Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
เราผูกขาดโดยธรรมชาติ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Confidence of being a Regional Leader

   
www resources

โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)

   
search resources

ปตท., บมจ.
กระทรวงอุตสาหกรรม
ยูโนแคล ไทยแลนด์
องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อ.ก.ธ.)
วิเศษ จูภิบาล
Energy




"ผูกขาดโดยธรรมชาติ" เป็นนิยามที่วิเศษ จูภิบาล ให้ความหมาย เวลาพูดถึงธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท.

"ตอนแรกๆ ที่เราสร้างท่อก๊าซขึ้นมา ความต้องการสูงสุดมีเพียงแค่ 100-250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แล้วแหล่งก๊าซก็มีที่แหล่งเอราวัณแห่งเดียว แต่เราต้องวางท่อยาวถึงกว่า 400 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนตั้ง 500 ล้านดอลลาร์ ฝรั่งมันยังไม่เอาเลย เพราะถ้าเกิดดีมานด์ไม่เพิ่มขึ้น ก็ขาดทุน ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าดีมานด์จะเป็นยังไง แต่เราก็ลงทุน เพราะถ้าฝรั่งไม่สร้าง เราก็สร้างเสียเอง แล้วพอเราลงทุนไปแล้ว คนอื่นจะมาลงอีก มันก็ลงไม่ได้แล้ว" เขาอธิบาย

ประเทศไทยเริ่มมีการให้สัมปทานสำรวจหาปิโตรเลียมในทะเล เมื่อปี 2514 ต่อมาได้มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ทำสัญญากับบริษัทยูเนียนออยล์แห่งประเทศไทย (UNOCAL) ให้ UNOCAL เป็นผู้ก่อสร้างแท่นผลิตก๊าซ และนำก๊าซขึ้นมายังปากหลุม ส่วนราชการจะเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างวางแนวท่อก๊าซใต้น้ำ และบนบกเพื่อนำก๊าซจากแหล่งผลิตไปหาผู้บริโภค แต่มีเงื่อนไขว่าในการจะให้บริษัทผลิตก๊าซขึ้นมาส่งให้ระบบท่อนั้น จะต้องมีผู้รับซื้อก๊าซอย่างน้อยวันละ 150 ล้านลูกบาศก์ฟุต จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุน

ในการนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ก่อตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อ.ก.ธ.) ขึ้นเพื่อรับภาระหน้าที่ดังกล่าว ในวันที่ 9 มีนาคม 2520 แต่ระหว่างการประกวดราคาเพื่อก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ วางท่อส่งก๊าซ ในเดือนธันวาคม 2521 ได้มีการตราพระราชบัญญัติ ปตท.ขึ้น อ.ก.ธ.จึงถูกยุบ และโอนการดำเนินงานทั้งหมดไปอยู่ที่ ปตท.

เมื่อรับโอนภาระทั้งหมดมาแล้ว ปตท.จึงเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซ โดยได้วางท่อใต้น้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34 นิ้ว ในระยะทาง 425 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นท่อส่งปิโตรเลียมทางทะเลเส้นเดียวที่ยาวที่สุดในโลก จากแหล่งก๊าซในอ่าวไทย มาขึ้นบกที่จังหวัดระยอง และวางท่อบนบกต่อไปยังผู้ใช้คือ โรงไฟฟ้าบางปะกง และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ของ กฟผ.ระยะทาง 170 กิโลเมตร

ในการลงทุนครั้งนั้น ปตท.ในฐานะหน่วยงานของรัฐมองเรื่องของความมั่นคงทางด้านพลังงานเป็นหลัก แต่ต่อมาเมื่อมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นได้มีการขยายการลงทุนวางท่อเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงข่ายท่อก๊าซเหล่านี้ จึงเป็นทรัพย์สินที่สร้างมูลค่ามหาศาล และเป็นจุดแข็งทางธุรกิจของ ปตท.ในปัจจุบัน

ปัจจุบันก็ไม่มีกฎหมายที่ห้ามไม่ให้คนอื่นเข้ามาลงทุนวางท่อ แต่ก็คงไม่มีใครกล้าเข้ามาลง เพราะเขาไม่สามารถแข่งขันได้ เรามีแหล่งก๊าซตั้งเยอะที่จะป้อนเข้าไป ถ้าผู้ลงทุนใหม่มีแหล่งก๊าซอยู่เพียงแหล่งเดียว ขืนลงทุนไปก็เจ๊ง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us