Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2551
บ.ประกันเมินบอนด์รถไฟฟ้า อ้างดอกเบี้ยต่ำ             
 


   
search resources

สาระ ล่ำซำ
Insurance




คลังเผยบริษัทประกันเมินเข้าร่วมประมูลพันธบัตร 30 ปี หลังอ้อนวอนให้ออกตราสารที่สอดคล้องกับการลงทุนของธุรกิจแต่พอเปิดประมูลจริงกับหายเข้ากลีบเมฆ ขู่หากเปิดประมูลล็อตหน้าไม่ให้ความสนใจจะไม่รับข้อเสนอใดๆ อีกต่อไป “สาระ ล่ำซำ” นายกสมาคมประกันชีวิตรับเสียงอ่อยดอกเบี้ย 5.50% โหดร้ายเกินไปพร้อมระบุบริษัทหลายแห่งยังให้ความสนใจพันธบัตร 30 ปี วงในยอมรับล็อตแรกยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะลงทุนเหตุยังไม่มีอัตราอ้างอิงที่เหมาะสม ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยระบุไม่สอดคล้องกับพอร์ตลงทุน

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปี ล็อตแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมาทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้นำข้อมูลที่ได้จากการประมูลกลับมาวิเคราะห์ ปรากฏว่ามีข้อมูลบางอย่างที่แสดงให้เห็นความผิดปกติ คือ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นกลุ่มหลักเรียกร้องให้มีการออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเงินลงทุนจำนวนมาก และระยะยาวของบริษัทกลับไม่ได้ให้ความสนใจเข้ามาประมูลซื้อพันธบัตรดังกล่าว แต่กลุ่มผู้ที่ประมูลได้กลับเป็นสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้ากับทาง สบน.มาก่อนหน้านี้

นอกจากนี้วงเงินเสนอในการประมูลของพันธบัตรล็อตดังกล่าวยังมีความผันผวน โดยมีช่วงต่างระหว่างผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสูงสุด และผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาต่ำสุดมีความแตกต่างกันสูงถึง1% ซึ่งแตกต่างกับการประมูลพันธบัตรอายุอื่นๆ ของสบน.ที่อยู่ในกรอบแคบๆ 0.10-0.20% เท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าพันธบัตรอายุ 30 ปีอาจจะไม่ใช่พันธบัตรมีความต้องการในตลาดมากนัก และนักลงทุนอาจจะไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการลงทุน โดยอาจจะกลัวความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ดังนั้นหากการประมูลครั้งต่อไปในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ และมีข้อมูลที่สะท้อนออกมาในลักษณะเดิมก็จะมีการพิจารณายกเลิกช่องทางในการระดมทุนดังกล่าว

"ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องจากบริษัทประกันจำนวนมากว่าไม่มีสินค้าที่จะให้ลงทุน กระทรวงการคลังจึงต้องทำหน้าที่ในการสร้างตลาด และพยายามสร้างอัตราอ้างอิง (bench mark) เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถก้าวไปสู่การออกพันธบัตรที่มีอายุยาวมากขึ้นได้ แต่หากตลาดไม่มีความสนใจที่แท้จริง ก็จะทำให้กระทรวงการคลังต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูง โดยไม่จำเป็น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฐานะการคลังในอนาคต ดังนั้น ความจำเป็นในการสร้างตลาดก็คงไม่มีอีกต่อไป และกระทรวงการคลังก็สามารถที่จะระดมเงินในช่องทางอื่นๆ ได้อยู่แล้ว"รายงานข่าวระบุ

นายกประกันโอดดอกเบี้ยโหดร้ายไป

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีล็อตแรกจำนวน 2,500 ล้านบาทที่ผ่านมานั้นเมืองไทยประกันชีวิตได้เข้าร่วมประมูลด้วยแต่แพ้สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งเท่าที่อนุกรรมการการลงทุนของสมาคมประกันชีวิตรายงานให้ทราบเบื้องต้นพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตหลายรายเข้าร่วมประมูลด้วยแต่ก็ไม่สามารถชนะการประมูลเช่นกัน

“การประมูลที่ผ่านมากระทรวงการคลังเคาะดอกเบี้ยออกมาที่ 5.50% มันออกจะดูโหดร้ายสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล แต่เท่าที่ทราบการหารือในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสมาคมประกันชีวิตก็ได้ให้โจทย์แก่กระทรวงการคลังไปเป็นผู้พิจารณา ซึ่งเท่าที่ดูในภาพรวมแล้วอายุพันธบัตร 30 ปีอัตราดอกเบี้ย 5.50% ก็ยังถือว่าโอเคในแง่ของความเสี่ยงเนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกพันธบัตร” นายสาระกล่าว

วงการยอมรับล็อตแรกกล้าๆ กลัวๆ

แหล่งข่าวจากธุรกิจประกันชีวิตกล่าวว่า การออกพันธบัตร 30 ปีในครั้งนี้ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มีการออกพันธบัตรอายุยาวนานที่สุดจึงอาจส่งผลให้บริษัทประกันหรือนักลงทุนอื่นๆ เกิดความไม่มั่นใจในเรื่องของผลตอบแทนว่า พันธบัตรแต่ละล็อตที่ออกมานั้นจะนำไปลงทุนในส่วนใดกันแน่ที่จะให้ผลตอบแทน 5.5%

โดยการลงทุนน่าจะมีการประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าแผนการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะลงทุนในเมกกะโปรเจกต์เส้นทางใด 5 ปีแรกผลตอบแทนเท่าไร 10 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไร และ 20 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไรซึ่งท่ามีความชัดเจนจากแผนการลงทุนดังกล่าวนักลงทุนก็จะมีความเชื่อมั่นที่จะซื้อพันธบัตรชุดดังกล่าวกับกระทรวงการคลังแต่ที่ออกมาชุดแรกยังไม่มีความชัดเจนเลยและรถไฟฟ้าแต่ละสายก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีการประมูลและก่อสร้างได้เมื่อใด เนื่องจากรับบาลกำลังให้ความสนใจแก้รับธรรมนูญเป็นเรื่องหลัก

“ถือว่าเป็นความใหม่เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในบ้านเราที่มีพันธบัตรอายุนานขนาดนี้จึงทำให้บริษัทประกันชีวิตกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าร่วมประมูลและยังไม่เคยมีอัตราอ้างอิงที่ชัดเจนมาก่อน แต่หากมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนและอัตราอ้างอิงที่เหมาะสมออกมาแล้วเชื่อว่าการเปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีล็อตต่อๆ ไปจะได้รับความสนใจจากบริษัทประกันเนื่องจากสามารถบริหารการลงทุนได้ง่ายและตรงกับสินค้าของบริษัทประกันชีวิต” แหล่งข่าวกล่าว

ชี้เหมาะกับประกันชีวิตมากกว่า

นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด กล่าวว่า การระดมทุนในระยะยาว 30 ปีแล้วโดยธรรมชาติของการลงทุนจะเหมาะสมกับธุรกิจประกันชีวิตมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัย โดยการลงทุนในตราสารระยะ 3-5 ปีสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว

ซึ่งการที่ธุรกิจประกันเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควรนั้นอาจมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ตรงกับความต้องการ โดยสิ่งสำคัญที่บริษัทประกันส่วนใหญ่จะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน คือ พันธบัตรที่ออกมาจะมีรูปแบบอย่างไร มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะลงทุนมากน้อยเพียงใด สภาพคล่องของพันธบัตรในการถือครองซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญเพราะแม้ว่าพันธบัตรจะออกมาระยะ 30 ปีแต่หากมีสภาพคล่องสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในตลาดรองได้ง่ายก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตร.

ทั้งนี้ ตามแผนในการระดมเงินเพื่อมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 7.7 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเงินกู้ในประเทศและงบประมาณ 282,030 ล้านบาท หรือ 37% โดยวงเงินดังกล่าวจะเป็นการระดม ทุนโดยการออกตราสารหนี้ ทยอยเป็นช่วงๆ ใน 7 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 4 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรตลอด 7 ปีเพื่อระดมทุนมาก่อสร้างรถ ไฟฟ้านั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรในประเทศ จนเกิดภาวะล้นตลาดแต่อย่างใด เพราะความต้องการของตลาดยังมีค่อนข้างสูง

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เริ่มโครงการนำร่องพันธบัตรอายุ 30 ปี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยมีการทำแบบจำลอง เพื่อเป็นการทดสอบตลาดว่ามีความต้องการพันธบัตรระยะยาวมากน้อยเพียงใด โดยสบน.ได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่น LB383A อายุ 30 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.50 ต่อปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของนักลงทุนในตลาด และเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects)

“การประมูลพันธบัตรรุ่นดังกล่าว เป็นการออกพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีครั้งแรกของประเทศไทย และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดียิ่ง โดยได้รับอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้อยู่ระหว่าง ร้อยละ 5.448 – 5.620 ต่อปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับอยู่ที่ร้อยละ 5.532 ต่อปี และ Bid Coverage Ratio (BCR) เท่ากับ 2.84 ซึ่งที่ผ่านมา สบน. เคยออกพันธบัตรระยะยาวที่สุดเป็นรุ่นอายุ 20 ปี ดังนั้น การประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีในวันนี้ จึงเป็นการประมูลพันธบัตรระยะยาวที่สุดของประเทศไทย”นายพงษ์ภาณุกล่าว

ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีอีกครั้งในวันที่ 18 มิถุนายน 2551 วงเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่ง สบน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us