Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2551
กองทุนเล็งขนเงินลุยตปท.             
 


   
search resources

Funds
ธีรพันธุ์ จิตตาลาน




ภาษีกองทุนส่วนบุคคลได้ข้อสรุป หลังสรรพากรใจอ่อน ยอมให้บุคคลธรรมดาที่ออกไปลงทุนเมืองนอก แต่ไม่ได้นำเงินกลับมาในปีนั้นๆ ถือเงินข้ามปีได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนนิติบุคคลไม่ยกเว้น ต้องแจ้งสถานะการลงทุน เพื่อยื่นแบบแสดงการเสียภาษีทุกปี ด้านสมาคมบลจ.มั่นใจ กระตุ้นการลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกัน เตรียมเจรจา ก.ล.ต. เปิดทางลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยงได้ ด้านก.ล.ต. เผย บลจ.ส่งรายชื่อลูกค้าที่แจ้งความจำนงออกไปลงทุนต่างประเทศมาแล้ว 10-30 ราย ส่วนโบรกเกอร์ใส่เงินไปแล้วกว่า 1 พันล้านบาท

นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย ในฐานะอุปนายกและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องภาษีที่นักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลได้ข้อสรุปแล้ว โดยกรมสรรพากรแจ้งว่าหากนักลงทุนออกไปลงทุนต่างประเทศและยังไม่ได้นำเงินกลับมาในปีนั้นๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้กฎหมายจะระบุว่าถ้าออกไปลงทุนต่างประเทศและได้กำไรก็ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากนักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถือข้ามปีก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ชัดเจนแล้วทำให้นักลงทุนสบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องแจ้งสถานะการลงทุนเพื่อยื่นแบบแสดงการเสียภาษีทุกปีไม่ว่าในปีที่ไปลงทุนนั้นจะมีการนำเงินกำไรกลับมาในปีนั้นหรือไม่ก็ตาม

“เมื่อประเด็นเรื่องภาษีชัดเจนขึ้น เชื่อว่าจะมีนักลงทุนให้ความสนใจออกไปลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น แต่ปัจจุบันเท่าที่ทราบยังไม่มีการนำเงินออกไปลงทุนโดยผ่านกองทุนส่วนบุคคลที เพราะเข้าใจว่านักลงทุนยังห่วงประเด็นเรื่องของภาษีอยู่ โดยนักลงทุนกลุ่มแรกๆ ที่จะออกไปลงทุนน่าจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่เคยลงทุนในต่างประเทศอยู่ก่อนแล้วเป็นหลัก ซึ่งจากนี้ไปน่าจะมีการมาใช้บริการกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้นตามลำดับ”นายธีรพันธุ์กล่าว

นอกจากนี้ สมาคมบลจ. กำลังอยู่ระหว่างร่างรายละเอียดในการออกไปลงทุนเพื่อให้กว้างขึ้นเท่าที่กฎหมายเปิดให้ลงทุนได้ จากเดิมกำหนดกรอบลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, หน่วยลงทุน, ตราสารหนี้ที่การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าแฝง(Structure Note), ตราสารอนุพันธ์, สินค้าโภคภัณฑ์ ก็เพิ่มตราสารประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูงอื่นๆ เข้าไปอีก โดยเรื่องดังกล่าวทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว ซึ่งทางสมาคมอยากเปิดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลให้ครอบคลุมทุกอย่างที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถที่จะทำได้ รวมถึงการลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง(Hedge Fund)ด้วย

“คนอาจมองว่าในช่วงที่สหรัฐวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นจังหวะในการลงทุนหลายอย่าง ดังนั้นการเปิดกว้างให้ลงทุนได้หลากหลายก็น่าจะเป็นการดี นอกจากนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังเตรียมร่างละเอียดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการเก็บหลักฐานต่างๆ ในการออกไปลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันเตรียมจัดงานสัมมนาเริ่มต้นการออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเชิญเจ้าหน้าที่การตลาด ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงเรื่องภาษีด้วย”

นายประเวช องอาจสิทธิกุล รองเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ก.ล.ต.เปิดให้กองทุนส่วนบุคคลออกไปลงทุนต่างประเทศได้ ตั้งแต่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ส่งรายชื่อลูกค้าบุคคลธรรมดาที่จัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลประมาณ 10-20 ราย เพื่อขอนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ

“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนที่ก.ล.ต.ยื่นรายชื่อไปยังธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของเงิน ดูความเหมาะสมและความรู้ในการลงทุน”นายประเวช กล่าว

หลังจากผ่านขั้นตอนจากธปท.แล้ว นักลงทุนก็จะได้รับวงเงินออกไปลงทุนเบื้องต้น 5 แสนเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากนำเงินไปลงทุนแล้วประมาณ 80% หรือ 4 แสนเหรียญสหรัฐ ทางก.ล.ต.ก็จะเพิ่มวงเงินให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐต่อคน โดยรวมแล้วแต่รายจะได้วงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่มีพอร์ตการลงทุนนั้นได้เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศแล้วคิดเป็นมูลค่ารวม 30-40 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 930-1,240 ล้านบาท ส่วนพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นไม่ค่อยมี

นายประเวช กล่าวว่า สำหรับวงเงินที่ออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.10 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินลงทุนรวมทุกประเภททั้งผ่านกองทุนเพื่อไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) และกองทุนตราสารหนี้ที่ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี,ออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์

อย่างไรก็ตาม อยากเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังในการไปลงทุนต่างประเทศ โดยต้องพิจารณาจาก 3 ข้อ ข้อแรกต้องดูค่าธรรมเนียมที่บลจ.แต่ละรายคิดว่าเป็นเท่าไร เพราะแต่ละบลจ.เก็บไม่เท่ากัน ข้อสอง ต้องดูว่าผลตอบแทนที่กองทุนไปลงทุนนั้นเป็นเงินสกุลใดและมีการคุ้มครองอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ และข้อสาม ตราสารที่จะไปลงทุนประเภทใด โดยก.ล.ต.ไม่อยากให้นักลงทุนดูเฉพาะผลตอบแทนที่บลจ.คาดการณ์ไว้เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่กองทุน FIF ออกไปลงทุนเมื่อปี 2546 ส่วนใหญ่จะคุ้มครองเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนแต่ระยะหลังไม่ปิดความเสี่ยงค่าเงิน นักลงทุนจึงต้องระวัง

สำหรับกองทุนที่ออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน (BRIC) ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาราคาหน่วยลงทุนลดลงไปพอสมควร ซึ่งมีบางกองทุนที่เข้าไปลงทุนตอนที่หุ้นบูมและบางกองก็ลงทุนตอนที่ราคาเริ่มปรับลดลง อย่างไรก็ตามก.ล.ต.ไม่ห่วงเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากกองทุนที่ได้รับผลกระทบมีไม่มากและคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนเพียงส่วนน้อย

กองทุนส่วนบุคคลจบQ1โต3พันล้าน

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของเงินลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเป็นการขายตัวเพียวเล็กน้อยเท่านั้น โดยกองทุนส่วนบุคคลมีตัวเลขการลงทุนรวมกันทั้งระบบ จำนวน 178,987.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 175,480.71 ของช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นจำนวน 3,506.35 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.99%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้กองทุนส่วนบุคคลขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกเป็นผลมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ยังคงมีความกังวลต่อเนื่อง จนกดดันภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐให้เข้าสู่ภาวะถอถอย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในยังคงเป็นเรื่องของการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน การลงทุนในตราสารหนี้เองยังไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทั้งปีนี้ น่าจะขยายตัวได้มากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากทางการเองเปิดทางให้ผู้ลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนหลายคนจะเลือกช่องทางนี้ในการกระจายความเสี่ยงให้เงินลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us