|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2551
|
|
ตาราง "ผู้จัดการ 100" ประจำปี 2550 ยังคงแสดงบทบาทสำคัญต่อภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) และสินทรัพย์รวมที่บริษัทซึ่งอยู่ใน "ผู้จัดการ 100" มีสัดส่วนสูงถึง 84.88% และ 88.85% เมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด 446 บริษัท ไม่รวมบริษัทที่ถูกย้ายไปอยู่ในกลุ่มแก้ไขผลการดำเนินงานอีก 10 กว่าบริษัท (รายละเอียดดูตารางบทบาท "ผู้จัดการ 100" ต่อภาพรวมตลาดหลักทรัพย์)
ในปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงบางประการภายในโครงสร้างของบริษัทใน "ผู้จัดการ 100" ซึ่งก่อให้เกิดการขยับ อันดับของบริษัทที่อยู่ใน "ผู้จัดการ 100" หลายบริษัท อาทิ
- การขอออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น โดยนำบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเกชั่น เข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนแทน
- การควบรวมกิจการกันของบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยองกับบริษัทอะโรเมติกส์ประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น แต่เนื่องจากตัวเลขรายได้ที่ถูกบันทึกไว้ในนามบริษัทใหม่ยังไม่สูงเพียงพอ จึงทำให้บริษัทดังกล่าวไม่ติดอยู่ใน "ผู้จัดการ 100"
- การเปลี่ยนแปลงรอบบัญชีของบริษัททาทา สตีล (ประเทศไทย) จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ทำให้ตัวเลขรายได้ที่ปรากฏในงบการเงินปี 2550 ต่ำจนไม่มีรายชื่อติดอยู่ใน "ผู้จัดการ 100" ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้มีบริษัทถึง 66 บริษัทใน 100 บริษัท มีการขยับอันดับเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ "ผู้จัดการ 100" ปี 2549 ขณะที่อีก 12 บริษัท มีอันดับคงที่ และอีก 21 บริษัท มีการขยับอันดับลดลง
แต่การเปลี่ยนแปลงอันดับของบริษัทใน "ผู้จัดการ 100" เหล่านี้ยังมีนัยสำคัญหลายประการ ที่ไม่น่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัทใน "ผู้จัดการ 100" เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากความผันแปรของปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ นัยสำคัญดังกล่าวสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีการขยับอันดับขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธนาคารที่มีผลประกอบการดี อย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (จากอันดับ 17 มาอยู่อันดับ 13) กับธนาคารกสิกรไทย (จากอันดับ 18 มาอยู่อันดับ 16) ขณะที่ธนาคารน้องใหม่ที่ยกระดับมาจากบริษัทเงินทุน มีการขยับอันดับขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด (บริษัททุนธนชาต จากอันดับ 37 มาอยู่อันดับ 31 ธนาคารทิสโก้ จากอันดับ 91 มาอยู่อันดับ 82 และธนาคารเกียรตินาคิน จากอันดับ 104 มาอยู่อันดับ 89) ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ อันดับคงที่ และธนาคารที่ยังมีผลการดำเนินงานไม่ดี อันดับขยับลดลง
2. บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ มีการขยับอันดับขึ้นเป็นส่วนใหญ่ บางบริษัทขยับอันดับขึ้นอย่างก้าวกระโดด เช่น เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จากอันดับ 59 มาอยู่อันดับ 48 หรือโฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จากอันดับ 63 มาอยู่อันดับ 55 รวมถึงบริษัทที่ทำธุรกิจสินเชื่ออุปโภคบริโภคอย่างบัตรกรุงไทย จากอันดับ 88 มาอยู่อันดับ 72 และอิออน ธนสินทรัพย์ จากอันดับ 114 มาอยู่อันดับ 99
3. บริษัทในกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของสัมปทานโทรศัพท์มือถือมีการขยับอันดับสูงขึ้น โดยแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จากอันดับ 11 มาอยู่อันดับ 8 และทรู คอร์ปอเรชั่น จากอันดับ 22 มาอยู่อันดับ 19 ส่วนบริษัทไทยคม (ชิน แซทเทิลไลท์เดิม) อันดับก้าวกระโดดจาก 83 มาอยู่ 65 ในกลุ่มนี้ มีเพียงสามารถ คอร์ปอเรชั่น กับสามารถ ไอ-โมบาย 2 บริษัทที่ขยับอันดับลงจากผลการดำเนินงานที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2549 (รายละเอียดเรื่องสามารถอ่านได้จากเรื่องประกอบเรื่องจากปกฉบับนี้)
- บริษัทที่มีรายได้หลักจากการส่งออก ส่วนใหญ่อันดับทรงตัว หรือขยับลดลง ยกเว้นบริษัทที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกที่ส่วนใหญ่อันดับขยับเพิ่มสูงขึ้น (เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากอันดับ 7 มาอยู่อันดับ 6 และจีเอฟพีที จากอันดับ 100 มาอยู่อันดับ 92 ส่วนไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ อันดับคงที่)
- บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องการสินค้าโภคภัณฑ์ มีการขยับอันดับขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปูนซิเมนต์ไทย ที่ขยับขึ้นไปเป็นอันดับที่ 2 เบียดไทยออยล์ ให้ลงมาอยู่อันดับ 3 หรืออินโดรามาที่ก้าวกระโดดจากอันดับ 71 มาอยู่อันดับ 35
- ในทางเดียวกัน บริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปเป็นพลังงานทดแทนได้ ก็มีอันดับขยับขึ้นอย่างก้าวกระโดด (น้ำมันพืชไทย จากอันดับ 60 มาอยู่อันดับ 52 และน้ำตาลขอนแก่น จากอันดับ 113 มาอยู่อันดับ 84)
- ขณะที่บริษัทที่ทำธุรกิจต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอันดับกันอย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะบริษัทที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ดูเหมือนบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำมันกลับเริ่มนิ่ง และบางบริษัทอันดับขยับลดลง (ไทยออยล์ จากอันดับ 2 ลงมาอยู่อันดับ 3 บางจากปิโตรเลียม จากอันดับ 10 ลงมาอยู่อันดับ 11)
วงจรราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาถึง 4 ปี ได้ส่งผลให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันมีผลการดำเนินงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมา
ตัวเลขที่ปรากฏออกมาในผลการดำเนินงานปี 2550 ก็ยังคงสะท้อนถึงความต่อเนื่องดังกล่าวอยู่ แต่ดูไม่หวือหวาเหมือนกับที่เคยปรากฏขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีแรก
สิ่งที่ต้องจับตาในปีนี้ก็คือ ในขณะที่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเริ่มนิ่ง แต่บริษัทที่ทำธุรกิจอื่นๆ เริ่มขยับ บ่งบอกถึงสัญญาณอะไรบางอย่างหรือไม่ในการจัดทำ "ผู้จัดการ 100" ปี 2551 คงต้องติดตามและวิเคราะห์สัญญาณเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง
|
|
|
|
|