Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มดีขึ้น             
 

   
related stories

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ โมเดลใหม่ ธุรกิจรับจ้างผลิต
จากแมกเนติกสู่เพาเวอร์ซัปพลายครบวงจร

   
search resources

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์, บมจ.
ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์, บมจ.
เคซีอี อีเลคโทรนิคส์, บมจ. - KCE
เค.อาร์.พรีซิชัน - KRP
Electronic Components




"เป้าหมาย ที่สำคัญของเราคือ สามารถก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งโดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดภายใน 3 ปี" คำพูด ที่แสดงความมั่นใจของชาญ อัศวโชค แห่งบมจ.อัลฟาเทค อีเล็คโทรนิคส์ (ATEC) เมื่อต้นปี 2539

ชาญบอกว่าจะสร้างอาณาจักรอัลฟาเทคฯ โดยมีธุรกิจพลังงานเวเฟอร์ แฟบฯ และเซมิคอนดัคเตอร์เป็นหัวใจหลัก แต่ความฝันของเขาสลายไปเมื่อ ปี 2541 ส่งผลให้นักลงทุนพากันเข็ดขยาด และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพย่ำแย่พอกัน เนื่องมาจากปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในช่วงวิกฤติการเงินเอเชีย

ข้อกล่าวหาดังกล่าวดูเหมือนริชาร์ด เดวิด ฮัน กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ ไม่เห็นด้วย "เราต้องเจ็บปวดกับการถูกตีขลุมว่า เป็นแบบเดียวกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เราถูกมองว่ามีปัญหาเดียวกัน"

คำตัดพ้อของฮันเหมือนจะเป็นจริงเมื่อบริษัทหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งมีผลตรงข้ามกับอัลฟาเทคฯ โดยเฉพาะช่วงวิกฤติ และค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลดีในด้านผลประกอบการจากการผลิต เพื่อส่งออก

หากพิจารณาผลการดำเนินงานของบริษัททั้ง 8 แห่งในตลาดฯ แม้ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นจากอัตราเฉลี่ย 41.51 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2541 เป็น 37.86 บาทต่อดอลลาร์ ในปี 2542 ก็ตาม "ผลการดำเนินงานของบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ต่างปรับตัวดีขึ้น" วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ นักวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส ไทยทนุกล่าว

นอกจากจะชี้ให้เห็นการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมนี้ "ผ่านคำสั่งซื้อ ที่เพิ่มมากขึ้น" จนกระทั่งหลายบริษัทมีการใช้อัตรากำลังการผลิตเกือบเต็มที่แล้ว การควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะภาระทางการเงิน ทำให้ความสามารถการทำกำไรปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก

อัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก 2.27% ในปี 2541 เป็น 6.40% ในปี 2542 เป็นเหตุให้กำไรจากการดำเนินงานของกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส ์เติบโตถึง 209.85% เทียบกับปีที่ผ่านมา

อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส ์มีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีมูลค่าส่งออก 5.68 แสนล้านบาทในปีที่ผ่านมา การเติบโตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดเจนผ่านผลประกอบการ ซึ่งมียอดขาย และกำไรจากการดำเนินงานขยายตัวอย่างมาก

สำหรับผลประกอบการในปีนี้ บล.พัฒนสินมองว่ายังมีการขยายตัวสูงขึ้น จากภาพรวมของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะตลาดคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับผลพลอยได้จากความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ต, e-commerce และอุปกรณ์สื่อสารในกลุ่มโทรคมนาคม อีกทั้งการจ้างผลิต ที่ได้รับความนิยมจากผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ "ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มตามไปด้วย" นักวิเคราะห์แห่งพัฒนสินกล่าว

จุดเด่นของบริษัทหุ้นกลุ่มนี้อยู่ ที่ฐานะทางการเงินที่ดีจากการอ่อนค่าเงินบาทในปี 2540 โดยเฉพาะบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA), บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ (HANA), บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) และบมจ.เค.อาร์.พรีซิชัน (KRP)

ธุรกิจของ DELTA เกี่ยวพันกับเทคโนโลยี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด รวมไปถึงแรงกดดันในเรื่องของราคาจากการแข่งขัน ที่รุนแรง "แต่เราเชื่อว่า DELTA จะสามารถรักษาการเติบโตของกำไรในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้" วรา ภรณ์กล่าว เนื่องจากความพยายาม ที่จะปรับกลยุทธ์ของธุรกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขัน

ผลการดำเนินงานของ D ELTA ปี 2542 อยู่ในเกณฑ์ดี มีกำไร 2,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.84% จาก ปี 2541 โดยมียอดขายเฉลี่ยกว่า 50 ล้านเหรียญต่อเดือน จากการขยายตัวของความต้องการคอมพิวเตอร์ตลาดโลก

วราภรณ์บอกว่าความต้องการของ Monitor จะเติบโตประมาณ 20% ในปีนี้ จากความต้องการ internet ที่เพิ่มขึ้น และการลดลงของราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ "DELTA น่าจะได้รับประโยชน์อย่างมาก"

อย่างไรก็ดีบริษัทยังคงเผชิญปัญหาการแข่งขัน ที่รุนแรงด้านราคา ซึ่งกดดันต่อเนื่องถึงอัตรากำไร เพื่อลดปัญหาบริษัทจึงเพิ่มสัดส่วนการผลิต Monitor ขนาด 17 นิ้ว ซึ่งมีอัตรากำไรสูงกว่าในสัดส่วน ที่มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอีกเท่าตัว

นอกจากนี้ DELTA ยังให้ความสำคัญต่อ SPS เพิ่มมากขึ้นสังเกตได้ จากปีที่ผ่านมาสินค้าดังกล่าวสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 47% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่ Monitor ลดลงเหลือ 47% เนื่องจาก SPS มีอัตรากำไรสูงกว่า Monitor

อีกทั้งกระจายฐานลูกค้าไปสู่การใช้งานในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งบริษัทมุ่งเน้นการจำหน่ายอแดปเตอร์ และชาร์จเจอร์ให้กับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ "DELTA มีอัตราเติบโตกว่า 50% ในปีนี้" วราภรณ์บอก โดยบริษัทเริ่มผลิต เพื่อจำหน่ายให้กับอีริคสันตั้งแต่ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจากับโมโตโรล่า

แม้ว่าอัตราการขยายตัวของตลาดคอมพิวเตอร์จะเติบโตไม่หวือหวาเหมือนอดีต แต่การขยายตัวยอดขาย และกำไรของ DELTA จะสามารถทำได้ในระดับ ที่ใกล้เคียงกับปีก่อน

ด้าน HANA เป็นหุ้น ที่น่าสนใจจากปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เพราะได้ประโยชน์จากการเติบโต ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์โลก โดยเฉพาะการเติบโตของอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ ปี 2542 ทำกำไรได้ 1,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.70% ในปี 2541

หลังจาก ที่ HANA นำบริษัทฮานา เทคโนโลยีในฮ่องกงผนวกกิจการกับแอดวานซ์ ไมโครโทรนิคส์ เทคโนโลยีในอเมริกา ซึ่งเป็นกิจการในเครือของบริดจ์ แคปปิตอลเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถรับรู้รายได้จาก HTL ที่เดิมมีสัดส่วนประมาณ 50% ของรายได้ทั้งกลุ่ม โดยจะรับรู้ 43% ของบริษัทแอดวานซ์ อินเตอร์คอนเน็ค เทคโนโลยี (AIT) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตชิปแห่งอินโดนีเซียแทน

เหตุการณ์เหล่านี้คาดว่าไม่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของ HANA มากนัก เพราะกำลังการผลิตใน ไทยมีการใช้อัตรากำลังการผลิตที่ดีขึ้นกว่าจุดคุ้มทุน และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก

สำหรับแผนการขยายการลงทุนจะตั้งหน่วยงานการผลิตไมโครดิสเพลย์ในไทยขึ้นในช่วงปลาย ปีนี้ "น่าจะ เป็นผลดีต่อบริษัทโดยรวม" วราภรณ์บอก แม้ปัจจุบันไมโครดิสเพลย์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนักแต่ถ้ามีการเชื่อมต่อ เข้ากับอุปกรณ์สื่อสารประเภทอื่นแล้วน่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี

สำหรับเม็ดเงินขยายการลงทุน HANA จะใช้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมุ่งไป ที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค หรือในอเมริกา นโยบายนี้จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทในแง่ความเสี่ยงจากธุรกิจใหม่ ที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน และแหล่งเงินทุน

อย่างไรก็ตาม HANA จะสามารถดำเนินการได้จากสถานะการเงิน ที่แข็ง แกร่ง โดยเฉพาะการที่ AIT เข้าจดทะเบียนในตลาดแนสแดคหรือตลาด สิงคโปร์แล้ว คาดว่าจะช่วยให้การจัดหาเง ินทุนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ด้าน KCE หลังจากขาดทุน 1,158 ล้านบาทในปี 2541 กลับมีกำไร 417 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุ ที่อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการ ผลิต PCB ในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้น

"อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ทำให้ความต้องการ PCB เพิ่มสูงขึ้น" นักวิเคราะห์บล.เอบีเอ็น แอมโร เอเชียกล่าว

จากผลการดำเนินงานของ KCE ไตรมาส 1 ปีนี้ปรากฏว่ามีกำไรสุทธิ 119.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ ที่ได้รับจากการเติบโตของความต้องการ PCB ใน ตลาดโลก และบริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

การคาดการณ์ในแง่ดีทำให้ KCE ตัดสินใจกู้เงิน 1,280 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ เพื่อผลิต PCB หลังจากขยายกำลังการผลิตส่วนนี้จะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 50% "คาดว่ากำไรจะเติบโตในอัตราก้าวกระโดด" วราภรณ์บอก

อย่างไรก็ดีภาระทางการเงินอันเกิดจากการลงทุน และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทร่วม อวาตา ซึ่งปิดกิจการไปแล้วทำให้ฐานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งเท่า DELTA และ HANA แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะมีกระแสเงินสดกว่า 500 ล้านบาทต่อปี รวมถึงการเพิ่มทุนอาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ "คาดว่าปีนี้จะมียอดขายเพิ่มขึ้น 19% และปีหน้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 34%" นักวิเคราะห์แห่งเอบีเอ็นฯ บอก

สำหรับ KRP ผู้มีธุรกิจหลักอยู่ ที่การผลิต Suspension Assembly ดูเหมือนจะมีผลประกอบการในไตรมาส 1 ปีนี้ไม่สดใสเท่าใด โดยมียอดขายลดลง 29% จากปริมาณการขาย 6.3 ล้านชิ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ เทียบกับ 10 ล้านชิ้นในงวดเดียวกันของปีก่อน และจากการเริ่มทำการผลิต Wireless Suspension ในไตรมาสสุดท้ายปีที่ผ่านมาทำให้ราคาขายเฉลี่ยต่อชิ้นเพิ่มขึ้น 15% "แต่ปริมาณขายยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุน ที่ 65% หรือปริมาณการผลิต 23 ล้านชิ้นต่อไตรมาส"

ส่งผลให้ KRP มี Gross Margin เป็นลบติดต่อกันเป็นไตรมาส ที่สาม ทำให้มีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน 151 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับขาดทุน 105 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปีที่แล้ว "แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับขาดทุน 225 ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว" นักวิเคราะห์แห่งเอบีเอ็นฯ กล่าว

อย่างไรก็ตาม KRP คาดว่าไตรมาส 2 ปีนี้จะมีปริมาณขายสินค้า ประมาณ 20-25 ล้านชิ้น จากการเปลี่ยนแผนการผลิตโดยผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนน้อยลง เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากเกินระดับคุ้มทุน ทำให้ผลประกอบการกระเตื้องขึ้น ถ้าสามารถขายสินค้าได้มากกว่า 23 ล้านชิ้นจะไม่ขาดทุนอีก

ด้านบล.พัฒนสินคาดว่า KRP จะมีผลการดำเนินงานในทิศทางที่ดีขึ้น จากการผลิต Wireless Suspen-sion "เชื่อว่าอัตราการสูญเสียจะลดลง"

อีกทั้งฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้นหลังเพิ่มทุน 1,122 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยได้นำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ระยะยาวส่งผลให้สภาพคล่องปรับตัวดีขึ้น ที่สำคัญบริษัทขยายฐานลูกค้าออกไป ซึ่งเป็นผู้ผลิตหัวอ่าน HDD รายใหญ่ของโลก แม้ปัจจุบันจะมี Seagate เป็นลูกค้ารายใหญ่ในสัดส่วน 78% ในปีที่ผ่านมาก็ตาม

"KRP จะมีกำไรในไตรมาส 2 ปีนี้ เป็นผลมาจาก Seagate มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และสิ้นปีนี้น่าจะมีกำไร" นักวิเคราะห์แห่งพัฒนสินกล่าว

อย่างไรก็ดีแม้ผลประกอบการ KRP ในระยะยาวมีทิศทางเชิงบวก แต่ภาวะอุตสาหกรรม HDD ที่ยังเติบโตในระดับต่ำกว่า 10% ทำให้ความน่าสนใจของหุ้น KRP ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ DELTA, HANA และ KCE

ขณะที่บมจ.ยีเอสเอส อาร์เรย์ เทคโนโลยี (GSS) กำลังพิจารณาขอถอนหุ้นออกจากตลาดฯ หลังจาก ACT Manufacturing Inc. ผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อเมริกาติดต่อขอซื้อหุ้นทั้งหมด

ด้านบมจ.ไฮโปร อีเล็คทรอนิคส์ (HI PRO) ได้ถอนตัวออกไปแล้วด้วยเหตุผล "ไม่มีสภาพคล่องเท่า ที่ควร" และมีแผนขยายการลงทุนในจีน จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านตลาดฯ

สำหรับหุ้นตัวอื่นๆ ได้แก่ บมจ.เซอร์คิท อีเลคโทรนิคส ์ อุตสาหกรรม (CIRKIT) และบมจ. ดราโก้ (DRACO) ไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนรวมทั้ง นักวิเคราะห์หุ้นสำนักต่างๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us