|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2551
|
|
การเสวนา "จุดประกายความคิด สร้างธุรกิจ SMEs ผ่านประสบการณ์จริง" ที่มีวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม อมตะ และอารียฉัตร อภิสิทธิ์อมรกุล หรือเจ๊เล้ง เป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา กิจกรรมนี้อาจไม่น่าสนใจ หากมองว่าเป็นงานสัมมนาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป
หากแต่ว่างานนี้จัดขึ้นโดยสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสตรีไทย (สวสท.) หรือ Thai Woman SMEs Association (TWoSA) เป็นเวทีแรกที่จัดขึ้นสำหรับผู้ประกอบการผู้หญิงโดยเฉพาะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือ I-Inspire เป็นกิจกรรมหลังจากที่ก่อตั้งสมาคมเมื่อเดือนมิถุนายน 2550
เป้าหมายการก่อเกิดสมาคมก็เพื่อต้องการสร้างความสัมพันธ์นักธุรกิจผู้หญิงคนไทยในระดับเอสเอ็มอีให้รู้จักกันกว้างขวางมากขึ้น ไม่จำกัดขอบเขตว่าต้องเป็นบริษัทที่อยู่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมโยงไปยังนักธุรกิจหญิงในต่างประเทศ
ความคิดริเริ่มการตั้งสมาคมแห่งนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ได้เห็นการก่อตั้งสมาคมนักธุรกิจหญิงในต่างประเทศ อาทิ เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์
"เมื่อผู้หญิงคุยกันจะคุ้นเคยกันเร็ว สนิทใจ เปิดใจมากกว่า ดังนั้นการพูดคุยกันเรื่องธุรกิจหรือสังคมทั่วไปก็จะทำให้ง่ายขึ้น เหมือนกับว่าผู้หญิงจะรู้ใจกันมากกว่า ธรรมชาติของผู้หญิงมีพลังสูง มีความอดทน และมุ่งมั่น"
บทบาทของผู้หญิงในแวดวงธุรกิจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในการประชุมเอเปก จะมีหัวข้อสำคัญในการประชุมผู้นำที่เป็นผู้หญิงที่จัดขึ้นทุกปี อย่างเช่นเมื่อปี 2550 มีการประชุม APEC Woman Leaders Network Meeting ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งประเทศไทยก็เข้าร่วมประชุมเช่นเดียวกัน
การรวมกลุ่มนักธุรกิจหญิงในไทยที่เกิดขึ้น ไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้เกิดการยอมรับ แต่นักธุรกิจหญิงจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นคำกล่าวของนิรมล ทิรานนท์ นายกสมาคมฯ คนแรก และเป็นผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง
หลังจากที่สมาคมฯ ก่อตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา และเลือกตึก iSME ถนนราชดำเนินกลาง (สี่แยกคอกวัว) เป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของ สสว.ในปัจจุบัน
ที่ผ่านมาสมาคมฯ ยังไม่เริ่มกิจกรรมใดๆ เพราะเป็นช่วงเวลาการก่อตั้งและเสาะหาสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 100 แห่ง ประกอบธุรกิจหลากหลาย และคาดกันว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น
จากข้อมูลของ สสว. ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 50,000 ราย และครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว หรือประมาณ 25,000 ราย เป็นผู้ประกอบการผู้หญิง เพื่อแสดงให้เห็นว่าสมาคมแห่งนี้เป็นเวทีของผู้หญิงจริงๆ เงื่อนไขการสมัครสมาชิกของสมาคมฯ ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น เพราะเอกสารที่รับสมัครสมาชิกจะระบุนำหน้า นาง หรือนางสาว เท่านั้น
การรวมตัวส่วนหนึ่งเกิดจากความสนิทสนมในฐานะเพื่อนมาก่อน เหมือนปรียา สีบุญเรือง และนิรมล นายกสมาคมฯ เป็นพี่น้องร่วมรุ่นสถาบันเดียวกันเมื่อครั้งยังเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บางรายก็จะมารู้จักกันที่สมาคมฯ ในฐานะของสมาชิก แม้ว่าทุกคนจะมาจากต่างที่ ต่างสถาบัน ต่างบริษัท แต่ดูเหมือนว่าจะเข้ากันได้ง่ายเมื่อเริ่มต้นคุยกัน
ปรียา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสีลมการแพทย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายยากว่า 60 ปี บอกว่าสิ่งที่เธอมุ่งหวังในการเข้าร่วมกับสมาคมฯ เพื่อรู้จักนักธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตยาเพียงอย่างเดียว อาทิ บริษัทออกแบบวัสดุ บริษัทโฆษณา ซึ่งอาจจะเกิดความร่วมมือกันได้ในอนาคต และนอกเหนือจากได้รู้จักบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ปรียายังมีบทบาทหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์เรื่องยาให้กับนักธุรกิจใหม่ๆ
การให้ความรู้ของสมาคมจะเน้นหนักให้นักธุรกิจสามารถนำไปใช้งานได้จริง เริ่มตั้งแต่เรียนรู้ วินิจฉัยทั้งธุรกิจและตนเอง กำหนดเป้าหมาย หรือข้อมูลการลงทุน กฎหมาย บัญชี ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ จะมีการแนะนำให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
แม้ว่าบทบาทของสตรีในด้านธุรกิจจะเพิ่มมากขึ้น แต่หน้าที่ของผู้หญิงก็ยังรักษาความสมดุลในเรื่องของการดูแลครอบครัว ดูแลลูก สามี และธุรกิจ ให้ไปด้วยกันได้เหมือนเดิม ซึ่งเป็นคำกล่าวทิ้งท้ายของนายก สวสท.
|
|
|
|
|