Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551
"คุณปิด ลูกเปลี่ยน" เปิดชีวิต ปิดทีวี เพื่อลูกน้อย             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ ระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ

   
search resources

TV
Social
แปลน สารา, บจก.




ตั้งแต่โลกนี้มีโทรทัศน์ ดูเหมือนว่าทีวีจะกลายเป็นเพื่อนซี้กับคนเรามาทุกยุคสมัยโดยเฉพาะกับเด็ก บางบ้านปล่อยให้ทีวีทำหน้าที่ราว "พี่เลี้ยงเด็ก" โดยลืมไปว่า เบื้องหลังกล่องสี่เหลี่ยมที่เป็นดังหน้าต่างบานแรกที่นำเด็กๆ สู่โลกกว้าง ภายในยังเต็มไปด้วยอวิชชา อคติ และกิเลส ซึ่งลูกน้อยไม่ควรที่จะต้องเผชิญกับ "ปิศาจร้าย" เหล่านี้ตามลำพัง

น้องแก้มอายุกว่า 3 ขวบ ในชุดกระโปรงสายเดี่ยว สวมรองเท้าสีชมพูมีส้นบอกว่าโตขึ้นหนูน้อยอยากเป็นดาราแต่งตัวสวยๆ เหมือนที่เห็นในทีวี ส่วนน้องตุ้ยร่างท้วม หนักเกินเด็กในวัยเดียวกันหลายสิบกิโล ยก มือข้างที่ไม่ได้ถือถุงขนมกรุบกรอบยี่ห้อดังที่โฆษณาบ่อยๆ เพื่อตอบว่าอยากเป็นตำรวจ ขณะที่น้องแมนกับน้องเจกำลังฟัดเหวี่ยงต่อสู้กันเลียนแบบการ์ตูนยอดมนุษย์

นี่เป็นภาพปกติที่เห็นได้ในห้องเรียนอนุบาลทั่วไป เด็กน้อยทั้ง 4 คนก็เป็นเพียงเด็กอนุบาลธรรมดา แต่ความสำคัญของ "คนตัวเล็ก" เหล่านี้ก็คือ พวกเขาจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอีก 20 ปีข้างหน้า

มีนักวิชาการด้านเด็กเคยกล่าวว่า โทรทัศน์ก็เปรียบเสมือนอุโมงค์ลับที่นำเด็กข้ามพรมแดนไปสู่โลกของผู้ใหญ่ในฉับพลัน ผ่านการเรียนรู้ จดจำ และเลียนแบบพฤติกรรมที่เห็นซ้ำๆ บ่อยๆ จากทีวีจนซึมลึกกลายเป็นรากฐานทางบุคลิกของพวกเขา

"เด็กวัยอนุบาลเป็นช่วงวัยของการวาง รากฐานทางบุคลิกภาพ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และความเข้าใจต่อโลกผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบซึมซับเป็นหลัก ด้วยสภาพความจำเป็นของวิถีชีวิตในปัจจุบันที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องไปทำงานนอกบ้าน โทรทัศน์จึงเข้ามาทำหน้าที่ "เลี้ยงเด็ก" แทนพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กอนุบาลมีแนวโน้มที่จะเป็น "กลุ่มเสี่ยง" ต่อภัยสังคม อันเกิดจากความเคยชินต่อความรุนแรงและค่านิยมบริโภคนิยม ในเรื่องกิน เล่น เก่ง สวย ดี"

วาทกรรมข้างต้นเป็นหลักการและเหตุผลที่ทำให้บริษัท แปลน สารา จัดงานสัมมนาเรื่อง "ปลูกต้นกล้า ปลูกปัญญา ท้าพายุสังคม ครั้งที่ 2 : แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กวัยอนุบาล เพื่อรู้เท่าทันโทรทัศน์" ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา จำนวนผู้เข้าฟังเสวนามีไม่น้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองและคุณครู ขณะที่สื่อมวลชนเข้าร่วมไม่มาก แต่ดูจะไม่มีผู้ประกอบการและผู้ผลิตรายการทีวีเข้าร่วมสักราย รวมทั้งไม่ยอมรับเชิญขึ้นมาเสวนาบนเวทีแห่งนี้ เหล่าวิทยากรจึงมีเพียงนักวิชาการที่ทำงานด้านเด็ก

นักการศึกษาเหล่านี้เห็นตรงกันว่า จริงอยู่ที่ทีวีสอนให้เด็กได้รู้จักโลกกว้าง เปิดมุมมองที่เขาอาจไม่สัมผัสได้วยประสบการณ์ตรง แต่ทีวีบ้านเราไม่มีรายการสำหรับเด็กมากนัก ขณะที่รายการส่วนใหญ่ไม่สร้างจินตนาการ ไม่พัฒนาสติปัญญา ไม่สอนคุณธรรม และไม่เพิ่มพูนทักษะชีวิตให้แก่เด็ก แต่กลับปลูกฝังค่านิยมบริโภคนิยม ทัศนคติทางเพศที่ไม่เหมาะสม และความเคยชินต่อความรุนแรงให้กับเด็ก ...วาจาก้าวร้าว กิริยาหยาบคาย ภาษาไม่เหมาะสม ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ เอาแต่แต่งตัวสวย คิดแต่เรื่องของตัวเอง มีแต่เรื่องชิงรักหักสวาท อย่างสงครามนางฟ้า หรือสงครามนางทาสและเรื่องการแก้แค้นด้วยการฉุดลากนางเอกไปข่มขืน อย่างจำเลยรัก หรือสวรรค์เบี่ยง ฯลฯ...

สิ่งเหล่านี้เห็นได้บ่อยๆ ในทีวี ราวกับสังคมไม่ได้ตระหนักว่าเด็กอาจจะเลียนแบบพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นค่านิยม แล้วในที่สุดภาพเหล่านี้ก็จะหล่อหลอมเป็นภาพของสังคมไทยในวันหน้า

"อย่าโทษทีวีทั้งหมด ทีวีไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่เราก็ต้องยอมรับว่ามีผลร้ายที่มาจากทีวี โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ เพราะทีวีไม่เคยปฏิบัติกับเด็กในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่มองเด็กเป็นผู้บริโภคที่หลอกง่าย สังคมไทยวันนี้ก็เลยมีประชากรด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น ทุกวัน" รศ.ดร.สมพงศ์ จิตระดับ อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้คร่ำหวอดในการวิจัยเกี่ยวกับสิทธิเด็กกล่าวบนเวที

สำหรับทางออกแรกที่เหล่านักวิชาการพร้อมใจกันแนะนำพ่อแม่ในการปกป้องลูกน้อยจากภัยทีวี ได้แก่ การปิดทีวี ส่วนวิธีที่ง่ายและดีที่สุดจะถ่วงดุลความสนใจของเด็กออกจากทีวีนั่นก็คือ การทำให้เด็กหันมาทำกิจกรรมอย่างอื่นทดแทน โดยเฉพาะการอ่านหนังสือ

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าการอ่านช่วยสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก ส่วนทีวีนอกจากจะไม่พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก ผลจากการวิจัยยังระบุว่าการปล่อยให้ดูทีวีมากๆ จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมอง และไม่ช่วยพัฒนาทักษะในการปฏิสัมพันธ์ทางการใช้ภาษาพูด

แต่สถิติที่น่าตกใจที่วิทยากรบนเวทียกมาพบว่า เด็กไทยใช้เวลาเรียนหนังสือในโรงเรียน เฉลี่ยปีละ 900-1,000 ชั่วโมง แต่ใช้เวลาดูทีวีถึงปีละ 1-1.2 พันชั่วโมง ขณะที่สถิติเมื่อ 5 ปีก่อนพบว่า เด็กไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงไม่ถึง 3 นาทีต่อวันเท่านั้นเอง แต่หลายบ้าน กลับปล่อยให้เด็กดูทีวีเฉลี่ยมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนเกือบทุกบ้านจะไม่สามารถปฏิเสธหรือตัดขาดทีวีไปจากชีวิตของลูกน้อยได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรต้องทำก็คือดูแลและจัดการไม่ให้ภัยจากทีวีคุกคามลูกน้อยได้ ด้วยการจำกัดเวลาที่พอเหมาะและเลือกรายการที่เหมาะสมให้ลูกดูและดูกับลูกด้วย

วิทยากรยังได้แนะนำอีกวิธีในการช่วยปกป้องลูก และปรับปรุงหน้าจอ รวมถึงยังเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในระยะยาว นั่นก็คือการมีส่วนร่วมในการจัด "เรตติ้ง" รายการทีวี ระบบการจัดความเหมาะสมของสื่อ (Media Evaluation System: ME) หรือ "เรตติ้ง" ถูกคาดหวังจะเป็นเครื่องมือที่มาช่วยคุ้มครองเด็กจากภัยคุกคามจากสื่อ เป็นกลไกในการจำแนกเนื้อหารายการโทรทัศน์ตามอายุของผู้ชม เพื่อจัดเวลาออกอากาศตามความเหมาะสมกับรายการ เช่น รายการที่ได้เรต "ฉ" (เฉพาะสำหรับผู้ใหญ่เพราะมีเนื้อหาทางด้านเซ็กซ์ ความรุนแรง และภาษาหยาบคายในระดับที่รุนแรง) ถูกจำกัดเวลาออกอากาศให้อยู่ช่วงหลัง 22.00-05.00 น. เป็นต้น

สำหรับช่วงเวลาของเด็ก ได้แก่ 16.00-20.00 น. ในวันธรรมดา และในวันเสาร์-อาทิตย์ จะเพิ่มช่วง 6.00-10.00 น. รายการที่ออกอากาศในช่วงนี้ได้ถูกกำหนดให้เฉพาะ รายการเรต "ป" (รายการที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ไม่มีความรุนแรง เซ็กซ์ และภาษาที่ไม่เหมาะสม) เรต "ด" (รายการที่เหมาะกับเด็กวัย 6-13 ปี) และเรต "ท" (รายการที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย) เพื่อทำให้ช่วงนี้เป็น "ช่วงเวลาสีขาว" สำหรับเด็ก

เรตติ้งไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เดิมยังเป็นการให้เรตติ้งก่อนออกอากาศโดยสถานีและผู้ผลิตฝ่ายเดียว ทั้งนี้ หัวใจของระบบ ME อยู่ที่การมีส่วนร่วมในการจัดเรตติ้งของภาคประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยผ่านทาง SMS และเว็บไซต์ www.me.or.th ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินและคลิปรายการย้อนหลังให้พร้อม

"เด็กเล็กๆ ยังเรียกร้องและปกป้องจากภัยหน้าจอที่ผู้ใหญ่บางคนยัดเยียดให้ยังไม่ได้ มันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ทุกคนที่จะต้องร่วมกันปกป้องพวกเขา" ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวบนเวที

ธิดาเชื่อว่า การโหวตจะสร้างแรงกระเพื่อมที่นำไปสู่การพัฒนาเกณฑ์ในการเรตติ้งที่ดีขึ้น และการ "พรีเรตติ้ง" ที่ผู้ผลิตรายการจะกำหนดเรตติ้งของตัวเองตั้งแต่ก่อนผลิต อันเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนหน้าจอให้เป็นมิตรกับเด็กมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาสีขาว

แม้อาจจะต้องใช้เวลานาน แต่กรุงโรมก็ไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว และกว่าจะได้ TPBS มาเป็นช่องทีวีสาธารณะของไทยก็ต้องใช้เวลาร่วม 20 ปี ทว่าจะเสียเวลาไม่ได้อีกแล้ว เพราะวันนี้สื่อโทรทัศน์ไทยถึงขั้นวิกฤติที่สุดเท่าที่เธอเคยเห็นมาตลอด 28 ปีในชีวิตการทำงาน แวดวงอนุบาลศึกษาของเธอ

ท้ายสุด ทีวีอาจไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้เด็กน้อยตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของ "เภทภัย" จากทีวี ปัญหาที่แท้จริงอาจมาจากวินัยของพ่อแม่ผู้ปกครอง หลายคนอาจเคยคิดที่จะปิดทีวีเพื่อลูก แต่มีไม่น้อยที่ยัง "ปิดทีวี" ให้ตัวเองไม่ได้ หลายคนที่อ้างว่าไม่มีเวลาดูแลลูกแล้วปล่อยเป็นหน้าที่ของ "พี่เลี้ยงหน้าเหลี่ยม" และยังมีข้ออ้างอีกหลายอย่างที่เกิดจาก "การขาดวินัยของพ่อแม่"

...โดยลืมไปว่า ลูกน้อยจะเป็นเทพบุตร เทพธิดา หรือซาตาน ก็ขึ้นอยู่กับการอบรมปลูกฝังพวกเขาในช่วงวัยอนุบาลนี้ แต่หากไม่ใส่ใจลูกตั้งแต่วัยนี้ก็เท่ากับคุณทิ้งลูกไปแล้วทั้งชีวิต...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us