Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 พฤษภาคม 2551
ช็อก!เงินเฟ้อ เม.ย.พุ่ง 6.2% น้ำมันตัวฉุดสูงสุด 23 เดือน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

กระทรวงพาณิชย์
Economics




วิกฤตเงินเฟ้อมาเยือน เผย เม.ย. 6.2% พุ่งสูงสุดในรอบ 23 เดือน “พาณิชย์” บอกน้ำมันต้นเหตุหลัก ทำรายจ่ายคนไทยเพิ่ม แถมกระทบชิ่งทำต้นทุนสินค้ารายการอื่นๆ เพิ่มตาม “ศิริพล”เผยแนวโน้มเดือนหน้าขึ้นหรือลด ก็ว่าไปตามจริง เหตุมีปัจจัยกดดันเพียบ ทั้งน้ำมัน น้ำตาล และค่าแรงจ่อปรับ พร้อมเปลี่ยนเป้าเงินเฟ้อทั้งปีใหม่เป็น 5-5.5%

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนเม.ย.2551 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 1.8% และเมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2550 สูงขึ้น 6.2% สูงสุดในรอบ 23 เดือนนับจากเดือนพ.ค.2549 แต่ไม่สูงสุดในประวัติศาสตร์ เพราะเคยสูงถึง 8.1% ในปี 2541 และเกิน 20% ในช่วงเกินวิกฤตน้ำมัน ส่วนเงินเฟ้อเมื่อเทียบเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงขึ้น 5.3%

“สาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนเม.ย.นี้ สูงขึ้นมาก เพราะน้ำมันที่ราคาเพิ่มขึ้นมาก โดยก่อนหน้านี้น้ำมันคิดเป็น 5.3% ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่มาเดือนนี้ขึ้นเป็น 9.91% และสาเหตุย่อยก็มาจากน้ำมันที่ทำให้สินค้าตัวอื่นๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอาหาร ที่อิงกับน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต และการขนส่ง”นายศิริพลกล่าว

ทั้งนี้ เงินเฟ้อในเดือนเม.ย.ที่เทียบกับเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ที่เพิ่มขึ้น 1.8% นั้น เป็นเพราะดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.4% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้น เช่น กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม และอาหารสำเร็จรูปบางรายการที่เพิ่มสูงขึ้นตามอาหารสด เช่น ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง และโจ๊ก ส่วนเนื้อสุกรมีราคาลดลงเล็กน้อย

ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.8% จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยมีการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งเบนซินและดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 4.5% และยังมีการสูงขึ้นของค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง

นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือนพ.ค. กระทรวงพาณิชย์ยืนยันจะเก็บข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา และยึดหลักวิชาการ แม้ว่าในเดือนหน้าจะมีแรงกดดันหลายๆ ตัว ทั้งราคาน้ำมัน การปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย และมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ โดยตัวเลขเงินเฟ้อที่ได้ หากสูงก็ต้องสูง ต่ำก็ต่ำ จะไม่มีการบิดเบือน

“การปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย ไม่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อมากนัก โดยมีน้ำหนักในเงินเฟ้อเพียง 0.11% แต่จะกระทบโดยอ้อมไปยังสินค้ารายการอื่นๆ เช่น น้ำอัดลม นมข้นหวาน ขนมหวาน และลูกอม เป็นต้น ก็ต้องไปดูว่าผลกระทบจะมีเท่าไร”

ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี กระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับประมาณการเป้าหมายใหม่ จากเดิม 3-3.5% เพิ่มเป็น 5-5.5% เนื่องจากสมมุตฐานต่างๆ ได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันจากเดิมที่ตั้งไว้เฉลี่ย 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาเกินกว่า 100% สหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว ทั้งนี้ สมมุตฐานเงินเฟ้อดังกล่าว คิดจาก น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 100-105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และอัตราดอกเบี้ย 3.25% และหากสมมุตฐานต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่อีกครั้ง

สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.6% เทียบกับเดือนเม.ย.2550 สูงขึ้น 2.1% และเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงขึ้น 1.6%

สินค้าเกษตรพุ่งดันเงินเฟ้อต่อ

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวณิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 51 ที่ขยายตัว 6.2 % ถือเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงแต่ก็เหมาะสมเพราะต้องยอมรับว่าราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงมากโดยเฉพาะข้าว และล่าสุดยังมีราคาน้ำตาลทรายอีก ดังนั้นผลจากปัญหาดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการมีแรงกดดันจากต้นทุนที่ปรับขึ้นรวมไปถึงการปรับค่าจ้างแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้า ลดกำไร ลดขนาด หรือคุณภาพสินค้าต่อหน่วยลง เพื่อลดต้นทุนการผลิต

“หากผู้ประกอบการเลือกแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคาสินค้าจะเป็นวิธีการที่ทำได้ทันที แต่บางธุรกิจอาจขึ้นราคาได้ลำบากเพราะตลาดมีการแข่งขันอย่างเสรีการขึ้นราคาไปอาจทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดได้เช่นกัน แต่สำคัญหากขึ้นราคาจะเป็นแรงผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นได้อีก”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us