|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความสำเร็จของการตลาดสินค้าหลายต่อหลายอย่างในตลาดโลกจะมาจากการเลือกสรรแพกเกจที่หุ้มห่อสินค้าที่เหมาะสมด้วย อาชีพที่ปรึกษาด้านแพกเกจจึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่นแพกเพจของสินค้ากลุ่มอาหารประเภทซื้อหากลับไปบริโภคที่บ้าน ไม่ใช่ตลาดที่ทำการแข่งขันกันด้วยเทคนิคธรรมดาๆ อีกต่อไป เพราะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้แพกเกจสามารถดึงดูดลูกค้าให้เกิดจินตนาการอยากบริโภคอาหารนั้น และตัดสินใจซื้อสินค้าที่จัดหีบห่อได้ดีที่สุดนั้นกลับบ้าน
ที่ปรึกษาที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในศตวรรษนี้คนหนึ่งคือ โจแอน ไฮนส์ (Joann Hines) หรือที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ แพกเกจจิ้ง ดีว่า (Packaging Diva) โดยความทรงอิทธิพลของเธอทำให้เธอติดอันดับ 50 ผู้นำที่ทรงอิทธิพลด้านแพกเกจจิ้งที่สุด และได้รับเชิญไปบรรยายไปพูดในที่ต่างๆ รวมทั้งที่ทำเนียบไวท์เฮาส์
เมื่อไม่นานมานี้โจแอนได้พูดถึงแนวโน้มของการหีบห่อและปรับตัวด้านแพคเกจในอนาคตไว้ดังนี้
ประการแรก รูปแบบของแพคเกจที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จเมื่อไม่นานมานี้ไม่ใช่รูปแบบของแพคเกจเอง หากแต่เป็นเรื่องของคอนเซปต์หรือแนวคิดของการนำเององค์ประกอบของสิ่งที่จำหน่ายทั้งมื้ออาหารผสมผสานกันในแพคเกจเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าที่ซื้ออาหารพร้อมปรุงไปสามารถจบมื้ออาหารได้อย่างครบถ้วน
เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังคำแนะนำดังกล่าวนี้มาจากการสำรวจพบพฤติกรรมของคนที่ซื้ออาหารพร้อมปรุงว่าบรรดาคุณแม่และผู้หญิงทำงานไม่ค่อยจะมีเวลาให้กับการทำอาหารรับประทานเองมากนัก จึงเป็นกลุ่มที่มีความต้องการอาหารที่แกะกล่องแล้วทานง่าย สะดวกเสร็จสรรพ ไม่ต้องหาภาชนะอื่นมาใส่หรือล้างจานหลังจบมื้ออาหารให้เสียเวลา
ประการที่สอง ประเด็นที่เป็นความท้าทายในการบริหารจัดการคือ หีบห่อของกลุ่มอาหารสด และโภชนาการที่ดีของอาหารยังไม่ใช่เรื่องง่ายดาย ทั้งที่มีความต้องการทางการตลาดเปิดช่องว่างอยู่ไม่ใช่น้อย
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยหีบห่อผลิตภัณฑ์จึงยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาต่อไปในอนาคต อย่างเช่น การหีบห่อแอปเปิ้ลปอกเปลือกและหั่นสไลด์เป็นชิ้นๆ เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าที่อยากทานแอปเปิ้ลแบบพร้อมกิน เพราะทิ้งไว้ไม่นานแอปเปิ้ลจะดำลงที่ผิวบนส่วนนอกและไม่สามารถจำหน่ายได้ อายุของอาหารที่สั้นแบบนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุนแน่นอน
ในอนาคตนวัตกรรมด้านแพกเกจที่ใส่อาหารจึงต้องตอบโจทย์ของข้อจำกัดจากกรอบของเวลาและฉลากหรือป้ายที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป พร้อมทั้งมาตรฐานด้านคุณค่าที่จะต้องแจ้งข้อมูลแก่ผู้ซื้อได้ว่าอาหารห่อไหนยังคงอยู่ในสภาพดีไปจนกว่าจะถึงวันที่ระบุไว้บนหีบห่อ และเมื่อเกินวันที่ควรบริโภคได้ไปแล้ว หีบห่ออาหารจะเปลี่ยนสีตัวเองจากสีปกติเป็นสีน้ำตาล หรือมีเครื่องหมายกากบาทปรากฏอยู่บนหีบห่อ เพื่อให้สามารถแยกกลุ่มอาหารที่เกินอายุกำหนดออกไปต่างหากได้โดยสะดวก
นวัตกรรมที่จะต่อยอดหีบห่อสินค้ากลุ่มอาหารเพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับวันที่ยังคงใช้ได้ของอาหารที่ซื้อ และจำนวนวันที่เหลือที่จะต้องรีบบริโภคนี้เองที่เป็นความฝันและเป้าหมายสุดยอดในขณะนี้ของบรรดานักวิจัยหีบห่อชั้นนำของทั่วโลก เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมหีบห่อของโลกทีเดียว
ประการที่สาม เมนูอาหารประเภทควิก-เสิร์ฟมีแนวโน้มที่จะถึงจุดอิ่มตัวแล้วสะท้อนว่าจะต้องถึงคราวที่จะมีการพัฒนาและยกระดับธุรกิจการหีบห่อได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟูดเวนดี้ได้ออกแบบอาหารประเภทสลัดที่น่าตาสีสันน่ารับประทานออกมาได้ แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ สลัดชุดนี้ยังต้องการการตกแต่งประดิษฐ์ประดอยและงานหีบห่อมาช่วยต่อก่อนจะนำออกวางจำหน่าย สำหรับลูกค้าที่สามารถเอาสลัดแสนอร่อยห่อนี้ไปเสิร์ฟได้ทันที
การออกแบบหีบห่อที่นักพัฒนาและวิจับนึกถึงคือ การจำหน่ายชามสลัดพร้อมกับตัวสลัดแทนที่จะคิดถึงหีบห่อโฟมแบบเดิมๆ หรืออาหารประเภทซูชิ (Sushi) กำลังหมดสมัยของการใส่โฟมจำหน่ายแล้ว เพราะแพคเกจที่ขายพร้อมอาหารญี่ปุ่นง่ายๆ อย่างปลาดิบ ข้าวปั้น หรือซูชิคือจานเปลสวยๆ ที่เสิร์ฟแก่ผู้ใช้งานบนโต๊ะอาหารได้ทันที
ชามใส่สลัดหรือจานเปลใส่อาหารญี่ปุ่น หรือจานสเต็ก เหล่านี้จึงต้องผ่านการออกแบบอย่างพิถีพิถันและเน้นสีสันเข้าเทรนด์ ไม่อายใครที่จะวางเสิร์ฟบนโต๊ะอาหาร พร้อมทั้งต้องเพิ่มบรรยากาศอาหารมื้อนั้นๆ ให้แก่ลูกค้าให้กลายเป็นมื้ออาหารพิเศษเหนือกว่ามื้อปกติได้ด้วย แถมแพกเกจชามหรือจานเหล่านี้อาจจะต้องขอลิขสิทธิ์ในการนำคาแรกเตอร์ของตัวการ์ตูนที่โดดเด่นมาใช้ประดับประดาเพิ่มเติม หากต้องการให้สะดุดตาและเซอร์ไพร์สสำหรับลูกค้ากลุ่มเด็กๆ
นั่นหมายความว่าตลาดหลักของการออกแบบหีบห่อตลาดนี้เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับบน เน้นความมีรสนิยม ความหรูหรา และแตกต่างโดยแลกกับการยินยอมพร้อมใจที่จะจ่ายเงินค่าอาหารพร้อมปรุงเหล่านั้นเพิ่มเติมจนทำให้คุ้มค่ากับการลงทุนทีเดียว
ความสำเร็จของการพัฒนาหีบห่ออาหารกลุ่มตลาดระดับนี้คือความสำเร็จของการจำหน่ายสลัด หรืออาหารอื่นๆ ที่อยู่ภายในหีบห่อด้วย เพราะจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า ให้เลิกทำสลัดเองที่บ้าน แต่หันมาใช้บริการสลัดพร้อมปรุงที่มีการวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีกแทน
นอกจากนั้น การหีบห่อจะกลายเป็นสินค้าที่มีตำแหน่งทางการตลาดใหม่ เป็นสินค้าที่มีระดับ มีราคา มีความภาคภูมิใจ อย่างเช่นทุกครั้งที่ผู้คนถือแก้วกาแฟของสตาร์บัคส์ไปตามที่ต่างๆ เพราะทุกคนรู้ดีว่าราคาของกาแฟในแก้วไม่ธรรมดาเลย
ในอนาคตหีบห่อเหล่านี้จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีดีไซน์และครีเอทีฟไม่ได้แตกต่างจากเสื้อผ้าที่เดินอวดโฉมตามแคตวอร์ค
ประเด็นที่สี่ อิทธิพลของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังคงเป็นกระแสที่ไม่ได้หมดไปจากวงการหีบห่อของโลก คำว่า “กรีน” ยังคงเป็นหนึ่งในคำศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างผลที่เปลี่ยนแปลงแก่วงการแพกเกจสินค้า
จากการสำรวจพบว่า ผู้ซื้อที่เป็นผู้หญิงมีความอ่อนไหวต่อประเด็นของกระแส “กรีน” มากกว่าผู้ชาย นักวิจัยต้องจับตากระแสการขับเคลื่อนแนวคิดอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มนี้อย่างติดขอบตลอดเวลา
สำหรับนักพัฒนาหีบห่อ การพยายามกลมกลืนกับกระแสของความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน่าจะปลอดภัยกว่าการต่อต้าน เพื่อเป็นหีบห่อทางเลือกนอกเหนือจากกลุ่มโฟมและพลาสติก
กระแสล่าสุดก็คือ การตื่นตัวในการแยกแพกเกจของอาหารสำหรับกลุ่มลูกค้าเด็กๆ เพื่อมิให้เกิดโศกนาฏกรรมเหมือนการซื้อของเล่นเด็กจากจีนให้เด็กเล่นทั้งที่มีอันตรายที่ผู้ใหญ่นึกไม่ถึงมากมาย
|
|
|
|
|