Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551
เพื่อนใหม่ที่ชื่อ "ลักษมี เอ็น.มิตตาล"             
 


   
www resources

Mittal Steel Homepage

   
search resources

Metal and Steel
Mittal Steel
Lakshmi N. Mittal
ArcelorMittal




หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อของ "มร.ลักษมี เอ็น. มิตตาล" มาบ้างแล้ว ในฐานะมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บ แต่บางคนอาจยังไม่คุ้นเคยว่า เศรษฐีผู้นี้เป็นใคร และที่สำคัญเขามาเมืองไทยทำไม!?!

มร.มิตตาล เป็นนักธุรกิจเชื้อสายอินเดีย เจ้าของ "ดีล" เขย่าวงการเหล็กของโลก เมื่อเขานำบริษัท Mittal Steel บริษัทเหล็กจากประเทศอินเดียเข้าเทกโอเว่อร์บริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของยุโรปที่ชื่อ Arcelor ได้สำเร็จภายในชั่วข้ามคืน บริษัท ArcelorMittal บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมก็กลายผู้ผลิตเหล็กและเหล็กกล้ารายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยกำลังการผลิตที่มีสัดส่วนถึง 10% ของทั้งโลก มีโรงงานผลิตเหล็กอยู่ใน 60 ประเทศ มีพนักงานราว 320,000 คน และมีรายได้รวม 105,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีที่ผ่านมา

หลังดีลประวัติศาสตร์ นิตยสาร Financial Times ก็ยกย่องให้ มร.มิตตาล เป็นบุคคลประจำปี (Man of the Year) และในปีที่ผ่านมา นิตยสารไทม์ก็จัดให้เขาเป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดของโลก

การมาเยือนไทยเพียงเวลาสั้นๆ ของอภิมหาเศรษฐีคนนี้เป็นไปตามคำเชิญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการให้ยักษ์ใหญ่วงการเหล็กเข้ามาดูลู่ทางลงทุนในเมืองไทย

"ผมได้พบคุณมิตตาลที่อังกฤษ ตอนที่ไปตกทุกข์ได้ยากอยู่ที่นั่น คุยแล้วเป็นคนใจกว้างเลยชวนมาลงทุนในไทย คนระดับนี้ใครก็อยากได้มาลงทุน ประเทศเราก็อยากได้ จึงเชิญมา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน" ทักษิณเกริ่นก่อนที่จะเชิญเพื่อนใหม่คนนี้ขึ้นแสดงปาฐกถาภายใต้หัวข้อ "สร้างแรงบันดาลใจให้ธุรกิจไทย เข้าใจ เข้าถึงธุรกิจโลก" ที่มีมูลนิธิไทยคมเป็นเจ้าภาพจัดงาน

เนื้อหาการบรรยายของ มร.มิตตาล พูดถึงกว่าที่เขาจะมาเป็นบริษัทระดับโลกได้ต้องผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง ประหนึ่งการให้กำลังใจนักธุรกิจไทยให้สู้ต่อไป ขณะที่นักธุรกิจคนไทยที่ร่วมฟังบรรยายส่วนใหญ่พากันตั้งคำถามว่าเขาจะเข้ามาลงทุนในไทยเมื่อไร และเท่าไร รวมถึงมีพาร์ตเนอร์แล้วหรือยัง??

แม้ มร.มิตตาล จะมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน แต่ดูเหมือนว่าจนบรรทัดสุดท้ายของการปาฐกถา ก็ยังไม่มีคำตอบยืนยันที่ชัดเจน เพียงแต่พูดว่า "คงต้องใช้เวลาศึกษาความเป็นไปได้" แต่ถ้าเขาเข้ามาลงทุนจริงๆ ก็ไม่ต้องสงสัยว่า 1 ในพาร์ตเนอร์สำคัญของเขาจะเป็นใคร

"ผมอยากจะเป็นเพื่อนกับคุณทักษิณไปตลอด" มร.มิตตาล พูดตั้งแต่ก่อนเริ่มบรรยาย

ถ้าความพยายามในการเชิญมหาเศรษฐีชาวอินเดียมาลงทุนในเมืองไทยของอดีตนายกฯ สำเร็จ นี่ก็หมายถึงว่า "ArcelorMittal" จะเป็นยักษ์ใหญ่จากแดนภารตะตนที่สองที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทย โดยยักษ์ตนแรกที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้วด้วยเงินลงทุนร่วมกับบริษัทคนไทยราว 1.3 พันล้าน (บริษัทอินเดียถือหุ้น 70%) นั่นก็คือ "ทาทา มอเตอร์" ค่ายรถที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ผู้ผลิตรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก และเป็นผู้ผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดกลางใหญ่ เป็นอันดับที่ห้าของโลก

ทาทาฯ เป็นอีกบริษัทอินเดียที่ใช้กลยุทธ์เติบโตด้วยการควบกิจการและร่วมทุนเป็นหลัก เช่น การซื้อกิจการ "แดวู" ของเกาหลีใต้ การร่วมทุนกับบริษัทรถยุโรปอย่าง "เฟียต" และการซื้อกิจการของแบรนด์หรูอย่างจากัวร์และแลนด์โรเวอร์จาก "ฟอร์ด มอเตอร์" ค่ายรถจากอังกฤษ อดีตประเทศเจ้าอาณานิคมของอินเดียที่เพิ่งเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้

แต่ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะซ้ำรอยกับกรณีที่ทักษิณเคยออกข่าวว่า มร.โมฮะหมัด อัลฟาเยด เจ้าของแฮร์รอดจะมาลงทุนในไทย ซึ่งจนวันนี้ก็ยังไม่เห็นวี่แวว ความพยายามครั้งนี้ของทักษิณก็ดูจะไม่สูญเปล่านัก เพราะอย่างน้อยในระหว่างการพิจารณาคดีฉ้อโกงต่างๆ การมาเยือนเมืองไทยของเพื่อนใหม่คนนี้ก็ช่วยเรียกเสียงประชานิยมโดยเฉพาะจากเหล่านักธุรกิจกลับคืนมาได้บ้าง และยังทำให้คำมั่นสัญญาของอดีตนายกฯ ที่ว่า "หากได้เงินที่ถูกอายัดคืนจะตั้งกองทุนลงทุนในเอเชีย" ก็ดูมีน้ำหนักขึ้นมาอีกนิด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us