469 คน เมื่อปลายปี 2545 เขามีนโยบายว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 ธนาคารจะไม่มีตำแหน่ง หรือหน้าที่พนักงานขับรถอีกต่อไป ดังนั้นเขาจึงให้พนักงานเหล่านี้ เข้าอบรม เพื่อเปลี่ยนหน้าที่ใหม่ รวม 5 หลักสูตร คือติดตามหนี้รายย่อย ออเธอะไรสเทลเลอร์ พัฒนาตลาด สารบรรณ และส่งหนังสือ เพื่อให้พนักงานเหล่านี้ได้มีรายได้ และมีงาน ทำต่อเนื่องไป

นอกจากการยุบตำแหน่งพนักงานขับรถแล้ว รถที่เคยเป็นทรัพย์สินของธนาคาร ทุกคันจะถูกขายให้กับบริษัทกรุงไทย ธุรกิจ บริการ (KGS) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือ

ส่วนงานที่จำเป็นต้องใช้รถ จะใช้วิธี ว่าจ้างแบบเหมา (outsourcing) กับ KGS แทน

สำหรับตำแหน่งงานระดับบริหาร ซึ่งเคยมีรถประจำตำแหน่ง และคนขับรถให้เป็นสวัสดิการ ก็จะใช้วิธีจ่ายเป็นเงินรายเดือนทดแทนให้

"ถ้าทำอย่างนี้ ธนาคารจะควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น ฝ่ายผู้บริหารก็จะจัดการกับรายได้ได้คล่องตัวขึ้น เพราะจากเดิมที่ มีรถ มีคนรถ เราจ่ายเป็นเงินให้ คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับเขาว่าเขาจะไปซื้อรถอะไร เพราะรถที่เขาซื้อ เขาต้องรับผิดชอบเอง ส่วนจะจ้างคนขับหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง" วิโรจน์ให้เหตุผล

นอกจากการ outsource ในเรื่องของรถยนต์แล้ว กิจการอื่นๆ เช่น การวางระบบ คอมพิวเตอร์ และกฎหมาย ก็จะใช้วิธีเดียวกันทั้งสิ้น

ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีบริษัทในเครือ 5 แห่ง คือบริษัทบัตรกรุงไทย บริษัทกรุงไทยคอมพิวเตอร์ บริษัทกรุงไทยแลนด์แอนด์เฮาส์ KGS และบริษัทกฎหมาย

การแยกพนักงานบางส่วนออกไปไว้ในบริษัทเหล่านี้ ก็เพื่อให้ฐานเงินเดือนของธนาคารกรุงไทย เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นอกจากนี้ในอนาคต วิโรจน์ยังมีนโยบายที่จะให้บริษัทเหล่านี้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสามารถหาลูกค้าด้วยตนเองเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยธนาคารกรุงไทยเพียงแห่งเดียว

แต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่จะมาซื้อหุ้น ธนาคารกรุงไทยจะทำสัญญาเป็นลูกค้าประจำกับบริษัทเหล่านี้ต่อไปอีก 15 ปี

บริษัทบัตรกรุงไทย เป็นบริษัทแรกที่ได้ถูกแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us