Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532
การกลับมาอีกของแบงก์ยักษ์ในธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์             
 


   
search resources

จีเอฟ, บงล
ธนาคารอินโดสุเอซ
Investment




ในรอบไตรมาสแรกของปี 2532 ได้เกิดปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นทิศทางการก้าวเดินของธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ในบ้านเรา

นั่นคือการต้อนรับสถาบันการเงินต่างชาติให้เข้ามาซื้อหุ้นร่วมทุนของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางแห่ง

โดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนกิจออกมาเซ็นสัญญาขายหุ้นให้ธนาคารอินโดสุเอซในนามบริษัทหลักทรัพย์ดับบลิวไอ.คาร์ จากฝรั่งเศสเป็นแห่งแรกตามมาด้วยบริษัทหลักทรัพย์เอฟซีไอขายหุ้นให้ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ในนามของบริษัทหลักทรัพย์ชินตง

และล่าสุดคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟขายหุ้นให้ออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด แบงกิ้ง กรุ๊ป ลิมิเต็ด (เอเอ็นแซด)

สถาบันการเงินต่างชาติเหล่านี้ถือหุ้นไว้แห่งละ 25%

ทั้งนี้เงื่อนไขการซื้อขายที่คล้ายคลึงกันของบงล.ทั้งสามก็คือสถาบันการเงินต่างชาติเหล่านั้นต้องให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดโนว์-ฮาวและดึงเครือข่ายลูกค้าต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ

เพราะบงล.เหล่านี้ต่างมุ่งหวังที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวไปสู่ตลาดวาณิชธนกิจและการเป็นสถาบันการเงินเพื่อให้คำปรึกษาและจัดหาเงินทุนเพื่อการลงทุน (INVESTMENT BANKING) ซึ่งมีดีมาด์เพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะนี้และยังจะมีต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาจะมีสถาบันการเงินต่างชาติหลายแห่งเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อร่วมทุนกับบริษัทหลักทรัพย์บ้างแล้วก็ตาม

เช่น ธนาคารเชสแมนฮัตตันถือหุ้นในบงล.ร่วมเสริมกิจ 4.93% (ณ 31 ธันวาคม 2531) ธนาคารไดอิาชิคังเงียวถือหุ้นในบงล.ทิสโก้ 7.74% แลธนาคารไดวาถือหุ้นเป็นบงล.เอ็มซีซี 10% เป็นต้น

แต่การถือหุ้นเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่ออาศัยใช้บงล.เหล่านี้เป็นหูเป็นตาและเครือข่ายให้บริการแก่ลูกค้าของตนในประเทศที่มีธุรกิจในเมืองไทย และเป็นเพียงการลงทุนระยะยาวโดยมุ่งหวังเงินปันผล

ปรากฎการณ์เหล่านี้ นับเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับบงล.ในการที่จะได้ทำธุรกิจสมดังเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอย่างแท้จริงตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2522

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หาใช่ว่าบล.หรือบงล.เหล่านี้ อยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นมาจับมือกับสถาบันการเงินต่างชาติแล้วตั้งเป้าหมายทำ INVESTMENT BANKING ได้ง่าย ๆ ไม่

แต่เป็นเพราะมีปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายประการในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเทียบไม่ได้กับในอนาดตก่อนหน้านั้น

ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเพิ่มสูงมากระหว่าง 8-10% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดหมากว่าจะขยายตัวประมาณ 7.5% ต่อปี

ความเติบโตของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล เช่น โครงการปิโตรเคมี, โครงการอิสเทิร์นซีบอร์ด, ออฟฟิศบิลดิ้ง เป็นต้น

การขยายตัวของตลาดหลักทรัพย์และที่สำคัญคือการผ่อนปรนกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินต่างชาติในประเทศไทย

ปัจจัยเหล่านี้เอื้ออำนวยให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หลายแห่งสามารถขยายกิจการได้มากกว่าที่เคยทำมา

นั่นคือ ในด้านของเงินทุนก็ไม่ได้มุ่งเน้นแต่ธุรกิจการให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนและการค้า (COMMERCIAL LENDING) และการกู้ยืมเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ (HIRE PURCHASE)

แต่ไดขยายไปในด้านธนาคารเพื่อการลงทุน่และวาณิชธนกิจ (INVESTMENT & MERCHANT BANKING) คือให้บริการวางแผนทางการเงินหรือการบริหารการเงินแก่ลูกค้า บริการในการเป็นตัวกลางเพื่อซื้อขายกิจการระหว่างกันของลูกค้าหรือการควบกิจการ (MERGER & ACQUISITION)

นอกจากนี้บงล.ใหญ่ ๆ หลายแห่งยังได้ร่วมทำ SYNDICATED-LOAN กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศให้กับลูกค้าที่ต้องการวงเงินกู้ขนาดใหญ่ได้ด้วย

ส่วนในด้านของธุรกิจหลักทรัพย์นั้น เริ่มทำทางด้านจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (UNDERWARTER) และเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์เพื่อบัญชีการลงทุนของบริษัทเอง (PORTFOIO) และค้าใหักับนักลงทุนชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจตลาดหุ้นของไทยอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีการหานักลงทุนชาวต่างชาติทั้งเป็นรายบุคคล และประเภทกองทุนเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหุ้นไทด้วยโดยอาศัยสายสัมพันธ์จากการร่วมุทนและเครือข่ายทางธุรกิจอื่น ๆ

บทบาทเหล่านี้เริ่มเพิ่มสูงมากขึ้นในหมู่บริษัทหลักทรัพย์และเงินทุนหลักทรัพย์ขนาดกลางที่ขวนขวายเร่งอัตราการเติบโตไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดทุน

นี่เป็นเหตุผลสำคัญสำหรับอธิบายการร่วมทุนของ 3 บล.และบงล.ข้างต้น

ก่อนหน้าที่ธนาคารอินโดสุเอซ (ดับบลิว. ไอ. คาร์) จะเซ็นสัญญาซื้อหุ้นของบงล.นวธนกิจนั้น อิโดสุเอซให้ความสนใจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแน้นซ์ จำกัด ซึ่งอยู่ในโครงการ 4 เมษาฯ

หลังจากที่ยื่นข้อเสนอ แต่ไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติ อินดดสุเอซก็หันไปพิจารณาบงล.อื่นคือนวธนกิจ โดยได้รับคำแนะนำจากดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ประธานกรรมการฯบงล.นวธนกิจและเป็นกรรมการที่ปรึกษากรรมการบริหารธนาคารทหารไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

อันที่จริงมีสถาบันการเงินต่างชาติรายอื่นที่ให้ความสนใจจะซื้อหุ้นนวธนกิจด้วยเหมือนกันคือธนาคารเครดิต ลีอองเนส์ ซึ่งในที่สุดได้หันไปทาบทามบงล.ไอทีเอฟ

และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาคืออินโดสุเอซ เพราะมีสายสัมพันธ์กับดร.ศุภชัยมาแต่สมัยอยู่แบงก์ชาติ

ดร.ศุภชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ธนาคารอินโดซุเอซได้พูดถึงข้อจำกัดในการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ในฐษนะที่เป็นธนาคารต่างชาติ ทั้งนี้เขาต้องการขยายธูรกิจการเงินให้มากขึ้น และครบวงจร นั่นคือต้องการทำ INVESTMENT BANK ดังนั้นเขาจึงหาทางออกมาในแง่การซื้อหุ้นนวธนกิจ

ธนาคารอินโดสุเอซมีเป้าหมายที่จะพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ใหมากคือทำทั้งการซื้อขายหุ้นและเรื่องการประกันการจำหน่ายหุ้น

ในการนี้อินโดสุเอซมีดับบลิว.ไอ.คาร์เป็นเครือข่ายด้านธุรกิจค้าหลักทรัพย์ระดับสากลมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอนและมีสาขาอยู่ทั่วเอเซีย

ดับบลิว.ไอ.คาร์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่เข้ามาเปิดสำนักงานตัวแทนเพื่อทำข้อมูลด้านตลาดทุนในไทยตั้งแต่เมื่อปลายปี 2531 แต่ไม่มีใบอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์ ดับบลิว.ไอ.คาร์ และบริษัทโบรกเกอร์ต่างประเทศอื่น ๆ อีกรวม 7 บริษัทก็พยายามที่จะซื้อกิจการด้านหลักทรัพย์

เมื่อธนาคารอินโดสุเซอซตกลงกับธนาคารทหารไทยได้ดับบลิว.ไอ.คาร์จึงมีที่ลง

อภิวัฒน์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบงล.นวธนกิจกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เขาสามารถป้อนลูกค้าให้เราได้มากทีเดียว เพราะก่อนเข้ามาร่วมกับเรานั้นเขาก็ซื้อหุ้นผ่านทางธนชาติและสินเอเซียอยู่แล้วและเขาสามารถเสริมสร้างทีมงานของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวิเคราะห์และการประกันการจำหน่ายหุ้น"

"นอกจากนี้เขาอาจจะทำตราสารการเงินใหม่ ๆ ออกมาให้เราขายให้เราเล่นได้อีกมากเช่นตอนนี้กำลังทำเรื่อง PERPETUAL BOND เสนอรัฐบาลอยู่รวมทั้งการกู้เงินต่างประเทศ ถ้านวฯต้องการ เราจะได้เรทดี"

ทั้งนี้อภิวัฒน์อ้างถึงธนาคารอินโดสุเอซซึ่งเปิดาขาทำธุรกิจในไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว อินโดสุเอซรับจัดไฟแนนซ์ให้กับโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการรวมทั้งมีประสบการณ์ออกตราสารการเงินใหม่ ๆ ในฝรั่งเศส

ดังนั้นย่อมเป็นที่แน่นอนว่านวฯจะได้รับประโยชน์ด้านเงินทุนจากอินโดสุเอซด้วย

เพียงแค่โนว์-ฮาวและแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ที่บงล.จะได้เมื่อร่วมทุนกับสถาบันการเงินต่างประเทศก็นับว่ามีประโยชน์มากพอแล้วสำหรับจะมาเสริมฐานของตนเองให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

อภิวัฒน์เปิดเผยวาจำนวนหุ้นที่อินโดสุเอซซื้อไปนั้นมี 1 ล้านหุ้นหรือ 25% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 330 ล้านบาท ซึ่งอินโดสุเอซได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้วและนวนก็กันเข้ไว้เป็นเงินสำรองของบริษัทเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

ทางด้านบล.เอฟซีไอ ก็จะได้รับผลประโยชน์ ที่คล้ายคลึงกันกันวธนกิจจากบริษัทหลักทรัพย์ชินตง คือในเรื่องของการพัฒนาความรู้ความสามารถในธุรกิจค้าหลักทรัพย์ วมทั้งการช่วยหาลูกค้าต่างประเทศเข้ามาเพราะบล.ชินตงเป็นบริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ชั้นนำอันดบ 1 ในของฮ่องกง

ทั้งนี้แหล่งข่าวในบล.เอฟซีไอเปิดเผยว่าชินตงและเอฟซีไอนั้นร่วมเป็น CO-MANAGEMENT กันอยู่ก่อนแล้ว โดยทางชินตงเป็นลีดเดอร์

อย่างไรก็ดีในด้านของเงินทุน เอฟซีไอก็สามารถร่วมมือกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เอตรืได้ เพราะธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์นั้นก็เหมือนกับธนาคารอินโดสุเอซ คือเปิดสาขาดำเนินธุรกิจการเงินในไทยมาเป็นเวลานาน มีเครือข่ายลูกค้าต่างชาติที่จะดึงเข้ามาลงทุนในไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุนหรือหลักทรัพย์ก็ตาม

เอฟซีไอขายหุ้นให้ชินตง 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 250,000 หุ้น ซึ่งจะต้องขายมากกว่าราคาพาร์หุ้นละ 100 บาทเป็นแน่

และเป็นที่คาดหมายว่าชินตงจะต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมเป็นกรรมการผู้จัดการหรือกรรมกรบริหารตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง

สำหรับบงล.จีเอฟซึ่งเริ่มจะมีบทบาทโดดเด่นเอามาก ๆ ในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของตัวหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาด หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการทำธุรกิจเงินทุนเพื่อผู้บริโภค CONSUMER LENDING ก็ทำสัญญาขายหุ้นร่วมุนกับเอเอ็นแซดเอเสริมความสมบูรณ์ในธุรกิจเหล่านี้มากยิ่งขึ้น

เอเอ็นแซดซื้อหุ้นจีเอฟ 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 30 ล้านหุ้น เดิมจีเอฟมีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 15 ล้านหุ้นราคาหุ้นละ 10 บาทก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นกับเอเอ็นแซดนั้น จีเอฟก็ได้ประกาศเพิ่มทุนทั้งหมด 30 ล้านหุ้นมีทุนจดทะเบียนรวม 300 ล้านบาท

ชินเวศ สารสาส กรรมการผู้จัดการจีเอฟกล่าวว่า เอเอ็นแซดได้ส่งไบรอัน ฮิวแมน เข้ามาเป็นประธานกรรมการบริหารแทนม.ร.ว.สุชาติจันทร์ ประวิตร ซึ่งยกฐานะขึ้นไปเป็นรองประธานกรรมการบริษัท

การร่วมทุนกับเอ็นแซดทำให้จีเอฟขยายธุรกิจได้อีกมาโดยเฉพาะในด้าน CONSUMER BANKING ซึ่งจีเอฟก็ทำอยู่แล้วและยังจะได้เรียนรู้ความชำนนิชำนาญจากเอเอ็นแซดซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้มากยิ่งขึ้น

ในด้านหลักทรัพย์นั้นก็สามารถรองรับลูกค้าจากเครือข่ายธุรกิจหลักทรัพย์ของเอเอ็นแซดที่มีสาขาอยู่ในหลายประเทศได้

สำหรับธุรกิจ INVESTMENT BANK นั้นจีเอฟวางแผนจะเข้าไปซื้อบงล.แห่งหนึ่งและร่วมทุนกับธนาคารต่างประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากกว่าจะร่วมทุนกับ MORGAN GRENFELL โดยมีเงื่อนไขว่าการซื้อบงล.ใดก็ตามจีเอฟต้องถือหุ้นเกิน 50%

"ธุรกิจที่เล็งอยู่คือให้บริการด้านการควบกิจการและซื้อกิจการและการแปรรูปสู่เอกชน ซึ่งอนาคตตลาดส่วนนี้จะเติบโตมากในบ้านเรา" ชินเวศ พูดถึงเหตุผลการซื้อ

การขายหุ้นให้สถาบันการเงินและหลักทรัพย์ต่างประเทศ 25% เป็นสิ่งที่มองกันได้ว่า นั่นจะนำมาซึ่งปริมาณธุรกิจที่สถาบันการเงินต่างประเทศมีเครือข่ายลูกค้าอยู่ทั่วโลก มาป้อนให้บริษัทไทยในยามที่ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจกำลังโตเอา ๆ มากเช่นกัน

แต่ถ้าหากตลาดหุ้นและเศรษฐกิจเกิดฟุบตัวลงเหมือนเหตุการณ์ปี 2523 ถึง 2528 และสถาบันการเงินต่างชาติเหล่านี้จะถอนตัวออกไปไหม อย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 4-5 ปีก่อน

ก็หวังว่า กระแสลมจากตะวันตกคงไม่ย้อนกลับไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us