ภาพของโรงงานเดลต้า 5 ซึ่งเป็นโรงงานหลังคาเดียว ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ
โดยมีขนาดพื้นที่สำหรับการผลิตประมาณ 72,300 ตารางเมตร ที่เกิดจากเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ
1, 000 ล้านบาท ของบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA) อาจเป็นเสมือนประจักษ์พยาน และสัญลักษณ์ ที่สำคัญประการหนึ่งของความสามารถในการฝ่าพ้น
วิกฤติ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ในขณะที่บริษัทจำนวนไม่น้อยต้องประสบปัญหาอย่างหนักหน่วง
ภายหลังการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อกลางปี 2540
"เราค่อนข้างคอนเซอร์เวทีฟ และเราบริหารจากสิ่งที่เรามี" คือ ประโยคแรกๆ
ที่ทั้ง หวัง หมิง เจิ้ ง และอนุสรณ์ มุทราอิศ สองผู้บริหารคนสำคัญของ DELTA
ให้อรรถาธิบาย กับ "ผู้จัดการ" ถึงปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น
ความแตกต่างของ DELTA เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์
รายอื่นๆ นอกจากจะหมายถึงการประกอบธุรกิจจากพื้นฐานความชำนาญการที่ DELTA
มีแล้ว สิ่งสำคัญอยู่ ที่ "เราไม่มีนโยบาย ที่จะกู้เงิน เพื่อมาลงทุนมากนัก"
หวัง หมิง เจิ้ง รองประธานบริษัท ซึ่งมีฐานะเป็นหมายเลขหนึ่งคู่กับ อนุ สรณ์
กรรมการผู้บริหารขยายความ
แนวความคิดดังกล่าวส่งผลให้ DELTA ไม่ประสบปัญหามากนักเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี
2540 หากแต่เมื่อมองย้อนกลับไป DELTA กลับได้ประโยชน์จากค่าเงินบาท ที่ตกต่ำลงเสียด้วยซ้ำ
เพราะรายได้จาก การขายของ DELTA ซึ่งอยู่บนฐานของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้บริษัทมีกำไร
เป็นเงินบาทมากขึ้นอย่างมหาศาล และทำให้ผลประกอบการของ DELTA ในปี 2540 เปรียบเทียบกับปี
2539 เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ตัวเลขกำไรสุทธิของ DELTA ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
เพราะจากผลกำไรในระดับ 700 กว่าล้านบาทในปี 2538 มาสู่ระดับ 862 ล้านบาทในปี
2539 ก่อน ที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็น 3,747 ล้านบาท ในปี 2540
"กำไรเฉพาะจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ที่ลอยตัว ในปี 2540 ประมาณ 982
ล้านบาท โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย" หวัง หมิง เจิ้ง เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี
ขณะที่หมายเหตุประกอบงบการเงินของ DELTA ระบุว่ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนี้เป็นกำไรจากการรับชำระหนี้จากลูกหนี้สุทธิ
จากการจ่ายคืนเจ้าหนี้ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม
ถึง 31 ธันวาคม 2540 และรายการที่เป็นตัวเงิน ที่คงเหลืออยู่ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2540
การประกาศเปลี่ยนแปลงระบบแลกเปลี่ยนเงินตราของกระทรวงการคลัง จากเดิม ที่ใช้ระบบตระกร้าเงิน
มาสู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวในครั้งนั้น มีผลให้ค่าเงินบาทลดลงจากระดับ
25.84 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มาเป็น 47.30 บาทต่อดอลลาร์
สหรัฐ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540
กำไร ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก มายใน ปี 2540 ส่งผลให้เกิดความคาดหวังต่อผลประกอบการของ
DELTA มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งแม้ในปี 2541 และ 2542 DELTA จะมีรายได้จากยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่กำไร สุทธิของบริษัทกลับตกต่ำลงโดยเปรียบเทียบ กล่าวคือ ลดลงเหลือเพียง
1,666 ล้านบาท ก่อน ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,763 ล้านบาทจากยอดการขาย ที่เพิ่มมากขึ้น
"ความผันผวนของค่าเงินมีผลต่อบริษัทพอสมควร เพราะในปี 2541 และ 2542 ค่าเงินบาทเริ่มแข็งตัวแล
บางครั้งเราก็อยากให้เงินบาทอ่อนตัวลงเหมือนกัน เพราะกำไรของบริษัทในรูปเงินบาทจะได้เพิ่มขึ้น"
หวัง หมิง เจิ้ง กล่าวถึงตัวเลขกำไรขาดทุน ในช่วง ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ผลประกอบการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องของบริษัทใด บริษัทหนึ่งย่อมมิได้เกิดขึ้นด้วยเหตุบังเอิญหรือโชคช่วย
หากแต่เกิดขึ้นได้ด้วยการ กำหนดนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์การจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง
ที่ DELTA ได้ดำเนินการ
ภายใต้แผนการพัฒนาคุณภาพอย่างเบ็ดเสร็จ (Total Quality Improve-ment Plan)
ซึ่ง DELTA ได้ถือเป็นแม่บทของแผนปฏิบัติการมาตั้งแต่ ก่อตั้งบริษัท นอกจากจะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพแล้ว
การบริหารจัดการภายในก็เป็นไปอย่างมีเอกภาพ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว
โดยในทันที ที่เงินบาทอ่อนตัว DELTA ได้เพิ่มสัดส่วนการสั่งซื้อวัตถุดิบภายในประเทศจากเดิม ที่อยู่ในระดับร้อยละ
36 ของการสั่งซื้อวัตถุดิบทั้งหมดมาเป็นร้อยละ 60 ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงอย่างมาก
ขณะที่ในด้านการตลาดก็มุ่งไป ที่ตลาดในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระ
ทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในห้วงเวลานั้น มากนัก
"ช่วง ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจความรุนแรงหรือผลกระทบยังจำกัดตัวอยู่ เฉพาะในอาเซียน และเอเชียเท่านั้น
ซึ่งในส่วนของวัตถุดิบนั้น นโยบายของบริษัทจะให้น้ำหนักกับการหาแหล่งผลิตภายในประเทศก่อน
หากไม่มีก็จะซื้อ จากแหล่งอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งล้วนแต่ได้รับผลจากค่าเงิน
ทำให้ต้นทุนวัตถุ ดิบไม่เพิ่มมากนัก ในขณะที่ตลาดของเราในยุโรป และอเมริกา
ยังคงมียอดสั่งซื้อสินค้า ที่เพิ่มมากข ึ้น"
สินค้า ที่ DELTA ผลิตได้ในช่วงปี 2541 ประมาณร้อยละ 42 ส่งไปยังลูกค้าในสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ในปี 2542 คำสั่งซื้อจากกลุ่มลูกค้าในสหรัฐอเมริกาขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ
57 ของยอดขายทั้งหมด ที่ DELTA มี โดยลูกค้าในย่านเอเชียแปซิฟิก ได้ลดบทบาทลงจากระดับ
ร้อยละ 41 เป็นร้อยละ 34 ในช่วงเดียวกัน
หากพิจารณาจากอัตราการเติบโตของยอดขายในช่วง ที่ผ่านมาพบว่า หลังจาก ที่ในปี
2539 มีการเติบโตมากถึง 36% แล้ว ในช่วงปี 2540 และ 2541 ซึ่งเป็นช่วง ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจนั้น
อัตราการขยายตัวของยอดขายของ DELTA ได้ลดระดับลงอย่างมาก กล่าวคือ มีการเติบโตเพียง
13% และ 5.5% เท่านั้น ก่อน ที่จะกระเตื้องขึ้นในปี 2542 ด้วยอัตราการเติบโตใน
ระดับ 27%
"เราตั้งเป้าหมาย ที่จะรักษาระดับการเติบโตของยอดขายในปีนี้ไว้ ที่ระดับ 23%"
อนุสรณ์ให้ข้อมูลพร้อมกับระบุว่าตัวเลขดังกล่าวตั้งอยู่บนฐาน ที่ค่อน ข้างจะคอนเซอร์เวทีฟด้วยซ้ำ
หากพิจารณาถึงการขยายตัวของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และการใช้อินเตอร์เน็ต
รวมถึงตลาดเครื่องมือสื่อสาร ที่กำลังเติบโตอย่างมาก
ทั้งนี้ บทเรียนของความล้มเหลวทางธุรกิจอันเนื่องมาจากการผูกพันอยู่กับผู้สั่งซื้อเพียงรายเดียวเป็นสิ่งหนึ่ง ที่
DELTA ได้เรียนรู้ และตระหนักดี "เรามีนโยบาย ที่จะไม่ให้ลูกค้ารายหนึ่งรายใดมีอิทธิพลต่อยอดขายของบริษัท
มากนัก เราจึงพยายามขยายฐานของกลุ่มลูกค้าให้กระจายอยู่ในทุกประเทศ และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ที่เป็นคู่ค้าให้สามารถ
ถ่วงดุล ซึ่งกัน และกันได้"
สิ่งที่ DELTA เชื่อมั่นว่าเป็นลักษณะเด่น ที่บริษัทมีอยู่ก็คือ ความชำนาญการในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ส่วน ที่เกี่ยวเนื่องด้วย "ไฟฟ้ากำลัง" (Electro-nics Power Supply) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (แมกเนติก : Magnetic), ตัวกรองคลื่นแม่
เหล็กไฟฟ้า หรืออีเอ็มไอ ฟิลเตอร์ (Electro-magnetic Interference Filter
: EMI) และตัวแปลงกระแสไฟฟ้าสลับให้เป็นกระแสตรง (Switching Power Supply
: SPS) รวมทั้งตัวแปลง กระแสไฟฟ้า (Adaptor)
แม้ว่า DELTA จะมีฐานะเป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับบริษัทจำนวนมากมาย ที่มีอยู่ในเมืองไทย
แต่จุดที่แตกต่างของ DELTA ก็คือ การมีสินค้า ที่ครอบคลุมไปสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่หลากหลาย
กว่า
"DELTA เกิดขึ้นมาจากแมกเนติก ซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภท
ซึ่งเดิมเราผลิต เพื่อขายออกไป แต่ปัจจุบันการผลิตแมกเนติกเป็นไป เพื่อ self
consumption คือ เพื่อเป็นส่วนประกอบของการผลิตสินค้าตัวอื่นของ DELTA มากกว่า
ซึ่งการที่เรามีความชำนาญการในอุปกรณ์ว่าด้วยไฟฟ้ากำลังทำให้เรามีช่องทาง ที่จะพัฒนาสินค้าได้หลาก
หลาย" อนุสรณ์ กล่าว
แมกเนติก ซึ่งมีรูปร่างเป็นขดลวดทองแดงพันแกนนั้น เป็นชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์
ที่ต้องใช้แรงงานในการผลิตมาก แต่ใช้เทคโนโลยีต่ำ มีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงในชิ้นส่วน และ
อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยภาวะตลาดของแมกเนติกประกอบไปด้วยผู้ผลิตจำนวน
มาก การแข่งขันจึงอยู่ ที่ความสามารถในการออกแบบ และการผลิตให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้า
"หลังจาก ที่ DELTA ได้จัดตั้งแผนกพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับแมกเนติก
และอีเอ็มไอ ฟิลเตอร์ ใน ปี 2534 เราก็เริ่มทำ ใช้เองแล้วมันก็ขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ"
การลงทุนด้าน R&D ของDELTA เป็นไป เพื่อสร้างความพิเศษจำเพาะให้แก่สินค้าของ
DELTA อย่างเป็นด้านหลัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกีดกันผู้ค้ารายใหม่ไม่ให้สามารถแทรกตัวเข้ามาผลิตแข่งขันกับ
DELTA ได้ ขณะที่ อีกด้านหนึ่งก็เป็นการสร้างหลักประกันว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าในสาย
การผลิตได้อย่างยาวนาน
ตัวอย่างของปรากฏการณ์เช่นว่านี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนในส่วนของแผนกพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์
สำหรับ SPS ที่ถือเป็นสินค้าหลักของ DELTA โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้างรายได้ของบริ
ษัทกว่า 48-50% ซึ่งตลาด SPS สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ตลาดสำหรับสิน
ค้าประเภท Original Design Manufacturing: ODM ซึ่งเป็นตลาดสินค้า ที่เน้นการออกแบบ และพัฒนาตัวสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพิเศษของลูกค้าก่อนการผลิต
และตลาดสินค้ามาตรฐาน ซึ่งเป็นตลาดที่เน้นสินค้า ที่ใช้กันทั่วไป โดยสินค้าในกลุ่มเพาเวอร์
ซัปพลาย ประกอบด้วย SPS, Adaptor, Charger และ Server รวมถึงผลิตภัณฑ์ Net-
workingด้วย
"การรับจ้างผลิตตามใบสั่งซื้อของลูกค้าเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงของธุรกิจได้
DELTA จึงพยายามเข้าไปมีส่วนในการออกแบบสินค้าด้วย ODM ให้มากขึ้น"
นโยบายด้านการตลาดของ DELTA ได้วางตัวเองไว้ ที่การเป็นผู้นำของตลาด ODM
แต่ขณะเดียวกันก็พยายามขยายส่วนแบ่งในตลาดสินค้ามาตรฐานไปด้วย โดยปัจจุบัน
DELTA มีส่วนแบ่งการตลาดในสินค้าประเภทเพาเวอร์ ซัปพลาย ประมาณร้อยละ 26-30
ของปริมาณความต้องการรวมในสินค้าเพาเวอร์ ซัปพลายสำหรับเครื่องคอมพิว เตอร์ของโลก
ซึ่งทั้งอนุสรณ์ และหวัง หมิง เจิ้ง เชื่อว่าการเกิดขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่มีราคาต่ำลงจะช่วยให้ธุรกิจของ
DELTA เติบโตขึ้นอีก
"ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีวันสิ้นสุด" อนุสรณ์กล่าวอย่างไม่ลังเล ขณะที่
หวัง หมิง เจิ้ง เสริมว่า วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ซึ่งปัจจุบันสินค้า ที่สามารถรวมการใช้งานในลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องสื่อสาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า (3Cs convergence : Computer, Communication
and Consumer products) กำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย DELTA มีนโย
บาย ที่จะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของบริษัทในอนาคตด้วยการนำเทคโนโลยี ใหม่ๆมาพัฒนาสินค้าในกลุ่มจอแสดงภาพ
(Display) และเพาเวอร์ ซัปพลาย ซึ่งเป็นสินค้าหลักของบริษัท
"ปัจจุบัน ผู้บริโภคถูกกระตุ้นให้ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือทุก 6 เดือน
หรือ 1 ปี หรือเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุก 2-3 ปี เพื่อจะให้ทันกับเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนไป"
นอกจากนี้ ความเติบโต และขยายตัวของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงกระแสความตื่นตัวใน
อีคอมเมิร์ซ และอินเทอร์เน็ต ทำให้ตลาดมีความต้องการเพาเวอร์ ซัปพลาย ประเภทเซิร์ฟเวอร์มากขึ้น
ซึ่งสอดคล้องกับการที่ DELTA มีแผนที่จะมุ่งเน้นการเติบโตของบริษัทไปในสินค้า ที่มีมูลค่าสูง
และอัตรากำไรสูง
"เราไม่ได้หวัง ที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าในเทคโนโลยีระดับสูง เพราะเรารู้ดีว่าความสามารถของเราอยู่ ที่ใด
แต่เราต้องเป็นผู้ผลิตสินค้าในเทคโนโลยีระดับกลาง ที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันได้สูง"
สินค้า ที่สร้างรายได้ให้กับ DELTA อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากสินค้าประเภท
เพาเวอร์ ซัปพลาย ก็คือ จอมอนิเตอร์ ซึ่งถือเป็น complete product ชนิดเดียวของ
DELTA ในปัจจุบันโดยในปี 2542 ที่ผ่านมา ยอดการ ขายจอมอนิเตอร์ถือเป็นร้อยละ
47 ของโครงสร้างรายได้จากการขายของ DELTA ทั้งหมด แต่กำไรจากการผลิตจอมอนิเตอร์อาจไม่สูงนัก
"การประกอบส่วนจอมอนิเตอร์ ก็เหมือนกับการรับตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งบางครั้งค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้ไปกับส่วนประกอบเล็กๆ
อย่างกระดุมอาจมากกว่าค่าแรง ที่ต้องใช้ในการตัดเย็บเสียอีก เพราะค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเป็นเพียง
2% ของระบบการผลิตทั้งหมด" อนุสรณ์เปรียบเทียบกระบวนการผลิตจอมอนิเตอร์ของ
DELTA ไว้ได้ อย่างน่าสนใจ ซึ่งในความเป็นจริง DELTA ก็คือ ส่วนหนึ่งผู้ผลิตส่วนประกอบเล็กๆ
หลายชิ้นในสายการผลิตจอมอนิเเตอร์นั่นเอง
แม้ว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของแรงงานจะเป็นเพียงส่วนประกอบ ที่เล็กน้อยของกระบวนการผลิต ที่ค่าใช้จ่ายหลักมีน้ำหนักอยู่ ที่ค่าวัตถุดิบ
แต่ DELTA ยังคงถือนโยบายการจ้างงานด้วยอัตราค่าจ้างต่ำอยู่ต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้อย่างมาก ที่ DELTA ซึ่งมีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ที่หลากหลายจะร่วมกับ Dell ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ หรือแม้กระทั่งผู้ผลิตรายอื่นๆ
ในการพัฒนา และประกอบส่วนสินค้าให้เกิดเป็น complete product ในกลุ่มคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคลในอนาคต