|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2551
|
|
ลายผ้าตลอดช่วงอายุ 300 ปีที่ผ่านมา ข้าวของเครื่องใช้ในร้านค้ายุคเก่า รายชื่อหมู่ดาวบนท้องฟ้า และที่มาของรถไฟ ทุกอย่างที่กล่าวมาหาชมได้จากพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในซิดนีย์
อะไรที่ทำให้ผู้คนต้องหยุดยืนอยู่หน้ากระจกแล้วก้มลงอ่านข้อความที่ปรากฏบนแผ่นพลาสติกสีขาวตรงหน้าใจความว่า "หูห่วงอะลูมิเนียมที่ใช้ดึงเปิดฝากระป๋องถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2503 อีกสิบปีให้หลัง Mike Debenham ก็ทำการคิดค้นหูห่วงแบบใหม่ที่ช่วยเปิดกระป๋องซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Presto pop-top can" เขาออกแบบให้ผู้ใช้กดปลายหูห่วงลงบนฝากระป๋อง ออกแบบให้ยุบตัวลงเป็นรูตามขนาดที่ต้องการ และปลดปล่อยความดันจากภายในสู่นอกกระป๋องและกลายเป็นสิทธิบัตรกระป๋องติดหูห่วงที่เขาเป็นเจ้าของจนถึงทุกวันนี้" เป็นข้อความที่สื่อให้เห็นถึงการพลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของคนทั้งโลก เพียงเพราะการคิดค้นหูห่วงบนฝากระป๋องอะลูมิเนียมธรรมดา ทำให้ผู้คนไม่ต้องใช้ที่เปิดฝากระป๋องอีกต่อไป
การนำเสนอความเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตทุกรูปแบบถือเป็นเป้าหมายสำคัญในฐานะของการเป็นพิพิธภัณฑ์ของ "Powerhouse Museum" กระทั่งนวัตกรรมการกดน้ำในโถชักโครก เครื่องมือรักษาอาการนอนกรนสำหรับคนอ้วน หัวจักรรถไฟ หรือแม้แต่แนวคิดในการพัฒนาสัญญาณไฟจราจร Powerhouse Museum ก็บอกว่ามันเปลี่ยนโฉมหน้าการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกได้อย่างไร
เมื่อพิศจากภายนอกของ Powerhouse Museum ซึ่งเป็นตึกปูนชั้นเดียว ไร้สีฉูดฉาดทาทับ และตั้งโดดเด่นอยู่บนถนนคนละฝั่งกับตลาดนัดขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองซิดนีย์ มิอาจบ่งบอกหรือสื่อความหมายได้เลยว่าสถานที่แห่งนี้พิเศษอะไรมากกว่าการเป็นตึกที่ออกแบบให้แตกต่างกับตึกที่อยู่รายล้อมเพียงเท่านั้น
แต่เป็นเวลากว่า 129 ปีแล้วที่ตึกสีปูนนี้ทำหน้าที่รับใช้สังคมออสเตรเลียและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกในฐานะของการเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้
Powerhouse Museum ก่อตั้งขึ้นในปี 2422 หลังจากเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง ก่อนมาลงตัวที่ชื่อ Powerhouse Museum เป็นส่วนหนึ่งของ Museum of Applied Arts and Sciences ในซิดนีย์ แต่คนส่วนใหญ่มักรู้จักและเรียกชื่อ Powerhouse Museum ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว Powerhouse Museum ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องราวทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมส่วนของการจัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การสื่อสาร การขนส่ง เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ สิ่งพิมพ์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อวกาศ ไปจนถึงกลไกทำงานของเครื่องยนต์
แม้ขนาดพื้นที่ของ Powerhouse Museum จะไม่ใหญ่เท่าพิพิธภัณฑ์ดังๆ ในอีกหลายประเทศ แต่ความโดดเด่นและแตกต่างอย่างการเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ มากกว่าการเป็นสถานที่เก็บรักษาของเก่าก็ทำให้ Powerhouse Museum น่าสนใจขึ้นมาทันที
ที่นี่มีฐานข้อมูลการออกแบบลายผ้าตลอดระยะเวลา 300 ปี ที่เคยเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งๆ ที่อายุของพิพิธภัณฑ์ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของลายผ้าที่เคยคิดค้นขึ้นมาและเปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ทั้งการสัมผัสด้วยตนเองและให้บริการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จัดแสดงแบบถาวรหลากหลายประเภทแล้ว ยังมีนิทรรศการชั่วคราวหมุนเวียนมาใช้พื้นที่ในการนำเสนอความรู้ให้กับผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสตลอดทั้งปี โดยมากแล้วผู้นำชมแนะนำว่าการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลและความรู้อย่าง Powerhouse Museum ไม่สามารถทำได้เพียงวันเดียวเท่านั้น แต่อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น เพื่อเก็บรายละเอียดที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน
ทุกๆ ก้าวใน Powerhouse Museum ผู้คนมักจะได้สัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของมนุษยชาติตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และยังเสนอแนวคิดของการใช้ชีวิตในอนาคตด้วยในเวลาเดียวกัน
Powerhouse Museum จึงเป็นมากกว่าสถานที่เก็บรวบรวมของเก่า แต่สถานที่แห่งนี้กำลังทำหน้าที่เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ อย่างน้อยก็สำหรับคนที่กำลังก้มลงอ่านข้อความหน้าตู้กระจกใส
|
|
|
|
|