Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
จากแมกเนติกสู่เพาเวอร์ซัปพลายครบวงจร             
 

   
related stories

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ โมเดลใหม่ ธุรกิจรับจ้างผลิต
หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มดีขึ้น

   
search resources

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์, บมจ.
Electronic Components




บมจ.เดลต้า อเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในไทยกำลังเบ่งบานท่ามกลางความปีติของภาครัฐ ภายใต้ความรู้สึกเข้าใจว่าอุตสาหกรรมนี้ เป็นการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ที่ภาครัฐควรส่งเสริมอย่างแข็งขันในทุกทาง

หากย้อนเวลากลับไปในปี 2531 ดังกล่าว ชื่อเสียงของ Semiconductor Venture International : SVI ของปีเตอร ์ เดวิด ยูดอล วิศวกร ชาวอังกฤษกำลังโด่งดัง และได้รับการส่งเสริมด้านการลงทุน รวมถึงการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ชาญ อัศวโชคกำลังเริ่มลง แรง เพื่อสร้างตำนานบมจ.อัลฟาเทค อีเล็คโทรนิคส์ (ATEC ) ด้วย

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะ ที่เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่ง หรือภาคการผลิต ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง แท้ ที่จริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมแบ่งงานกันทำ (division of labour industry) ที่บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อรับประโยชน์จากแรงงานราคาต่ำ ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น และการส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์จากกลไกของภาครัฐ ที่มองหาการลงทุนจากต่างประเทศมาโดยตลอด

ผู้ประกอบการจำนวนมาก ที่เข้ามาลงทุนในไทย ล้วนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐไทยเป็นอย่างดี โดยมี BOI เป็นหัวหอกในการเอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยความวาดหวังว่าบริษัทเหล่านี้จะถ่ายโอนเทคโนโลยีให้แก่แรงงานไทย

การเกิดขึ้นของ DELTA ก็อยู่ในบริบท ที่ไม่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ มากนัก เพราะในห้วงเวลาดังกล่าว เดลตรอน โฮลดิ้ง (Deltron Holding) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์ (Delta Electronics Inc.) บริษัทผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวัน ด้วยเทคโนโลยีขั้นต้นถึงระดับกลาง เริ่มปรับตัวไปสู่การผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับสูง และจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต ขั้นต้น และระดับกลางไปสู่แหล่ง ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า

ประกอบกับเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์ ประสบกับปัญหาการขาดแคลน แรงงานในไต้หวัน DELTA ในระยะเริ่มแรกจึงอยู่ในฐานะ ที่เป็นยุทธศาสตร์ การผลิตสินค้า เพื่อป้อนตลาดส่งออกให้กับกลุ่มเดลต้า โดยสินค้า ที่ผลิตได้ จาก DELTA ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามาตรฐาน ที่ต้องใช้แรงงานมาก ขณะที่ เดลต้าในไต้หวันได้ปรับตัวไปสู่การเป็นผู้ผลิตต้องใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น

ก่อนหน้าที่จะเข้ามาลงทุนในไทย กลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกรจากไต้หวันติดต่อขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ต่อมาในปี 2530 BOI ได้อนุมัติให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนสำหรับการผลิตแมกเนติก, อีเอ็มไอ, SPS และ Adaptor

ปี 2533 DELTA เริ่มผลิตแมกเนติก และอีเอ็มไอในโรงงาน ที่ 1 ต่อมา ในปลายปีเดียวกันการผลิต SPS และ Adaptorก็เริ่มขึ้น

ปี 2535 ผลิตจอมอนิเตอร์เพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งหากพิจารณาจากสายการผลิต ที่มีอยู่ จอมอนิเตอร์ ก็คือ การนำผลิตภัณฑ์ SPS, อีเอ็มไอ และแมกเนติก ที่ผลิตได้มาผนวกกับความเชี่ยวชาญในวงจรอนาล็อก มาเป็นพื้นฐานในการผลิตมอนิเตอร์นั่นเอง

กล่าวได้ว่าการเติบโตของ DELTA ตั้งอยู่บน พื้นฐานของผลิตภัณฑ์พื้นฐานอย่างชิ้นส่วนแมกเนติก ซึ่งมีความสำคัญ และเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกประเภท โดยแมกเนติก ที่ผลิตได้ในปัจจุบันเป็นไป เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัทเอง

ในปี 2536 DELTA ต้องปรับตัวออกจากการผลิตสินค้ามาตรฐาน และ เทคโนโลยีขั้นต่ำไปสู่การผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง พร้อมกับการพัฒนา ให้สามารถแข่งขัน และมีหลักประกันในสายการผลิต ที่ยาวนานกว่าเดิมได้ หลังจากเกิดวิกฤติการณ์ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ช่วงปี 25 35 ส่งผลให้ บริษัทอย่าง SVI ประสบปัญหาความอยู่รอดมาก่อนหน้านั้น

สิ่งที่ DELTA ดำเนินการในห้วงเวลาดังกล่าวคือ การจัดตั้งแผนกออกแบบ และพัฒนาสินค้าประเภทจอ มอนิเตอร์ และ SPS เพื่อเข้าสู่ตลาด ODM ซึ่งจะเป็นหลักประกันในความเสี่ยงของสายการผลิต เพราะลูกค้า ไม่สามารถเปลี่ยนผู้ผลิตสินค้าได้ง่ายหากเปรียบเทียบกับสินค้ามาตรฐาน ที่มีผู้ผลิตจำนวนมาก

การรุกครั้งนั้น ส่งผลให้ SPS และจอมอนิเตอร์กลายเป็นสินค้าหลักของ บริษัทโดยในปี 2541 และ 2542 รายได้จากการขายสินค้าทั้งสองมีมูลค่า รวมคิดเป็น 94% ของรายได้ทั้งหมด และ DELTA นับเป็นผู้ผลิต SPS รายใหญ่รายหนึ่งของโลก โดยสามารถถือครองส่วนแบ่งในตลาดโลกประมาณ 26-30%

สิ่งที่ DELTA แตกต่างจาก SVI และ ATEC คือ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้รับจ้างผลิต เซมิคอนดัคเตอร์, แผงวงจรไอซี และเวเฟอร์แฟบฯ ซึ่งต้องใช้ เทคโนโลยีระดับสูง ขณะที่ DELTA อยู่ในกลุ่ม Medium-End นอกจากนี้ ยังมีความสามารถสร้างพันธมิตรกับคู่ค้าได้หลากหลายกว่า และมีเครือข่ายระบบการผลิตกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งก็คือ เครือข่ายของการแบ่งงานกันทำ ที่ส่งผลให้ DELTA ไม่จำเป็นต้องวิ่งตามเทคโนโลยี อย่างที่ชาญ อัศวโชคเคย ทำ

เพราะการวิจัย และการพัฒนารวมถึงการผลิต ที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับ ที่สูงเกินกว่าจะผลิตได้ในไทยจะเป็นหน้าที่ของโรงงานในไต้หวันทั้งสิ้น DELTA เพียงแต่คอยรับโอนการผลิตสินค้า ที่ไม่เหมาะจะผลิตในไต้หวันอีกต่อไป มาทำ โดยอาศัยเพียงทักษะขั้นทั่วไปของคนงานไทยมาประกอบส่วนเท่านั้น มิได้เกี่ยวเนื่องกับการถ่ายโอนเทคโนโลยีแต่อย่างใด ขณะที่การผลิตด้วยเทคโนโลยี ขั้นต่ำบางส่วนจะถูกเคลื่อนย้ายไปสู่แหล่งอื่นต่อไป

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์จึงอยู่ในฐานะ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเดลต้าทั้งหมด โดยมีโรงงานในประเทศจีน เม็กซิโก และ DELTA ไทย เป็นผู้ใช้ แรงงานในการผลิต เพื่อป้อนให้แก่ตลาดสินค้าของกลุ่ม

แม้จะมีจุดเริ่มต้นอยู่ในบริบท ที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ในวันนี้ SVI และ ATEC คงเหลือทิ้งไว้เพียงตำนาน ขณะที่ DELTA กำลังก้าวเดินไปแต่จะไปสิ้นสุดลง ณ ที่ใด เวลาเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us