Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532
อิตาเลียนไทยฯ กับเรื่องน่าหงุดหงิดที่แหลมฉบัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
โฮมเพจ ท่าเรือแหลมฉบัง

   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
ไดโฮคอนสตรัคชั่น
Construction
ท่าเรือแหลมฉบัง




อิตาเลียนไทยของนายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต ได้งานที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังทั้งที่ราคาประมูลนั้นสูงกว่าบริษัทฮุนไดฯจากเกาหลีใต้ เพราะบริษัทที่ปรึกษาอ้างว่าการก่อสร้างและเคลื่อนย้ายเคซองของฮุนไดฯไม่ปลอดภัย และอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้

กรณีที่คล้ายคลึงกันคือการก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด อิตาเลียนไทยฯได้งานไปทั้งที่ประมูลราคาสูงกว่าฮุนไดฯถึง 115 ล้านบาท แต่บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาอ้างว่าการก่อสร้างและเคลื่อนย้ายเคซองของฮุนไดฯไม่ปลอดภัยและอาจพลิกคว่ำได้จนทำให้งานล่าช้า อิตาเลียนไทยฯก็เลยได้งานไปอีก

เบื้องหลักเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นหาอ่านได้จากเรื่อง "ประมูลอื้อฉาว 1,782 ล้าน ท่าเรือมาบตาพุด" ในเล่มนี้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ขณะที่บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมมัวแต่รุมอัดฮุนไดฯในเรื่องวิธีการก่อสร้าง เทคนิคและการเงิน สื่อมวลชนก็สนใจแต่ว่าฮุนไดฯผิดอย่างไร พลาดอย่างไร รวมไปถึงอิตาเลียนไทยฯ "ล็อบบี้" อย่างไร

แต่มุมมองที่น่าสนใจก็คือขณะที่ทุกคนเอาแต่ชกแชมป์ "ฮุนไดฯ" ในเรื่องเคซอง แต่ไม่มีใครสนใจว่าเคซองที่รองแชมป์เช่นอิตาเลียนไทยฯกำลังก่อสร้างอยู่นั้นมีควาเลอเลิศเพียงใดเพราะถ้าตรวจกันให้ดี ๆ ตัวเคซองนี่แหละอาจจะเป็นส่วนทำให้อิตาเลียนไทยฯ ก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังช้ากว่าที่กำหนด

บริษัทรับเหมาก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังประกอบด้วย อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น, บริษัทไดโฮคอนสตรัคชั่น, บริษัทไดโต โคเกียว, บริษัทเดรดจิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล ทั้งสี่บริษัท ซึ่งเป็นญี่ปุ่นเสียสอง แบ่งงานกันไปทำตามถนัด สัญญาเริ่มต้นวันที่ 25 ธันวาคม 2530 ระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน คือกำหนดเสร็จเดือนธันวาคม 2534

บริษัทก่อสร้างที่รับเหมาก่อสร้าง "เคซอง" จริง ๆ แล้วคือบริษัทไอโฮฯจากญี่ปุ่น

เคซองที่ว่ามานี้คือฐานกรากบริเวณหน้าท่า มีขนาด 24x14x16.5 เมตร มีจำนวนถึง 50 ตัวน้ำหนักของเคซองแต่ละตัวคือ 2,265 ตัน

วิธีการสร้างเคซองที่ไดโฮฯ ใช้นี้เรียกว่าวิธี DOLPHIN DOCK คือต้องหล่อเคซองบนเรือที่ท่าเรือสัตหีบ หล่อได้ทีละ 2 ตัว แล้วต้องลากเรือออกไปน้ำลึก เพื่อจมเรือบรรทุกเคซอง แล้วต้องแยกเคซองออกจากตัวเรือ ลากเคซองและเรือกลับมาผูกริมฝั่งเพื่อรอวันลากตัวเคซองที่หล่อเสร็จแล้วมาติดตั้งที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ส่วนวิธีการสร้างเคซองของฮุนไดฯนั้นให้ใช้วิธีการหล่อเคซองบนบริเวณที่ถมทะเล คือบนทรายหล่อได้ทีละ 20 ตัวพร้อมกัน เมื่อหล่อเสร็จก็ลากไปติดตั้งที่ท่าเรือซึ่งห่างจากกันไม่มากนัก

วิธีการก่อสร้างเคซอง และการเคลื่อนย้ายของไดโฮฯที่แหลมฉบังเกิดปัญหาขึ้นตามรายงานของบริษัทผู้ควบคุมงานเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กล่าวคือ เมื่อผู้รับเหมาคือไดโฮฯหล่อเคซองเรียบร้อย ซึ่งได้ทีละ 2 ตัวแล้วก็จะลากมาเก็บไว้บริเวณชายฝั่ง ระดับท้องทะเลที่ดินมีแรงดึง และเมื่อถึงเวลาเคลื่อนย้ายลากไปยังแหลมฉบังนั้น ก็มีปัญหาเกิดขึ้นคือ การเคลื่อนย้ายที่ปฏิบัติจะเกิด "แรงเครียดและเสียดทาน" บนตัวเคซองจนเกินพิกัดที่จะรับได้ และตัวเคซองอาจได้รับความเสียหายได้ ซึ่งตรงนี้วิศวกรผู้ควบคุมงานเสนอแนะให้ได้โฮฯใช้ "เสื่อดิน" (MUD MATS) รองรับเพื่อไม่ให้เกิดแรงเสียดทาน แต่ไดโฮฯยังยืนยันที่จะทำต่อไปตามวิธีการเดิม ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องรออ่านจากรายงานของผู้คุมงานฉบับถัดไป

นอกจากนั้น ความล่าช้าที่ปรากฏชัดคือ ในสิ้นเดือนมีนาคมไดโฮฯหล่อและเคลื่อนย้ายเคซองจากสัตหีบไปไว้ที่แหลมฉบังแล้ว 6 ตัว แต่เนื่องจากขาดช่างที่ชำนาญงานจากสิงคโปร์และญี่ปุ่น เคซองทั้ง 6 ตัวจึงยังไม่ได้ติดตั้งให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งโดยกำหนดแล้ว เคซองตัวแรกจะต้องติดตั้งตั้งแต่เมื่อ 2 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ซึ่งกว่าจะครบ 50 ตัว ความล่าช้าคงสะสมมากขึ้น

รายงานของผู้คุมงานยังเขียนปลอบใจว่า ปัญหาความล่าช้าเรื่องเคซองนี้คงคลี่คลายจนหมดในปลายปีนี้

กรณีเรือขุดร่องน้ำซึ่งรับผิดชอบโดย บริษัทเดรดจิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งเบลเยียมก็มีรายงานวาประสบความเสียหายในส่วนเกียร์ควบคุมรอบหมุนของหัวขุดอยู่เสมอ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลาซ่อมแซมครั้งละประมาณ 3 สัปดาห์

ทั้งประเด็นเรื่องเคซอง และเรือขุดต่างเป็นประเด็นที่ฮุนไดฯถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจนเป็นผลให้อิตาเลียนไทยฯชนะไป ซึ่งอิตาเลียนไทยฯที่มาบตาพุดก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่สร้างท่าเรือแหลมฉบังอยู่นี้เอง ซึ่งก็ใช้วิธีการและอุปกรณ์ชุดเดียวกันนั่นแหละ

"ผู้จัดการ" ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อบอกใครบางคนว่า มักประเมินเรื่องในอนาคตว่า "เสี่ยง" จนเป็นข้ออ้างปัดเหตุผลของคนอื่นออกไป โดยไม่พิจารณาถึงความล่าช้าที่เป็นตัวอย่างในปัจจุบัน แล้วถูกลากถูกังเอาชนะไปจนได้

ประมาณสิ้นเดือนธันวาคม 2534 คือกำหนดเสร็จของท่าเรือแหลมฉบัง ถ้าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องเคซองกับเรือขุดทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไปหมอชัยยุทธกับทีมรับเหมาอย่างไดโฮฯ, เดรดจิ้งฯคงหงุดหงิดขนาดหนัก และถ้ามันลามไปถึงการก่อสร้างมาบตาพุด หมอชัยยุทธคงเซ็งเรื่องค่าปรับวันละ 1 ล้านบาทไปเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us