|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2551
|
|
องค์กรที่ปรึกษาอิสระผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการตลาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์และบริการเทคโนโลยีที่ชื่อ “Ovum” เคยจัดอันดับประเทศที่มีการเติบโตของตลาดบรอดแบนด์สูงสุด พบว่าประเทศไทยติด 1 ใน 10 ร่วมกับอินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ รัสเซีย กรีซ ไอร์แลนด์ ตุรกี และยูเครน ไม่ว่าจะในแง่ของจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้แบรนด์วิธที่มากขึ้น และการกำหนดราคาค่าบริการต่อแพ็กเกจ
ตัวเลขเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความหวังให้กับผู้เล่นหลักในตลาดอินเทอร์เน็ตไทยอย่างทรู ทีโอที แต่ยังสร้างความหวังให้กับทีทีแอนด์ทีด้วยในเวลาเดียวกัน
ทีทีแอนด์ทีมี "Maxnet" เป็นเครื่องหมายการค้าในการทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของตนมาเป็นระยะเวลาหลายปี โดยตั้งทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ดูแลกิจการบรอดแบนด์ ในวันที่ทีทีแอนด์ทีพบว่ารายได้ของโทรศัพท์บ้านซึ่งทีทีแอนด์ทีมีอยู่ในมือถึง 1.5 ล้านราย ไม่เพียงแต่จะลดลงแต่ยังไม่เพิ่มได้อีกแล้วนับจากนี้เป็นต้นไป
คาดการณ์กันว่า รายได้ของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของทีทีแอนด์ทีจะแซงหน้ารายได้ของโทรศัพท์บ้านในปีนี้เป็นครั้งแรก นั่นเป็นสัญญาณบอกได้อย่างหนึ่งว่า ธุรกิจบรอดแบนด์นั้นสำคัญแค่ไหนสำหรับทีทีแอนด์ที
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทีทีแอนด์ทีมีต้นทุนสำคัญคือการมีลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์บ้านในต่างจังหวัดนับล้านราย และล้วนแล้วแต่ใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดให้ผู้คนเหล่านั้นเลือกใช้อินเทอร์เน็ตได้ในอนาคต
เมื่อไม่นานมานี้ ทีทีแอนด์ทีจึงตัดสินใจตอบแทนผู้ใช้บริการที่ใช้บริการ Maxnet ด้วยการปรับความเร็วที่ต่ำกว่าทั้งหมดเป็น 1 Mbps สำหรับลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ที่เพิ่งจดทะเบียนใช้งาน โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดการใช้บริการ 1 ปี และไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากลูกค้า
ล่าสุดตัดสินใจทุ่มเงินไปกับการขยายแบนด์วิธต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จาก 1.9 Gbps. เป็น 3.88 Gbps. และเลือกตั้งเครือข่ายในประเทศที่แตกต่างกันออกไป เพื่อหวังกระจายความเสี่ยงหากเกิดภัยพิบัติที่ไม่น่าคาดฝันอย่างที่เคยปรากฏมาก่อนกับผู้ให้บริการบางรายในช่วงปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เครือข่ายไปยังเขตปกครองพิเศษอย่างฮ่องกง ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสิงคโปร์ ให้ประเทศเหล่านี้ในการต่อเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังประเทศใกล้เคียงต่อไป
แม้จะต้องทำงานหนักกว่าที่เคย ต้องเพิ่มเงินลงทุนไปกับการขยายแบนด์วิธซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการทำธุรกิจอีกมากมายสักแค่ไหน แต่ดูเหมือนว่าทีทีแอนด์ทีจะไม่มีทางเลือกใดที่ดีไปกว่าการปักธงทำธุรกิจบรอดแบนด์ในเวลานี้อีกแล้ว
|
|
|
|
|