Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2551
การเมือง-เงินเฟ้อกดดันตลาดหุ้น             
 


   
search resources

มนตรี ศรไพศาล
Stock Exchange




โบรกเกอร์มั่นใจการบริโภค-การลงทุนขยายตัว ดันจีดีพีปีนี้โตได้ถึง 6% "มนตรี" แนะลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร-พลังงาน ด้าน "สุกิจ" ชี้เงินเฟ้อมีความเสี่ยงมากขึ้น คาดพ.ค.-มิ.ย.แตะระดับสูงสุด ก่อนจะอ่อนตัวครึ่งปีหลัง ทำให้เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 4.5% ส่วน "รณกฤต" เผยราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด-บาทอ่อนอาจกดดันให้เงินเฟ้อทะลุ 8% เลือกลงทุนหุ้นพี/อีต่ำ ปันผลไม่ต่ำกว่า 5% ขณะที่สัปดาห์นี้ยังได้แรงกดดันจากปัจจัยด้านการเมือง-เงินเฟ้อ

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ปรับพอร์ตการลงทุนรับเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง" ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยมั่นใจว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP จะโตได้ถึง 6% เนื่องจากการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี แม้จะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา

ส่วนกรณีราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น สืบเนื่องจากปริมาณสำรองข้าวของโลกที่ลดลงจากเดิม 140 ล้านตัน เหลือเพียง 60 ล้านตัน โดยจีนลดลงจากเดิม 96 ล้านตัน เหลือ 30 ล้านตัน อินเดียลดลงจาก 29 ล้านตัน เหลือ 10 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 3-5 ปี เพื่อทำให้สต็อกข้าวโลกกลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังนั้นราคาข้าวน่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อไป

สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพยังไม่จบ แต่ได้แก้ปัญหาไปมากแล้ว ประกอบกับภาคเอกชนที่ยังแข็งแกร่ง แต่อาจจะมีข่าวการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินออกมาบ้าง

นายมนตรี กล่าวว่า การที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก ซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องมีการบริหารพอร์ตให้มีประสิทธิภาพ โดยหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มธนาคาร พลังงานที่น่าจะผลการดำเนินงานดีขึ้น รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ

"เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระราคาสินค้าที่สูงขึ้นเช่นกัน แม้ว่ารัฐบาลพยายามเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน อาทิ มาตรการภาษี การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ปัจจุบันกำลังถูกบันทอนด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น"

ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.3% แต่ถือเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะคาดจะชะลอตัวในครึ่งปีหลัง เนื่องจากไทยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากราคาอาหารมากนัก รวมถึงราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงได้บ้าง โดยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน นี้ ขณะที่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.5%

ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มจะตรึงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าและมีเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรและสินค้าโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดหุ้น แม้วิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ยังไม่จบ แต่ถือว่าผ่านจุดที่ทุกคนกลัวที่สุดไปแล้ว แม้นับจากนี้จะมีข่าวร้ายออกมาบ้าง แต่จะไม่กระทบกับตลาดหุ้นแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา

นายรณกฤต สาริณวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 126 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล บวกกับเงินบาทที่อ่อนค่าลง หลังจากปัญหาซับไพรม์เริ่มคลี่คลายทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้ไทยต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 8-10%

สำหรับการเลือกหุ้นในช่วงนี้ควรเลือกเล่นเป็นรายตัวมากกว่าเป็นกลุ่ม ยกเว้นช่วงที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา โดยให้เลือกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตดีที่สุดในกลุ่ม มีค่าพี/อีไม่สูงมากนัก ประมาณ 8-10 เท่า ไม่ควรเกินพี/อีตลาด และมีปันผลดีไม่ควรต่ำกว่า 5%

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ไร้ปัจจัยบวก

นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวถึง ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ ว่า ตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แม้จะได้รับผลดีจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน แต่จะได้รัอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต และฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ

โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีแนวรับที่ 840 จุด และแนวต้านที่ 855 จุด มีโอกาสที่ดัชนีจะทรงตัวหรืออ่อนค่า โดยกลุ่มเกษตรยังน่าสนใจจากราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาภัยพิบัติในพม่า เช่นเดียวถ่านหินที่ราคาปรับสูงขึ้น ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจถ่านหินยังคงน่าสนใจ ขณะที่กลุ่มน้ำมันเริ่มมีแรงเทขายออกมา ในระยะสั้นอาจจะอ่อนตัวลง แต่ในระยะกลางและระยะยาวยังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง

นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัญหาการเมืองในประเทศเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีเรื่องที่ต้องติดตาม คือ การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การสรรหาประธานสภาฯ และการยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงหรือไม่

ทั้งนี้ อีกประเด็นที่ต้องติดตามนอกจากการเมืองในประเทศ คือ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อไปทั่วโลก เห็นได้จากอินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้น้ำหนักที่หลายประเทศจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น หากราคาน้ำมันดิบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ โดยประเมินกรอบดัชนีตลาดหุ้นไทยที่แนวรับ 830 จุด และแนวต้านที่ 855-860 จุด

ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า ประเมินว่า สัปดาห์นี้ยังมีแนวต้านที่สำคัญอยู่ที่ระดับ 850 จุด หากดัชนีไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือ 850 จุด ดัชนีจะปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ 828-840 จุด แต่หากยืนได้ก็จะปรับตัวขึ้นทดสอบ 856 จุดอีกครั้ง โดยประเด็นที่จะชี้การยืนได้อย่างมั่นคงของดัชนีบริเวณ 850-860 จุด คือ การซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us