|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การใช้เวลาอยู่บนเที่ยวบินนานกว่า 8-10 ชั่วโมงในเครื่องบิน โดยไม่มีอะไรทำ นอกจากดูภาพยนตร์หรืออ่านหนังสือแล้ว อาหารที่เสิรฟบนเครื่องจุดขายที่ทุกสายการบินต่างมีการพัฒนาและปรับปรุงมาอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง ดังนั้นความสำคัญของอาหารบนเครื่องบินจึงเป็นเรื่องที่ผู้โดยสารคาดหวังว่าควรมีคุณภาพดี และมีปริมาณพอเพียงต่อความต้องการของผู้โดยสาร
แน่นอน...ภาพการแข่งขันในธุรกิจสายการบินที่ใช้อาหารบนเครื่องบินมาเป็นกลยุทธ์ผูกมัดใจผู้โดยสาร จึงต้องมีการสลับสับเปลี่ยนเมนูอยู่ตลอดทุกๆ 3-6 เดือน
ปัจจุบันสายการบินไหนเสิร์ฟอาหารมากกว่า และมีรสชาติของอาหารถูกปากผู้โดยสารทุกชั้นที่นั่ง จะถูกเลือกใช้บริการในอันดับต้นๆก็ว่าได้
ส่งผลให้เวลานี้สายการบินหลายแห่งถึงกับมียุทธศาสตร์ด้านบริการอาหารเป็นจุดขายสร้างอิมเมจให้กับตัวเอง
โดยเฉพาะสายการบินเกาหลี ที่เสิร์ฟอาหารแบบผักอนามัย ให้กับผู้โดยสารบนเครื่องเป็นเมนูหลัก
ขณะที่กลยุทธ์สายการบินเดลต้าที่บินตรงจากสนามบิน JFK ถึงมุมใบ สร้างความเซอร์ไพร์สผู้โดยสารด้วยการเสิร์ฟอาหารโดยพ่อครัวชั้นนำชื่อดังของประเทศขึ้นไปอยู่บนเครื่องด้วย
แม้แต่สายการบินไชน่า เซาเทิร์น ถึงกับจัดเที่ยวบินเทศกาลอาหารบนเครื่องบินถึง 6,000 เที่ยวบิน เรียกว่ากินกันสำราญทุกเที่ยวบิน
ล่าสุด สายการบิน เอมิเรตส์ มีการปรับและยกระดับบริการอาหาร โดยผู้โดยสารที่บินชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจจะได้รับอาหารปรุงโดยพ่อครัวจากโรงแรมชั้นหนึ่งในดูไบมาเซิฟกันถึงที่นั่ง
ขณะเดียวกันผู้โดยสารสายการบิน VLM แห่งเมืองอันสเวิร์บ ประมาณร้อยละ 80 ถูกให้บริการอาหารว่างและอาหารประเภทสแน็ก และแถมด้วยเครื่องดื่มทุกเที่ยวบิน
ไม่เว้นแม้แต่สายการบิน ANA ของญี่ปุ่นที่มองว่าอาหารเป็นเรื่องใหญ่และต้องอร่อยไปพร้อมๆกับความสวยงามของวิธีการจัดมาให้บริการ
นอกเหนือจากเก้าอี้ที่นั่งกับความบันเทิงในจอตู้ หรือ KrisWorld ซึ่งมีรูปแบบที่ดูทันสมัยและหลากหลายมากขึ้นการปรับโฉมใหม่ของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ที่ทำให้ผู้โดยสารเซอร์ไพรส์คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของครัวลอยฟ้า
ขณะเดียวกันเมนูทั้งหมดที่ถูกเสิร์ฟบนเครื่องบินลำใหม่ B777-300ER โดยทีมเชฟที่มีประสบการณ์มายาวนานจะคอยเนรมิตอาหารเลิศรสแก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการทั้งเที่ยวบินไปและกลับ
กลยุทธ์ง่ายๆที่ทีมเชฟทั้งหมดนี้จะถูกแบ่งหน้าที่ทำอาหารกันอย่างชัดเจน สำหรับเชฟเอเชียนั้นแต่ละคนจะมีหน้าที่รังสรรค์เมนู Asian Ethic หรืออาหารพื้นบ้านแบบเอเชีย เสิร์ฟแก่ผู้โดยสารในชั้นประหยัดให้ได้อิ่มอร่อย พร้อมกับซึมซับเอาวัฒนธรรมอาหารของชาวเอเชียในขณะกำลังเพลิดเพลินจานเด็ด
ขณะที่ชั้นธุรกิจ ซึ่งจะเสิร์ฟทั้งอาหารเอเชียและยุโรป ก็จะเป็นหน้าที่ของเชฟฝรั่งที่มีความถนัดเฉพาะด้าน ในชั้นนี้มีเมนูที่หลากหลายมากขึ้น เช่นว่า ปลา เนื้อ ไก่ หมู นอกจากนั้นขนาดที่เสิร์ฟก็จะเป็นแบบบิ๊กไซส์อีกนิด เรียกว่าผู้โดยสารที่ตีตั๋วจะต้องอิ่มแปล้กันเห็นๆ
ส่วนชั้นหนึ่ง ความอร่อยจะถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างสุดพิเศษ โดยฝีมือของเอกเซ็กคิวทีฟเชฟชาวฝรั่งเศสและลูกมืออีกหลายคนที่ร่วมกันรังสรรค์ เมนูที่เสิร์ฟในชั้นนี้ค่อนข้างจะดูหรูหรา เพราะเขาจะเน้นอาหารฝรั่งเศสเป็นหลัก ใช้ส่วนผสมตามฤดูกาล อย่างช่วงไหนเป็นฤดูของทรัฟเฟิล ก็ถือเป็นลาภปากผู้โดยสารที่จะได้ลิ้มรส สำหรับการเสิร์ฟอาหารนั้นจะไล่เรียงเป็นคอร์ส มีทั้งหมด 6 คอร์ส เช่น ที่นิยมเสิร์ฟในร้านอาหาร พร้อมด้วยเครื่องดื่มชั้นดีจำพวกไวน์ แชมเปญ ซึ่งถือว่าขาดไม่ได้เลย
ความอร่อยทั้งหมดนี้จะเริ่มให้บริการครั้งแรกใน 2 เที่ยวบิน นั่นคือ สิงคโปร์-ปารีส กับ สิงคโปร์-ซูริค ซึ่งตรงกับวันที่โบอิ้งลำยักษ์จะพาผู้โดยสารเหินฟ้า สำหรับคนไทยที่อยากสัมผัสกับความอลังการแบบนี้เห็นทีจะต้องตีตั๋วไปยุโรป และ/หรือถ้าจะไปเอเชียก็คงจะมีแต่เซี่ยงไฮ้ที่เดียวเท่านั้น ส่วนเที่ยวบิน สิงคโปร์-กรุงเทพฯ คาดว่าคงต้องรอไปก่อน
อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวจากสายการบิน ออสเตรียน แอร์ไลน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อาหารบนเครื่องบินจะต้องมีความสดใหม่ และทุกสายการบินแทบจะไม่แตกต่างกันเลย อาจจะมีบ้างสำหรับสายการบินบางแห่งที่ยอมซื้อแบรนด์ดังหรือเชฟจากต่างประเทศมาสร้างจุดขายเพื่อสร้างเมนูอาหารให้เป็นที่พอใจสำหรับผู้โดยสารในแต่ละชั้นที่นั่งของผู้โดยสาร
ขณะเดียวกันก็ต้องมีการเตรียมแผนงานในทุกๆ 6 เดือนเพื่อสร้างเมนูอาหารขึ้นมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ดังนั้นการใช้เชฟที่มีชื่อเสียงมาเป็นตัวสร้างเมนูอาหารให้กับผู้โดยสารจึงกลายเป็นค่านิยมที่ทุกสายการบินโดยเฉพาะเส้นทางที่ยาวไกลจะนำมาปฏิบัติและนับว่าได้ผลดีทีเดียว
|
|
|
|
|