Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 พฤษภาคม 2551
อนาคตบอนด์เอเชียรุ่ง-แห่ระดมทุนพัฒนาปท.             
 


   
search resources

กำพล อัศวกุลชัย
Funds




ผู้บริหารบลจ. เผยตลาดบอนด์เอเชียอนาคตสดใสในระยะยาว เหตุประเทศในภูมิภาคต้องออกพันธบัตรระดมทุนมาใช้พัฒนาประเทศ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนขยับตัวสูงขึ้นบวกกับความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ไทยได้รับอานิสงส์จากยกเลิกเกณฑ์ 30% ดึงเม็ดเงินเข้ามาในตลาดพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ ด้านผลตอบแทนกองทุนบอนด์เกาหลีใต้มีสิทธิขยับลง หลังคาดการณ์รัฐบาลจะประกาศลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 8 พ.ค.นี้

นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในระยะยาวประเทศในภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องออกพันธบัตรของตนเองเพื่อนำเงินเข้ามาพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งการออกพันธบัตรนำเงินมาพัฒนาประเทศนั้น ต้องอาศัยเงินทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตรดังกล่าว ดังนั้น นักลงทุนจะมองในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก รวมถึงความเสี่ยงของการลงทุนในพันธบัตรในระดับที่ตํ่า โดยเห็นได้ชัดในขณะนี้คือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงมีความเสี่ยงในระดับที่ตํ่าและมีเรตติ้งสูงกว่าประเทศไทย ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ นักลงทุนเลือกลงทุนในสถาบันการลงทุนประเภทกองทุนรวมมากกกว่า เพราะกองทุนรวมมีการปิดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนอยู่แล้วทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลในเรื่องดังกล่าว

ส่วนในเรื่องของผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวนั้น นายกำพล กล่าวว่า ผลตอบแทนการลงทุนยังคงอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรเอง แต่แนวโน้มในระยะยาวแล้วมีความน่าลงทุนอยู่ รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศอื่นในเอเชียด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียจะเติบโตสูงขึ้นในระยะยาว โดนส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย เช่น เวียดนามและจีน ในขณะเดียวกันประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ มีนโยบายทางเศรษฐกิจที่เสรี เป็นไปตามระบบทุนนิยม ซึ่งส่งผลดีต่อการลงทุนถายในประเทศ รวมทั้ง การเกิดวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือ ซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่หันมาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย

นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจส่งผลต่อการลงทุนบ้างแต่คงไม่มาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ

นายกำพล ยังกล่าวถึงแนวโน้มการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของประเทศไทยว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกมาตราการกันสำรอง 30% ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งคาดว่าหลังนี้ไปการลงทุนในประเทศไทยทั้งในพันธบัตรรัฐบาลและตลาดตราสารหนี้ น่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี

นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ. ) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนจะปรับตัวลดลง เนื่องจากผลตอบแทนในรูปสกุลเงินวอนปรับตัวลดลง จากการที่มีการคาดการณ์ว่าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ ในวันที่ 8 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ อาจจะพิจารณาปรับลดอัตราลดดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ กระแสเงินทุนไหลเข้าไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินวอนต่อดอลล่าร์สหรัฐ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจากภาวะตลาดในปัจจุบันส่งผลให้การลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ในรูปสกุลเงินบาท มีโอกาสปรับตัวลดลงได้ และอาจจะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้มีโอกาสปรับตัวลดลงเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนที่สนใจลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ควรหาโอกาสลงทุนในช่วงเวลานี้

โดยในขณะนี้ บริษัทอยู่ระหว่างเปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี6 (KTFIF1Y6) ในระหว่างวันที่ 6 -12 พฤษภาคมนี้ โดยกองทุนมีมูลค่าโครงการ 1,860 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 10-12 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้อายุ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 4.10% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน บริษัทสามารถระดมเงินจากการลงทุนในกองทุนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ได้แล้วกว่า 8,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ กองทุน KTFIF1Y6 เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศ เช่น พันธบัตรภาครัฐประเทศเกาหลีใต้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) อยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน

ส่วนความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินวอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ของบริษัท เนื่องจากการลงทุนของบริษัทจะมีการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด(Fully Hedge) และไม่ได้เข้าไปเก็งกำไรในค่าเงินวอน นอกจากนี้ ยังเป็นการเข้าไปลงทุนโดยตรง ไม่ได้ลงทุนผ่าน Credit Linked Note หรือ Structured Note ทำให้กองทุนไม่ได้รับความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน

นอกจากนี้ การลงทุนของบริษัท เป็นการลงทุนในกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ระยะสั้น อายุไม่เกิน1ปี ซึ่งจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นของประเทศ (Sovereign Credit Rating ) โดยบริษัทฟิทช์ เรทติ้ง เกาหลีใต้อยู่ที่ระดับF1 ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ และกองทุนมีเงื่อนไขการลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศที่ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ ( Investment Grade ) เช่น พันธบัตรภาครัฐต่างประเทศที่มีอันดับเครดิต 2อันดับแรก ดังนั้น การลงทุนจึงเป็นไปตามหนังสือชี้ชวน และเป็นไปตามเกณฑ์ก.ล.ต.

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายการบริหารกองทุนที่มุ่งเน้นความปลอดภัยในเงินทุนของลูกค้าเป็นหลัก ส่งผลให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา นอกจากนี้ บริษัทมีหน้าที่ในการเสาะแสวงหารูปแบบการลงทุนใหม่มานำเสนอ โดยเน้นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดี และความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้ายอมรับได้

Q2บอนด์ยาวปรับตัวลง

บลจ.กรุงไทย รายงานถึงการลงทุนตลาดตราสารหนี้ในประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุโดยปรับลดลง 11-74 bp ทั้งนี้ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และ ธนาคารกลางสหรัฐหรือ Fed ได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และอาจเป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ทำให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรโดยการซื้อพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาสตัวเลขระดับเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับสูงขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่ธปท. อาจจะไม่พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยล่าสุดตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส1ปี51 ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 50 ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี

ส่วนแนวโน้มในไตรมาส 2 คาดว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาครัฐอายุคงเหลือยาวยังมีแนวโน้มปรับตัวลง ในขณะที่ตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้น อายุไม่เกิน1 ปี มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นไตรมาสที่ 1 ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.93%ต่อปี และล่าสุดผลตอบแทน อยู่ที่ประมาณ 3.23% ต่อปี เนื่องจากนักลงทุนมีการทยอยขายตราสารหนี้ภาครัฐระยะยาว และกลับมาลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้น จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยRP1 วันตามเดิม ที่ระดับ 3.25%ต่อปี เพราะมีความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และกดดันให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น จึงเป็นอีกแรงกดดันที่ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหา Sub-Prime ของสหรัฐก็ยังคงเรื้อรังและทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)ส่งผลให้สภาวะตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกยังคงอยู่ในภาวะผันผวน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us