Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532
การมองการณ์ไกลของ APL             
 


   
www resources

American President Line (APL) Homepage

   
search resources

American President Line (APL)
วชิระ สมัคคาลัย
Transportation




การเบนความสนใจของ "นักธุรกิจ" ทั้งหลาย ให้หันเหไปสู่ "ธุรกิจ" ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือ "ธุรกิจ" ที่ยังไม่เห็นอนาคต ไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่บางเรื่อง ที่มีอนาคต นัยว่าจะสดใสก็กลับถูกมองข้ามไป ผู้ที่ใส่ใจส่วนใหญ่ก็เป็นเฉพาะคนในวงการเท่านั้น

ธุรกิจพาณิชยนาวี เป็นธุรกิจที่มีมานานแล้วในบ้านเราแต่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จักก็เมื่อไม่กี่ปีมานี้ นโยบายของรัฐที่เน้นการส่งออก ผนวกกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้สัดส่วนของธุรกิจพาณิชยนาวีในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (BALANCE OF PAYMENT) เป็นตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นอย่างผิดหูผิดตามตัวเลขจากรายงานประจำเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทยจากปี 2529 มีมูลค่าประมาณ 32,000 ล้านบาท เทียบกับปี 2530 มีมูลค่าประมาณ 39,859 ล้านบาท นั่นคือสาเหตุ ที่ทำให้ธุรกิจพาณิชยนาวีตกอยู่ในความสนใจของคนหลายกลุ่ม มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

วันนี้ เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมากมากในวงการพาณิชย์นาวีการเคลื่อนไหวปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางอออกของปัญหาตั้งแต่การบริการ การนำเทคนิคเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ หรือแม่แต่การวางแผนพัฒนาเพื่ออนาคตกำลังเกิดขึ้นอยู่อย่างเงียบ ๆ

"ปรากฏว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างมาก การนำเข้าส่งออกในท่าเรือคลองเตยจึงเกิดความแออัดบริษัทเรือที่มองเห็นปัญหา จึงมุ่งเน้นไปใช้ท่าเรือที่สัตหีบ เพราะในเวลานี้ มีท่าเรือสัตหีบเท่านั้นที่เหมาะสม" วชิระ สมัคคามัย OPERATION MANAGER ของบริษัทเรือ อเมริกันเพรสซิเค้นท์ไลน์ หรือ APL กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงปัญหาที่ประสบ และหนทางการแก้ไข รวมทั้งแรงจูงใจอย่างสั้น ๆ

บริษัทเรือที่มองเห็นปัญหาตามที่วชิระกล่าว นั่นก็คือบริษัท AMERICAN PRESIDENT LINE หรือที่รู้จักกันในวงการว่า "APL" บริษัทที่วัชระร่วมหัวจมท้ายมาด้วยกันถึง 9 ปีเต็ม ๆ

APL เป็นบริษัทเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกองเรือใหญ่มากรายหนึ่งของโลกและมีเอเยนต์กระจายอยู่ทั่วโลกเป็นสายการเดินเรือชื่อดังทั้งในและนอกประเทศ

เมื่อประมาณ 13 ปีก่อน APL ก็เคยเข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทยอยู่พักหนึ่ง ประมาณปีสองปีเห็นจะได้ แต่คงเป็นเพราะ "จุดไม่คุ้มทุน" เป็นต้นเหตุทำให้ APL ต้องถอนทัพกลับไป ซึ่งก็เป็นเรื่องธรราดาของธุรกิจเมื่อเกิดการขาดทุน ก็ต้องร้างลามือประกอบกับสมัยก่อน ตลาดเป็นของผู้ใช้บริการ ปริมาณการขนส่งสินค้า-การซื้อขายระหว่างประเทศก็ไม่มีมากมายอย่างทุกวันนี้

อีกประมาณ 2 ปีถัดมา APL กลับเข้ามาอีกครั้ง พร้อมกับฝังรากลึกมากจนทุกวันนี้ 9 ปีเต็ม ๆ และตลาดตอนนี้ก็เปลี่ยนไปกลายเป็น ตลาดของผู้ให้บริการคือบริษัทเรือนั่นเอง

ตู้สินค้า คอนเทนเนอร์ผ่านเข้าออกท่าเรือคลองเตยปีละหลายแสนตู้ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มกับเพิ่ม ปัญหาหลายอย่างรวมตัวกัน จนเกิดปัญหาท่าเรือแออัด (CONGESTION) พื้นที่กองตู้สินค้าเปล่า พื้นที่กองตู้บรรจุสินค้าในท่าไม่เพียงพอ ระบบการลำเลียงตู้สินค้า ทุกอย่างดูเหมือนจะติดขัดล่าช้าไปเสียหมด

นัยว่า APL มองเห็นปัญหานี้จึงได้พยายามเบนเข็ม ไปใช้ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบแทน ซึ่งเหมาะสมที่สุดในเวลานี้ ทั้งนี้เพราะมีผู้ประกอบการรายอื่นน้อยมาก "ปัญหาคือ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ หรือรอบ ๆ กรุงเทพฯ ดังนั้นบริษัทเรือจะต้องทำหน้าที่นำสินค้าจากสัตหีบมาให้ลูกค้าที่กรุงเทพฯ" วชิระพูดถึงภาระของ APL เมื่อต้องไปใช้ท่าเรือสัตหีบ นั่นคือบริการการลำเลียงตู้สินค้าของ APL

โดยกรรมวิธีแล้ว เมื่อตู้สินค้าถูกยกลงจากเรือแล้ว จะมีรถเทรเลอร์มารับตู้สินค้านี้ และลำเลียงออกไปซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กรณี (2 พื้นที่) คือ ซี.วาย. (CONTAINER YARD) ลูกค้าจะมีความประสงค์ที่จะเอาตู้ไปเปิดที่โกดังสินค้าของตัวเอง ดังนั้นบริษัทเรือจึงไม่ต้องแตะต้องใด ๆ เลย เพียงแต่นำตู้ไปวางไว้ที่พื้นที่ หนึ่ง ซี.เอฟ.เอส (CONTAINER FREIGHT STATION) ตู้สินค้าประเภทนี้มักจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายต่อหนึ่งตู้ ลูกค้าจะมารับสินค้าจากบริษัทเรือโดยตรง ดังนั้นบริษัทจะต้องทำการเปิดตู้ แล้วนำสินค้าออกมาเก็บไว้ในโกดังสินค้า จนกว่าจะมีลูกค้ามารับเอาไป ตู้ประเภทนี้ก็จะถูกกองไว้อีกพื้นที่หนึ่ง ส่วนการลำเลียงสินค้าขาออกก็มีวิธีการอย่างเดียวกัน

นอกจากนั้นก็จะมีการตรวจปล่อยสินค้า การออกของโดยผ่านพิธีทางศุลกากร ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานการท่าเรอบ้าง ของกรมศุลกากรบ้าง

ผลปรากฎปัจจุบันนี้ ที่ ซี.วาย.และ ซี.เอฟ.เอส. จะมีเจ้าหน้าที่ควบคุม ที่สามารถให้ความสะดวกแก่เจ้าของสินค้าได้อย่างในท่าเรือคลองเตย เกิดขึ้นแล้วที่ "คลังสินค้าบางซื่อ" อันเป็นพื้นที่ของการรถไฟ ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของ APL

บริษัทเรือ APL ได้กระโดดเข้ามา ยื่นเรื่องเสนอขอใช้พื้นนั้น ติดต่อทาบทามการรถไฟฯ ขอความร่วมมือจากกรมศุลากากรที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำซี.วาย.และ ซี.เอฟ.เอส โดยใช้คลังเก็บสินค้าที่มีอยู่แล้วของการรถไฟฯ ให้เป็นประโยชน์ ต่อเนื่องกับเส้นทางรถไฟจากสัตหีบเชื่อมตรงมายังคลังสินค้าที่บางซื่อ

สิ่งที่น่าจะเป็นปัญหา แต่ปรากฎว่าไม่มีปัญหา สำหรับผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า ตั้งแต่ความไม่สะดวก ความล่าช้าของขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธีศุลกากร ถูกขจัดหมดสิ้นไป เพราะผู้มาติดต่อขอออกของอันได้แก่ บริษัทชิปปิ้ง มีจำนวนน้อยประการหนึ่ง ผนวกกับหน่วยงานของศุลกากรถูกรวมไว้ ณ จุดเดียวอีกประการหนึ่งพิธีการตรวจเช็กต่าง ๆ จึงสะดวกรวดเร็ว ผ่านจากโต๊ะหนึ่ง ไปยังอีกโต๊ะหนึ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งผิดกับที่ท่าเรือคลองเตย เจ้าหน้าที่ศุลกากรคนหนึ่ง บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่โน่น ชิปปิ้งต้องโดดไปตึก โน้นบ้าง ตึกนี้บ้าง ก็ล่าช้ายุ่งยากพอสมควร แต่ที่นี่ทุกอย่างรวมไว้หมด ไม่ต้องเดินไปไหนให้เสียเวลา" นั่นคือความสะดวกรวมเร็ว ที่ลูกค้าของ APL ได้รับในแง่ของขั้นตอนต่าง ๆ แต่ อีกข้อหนึ่งที่สำคัญ คือเรื่องค่าใช้จ่าย ถึงแม้ APL จะย้ายลานบรรจุตู้สินค้ามาที่บางซื่อ ตู้คอนเทนเนอร์ทุกตู้ต้องถูกลากโดยรถไฟเพื่อไปขึ้นเรือที่ท่าเรือสัตหีบแต่ "ลูกค้าเคยเสียอัตราค่าบริการที่คลองเตยเท่าไหร่ ที่นี่ก็เสียเท่านั้น ค่าลากอะไรก็ไม่ต้องเสีย" วชิระจาก APL พูดถึงบริการให้เปล่าของ APL ให้ฟัง

แน่นอน ค่าใช้จ่ายเท่าเดิมความสะดวกรวดเร็วมีมากขึ้นย่อมตกเป็นผลได้ผลดีแก่ผู้ใช้บริการ

วิชิระให้เหตุผลสนับสนุนว่า "…เรามุ่งเน้นไปที่คลังเก็บสินค้า ของรถไฟที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมันจะได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้ และผู้ใช้บริการ เพราะทางรถไฟสายนี้ที่สร้างไว้ ก็เพื่อให้บริษัทเรือต่าง ๆไปใช้ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบตั้งแต่สมัยพลเอกเกรียงศักดิ์นั่นแล้ว"

ประจวบเหมาะกันไปหมดปัญหาท่าเรือแออัด เป็นตัวผลักดันให้บริษัทเรือต่าง ๆ ต้องดิ้นแก้ปัญหาให้กับตัวเอง ไม่ใช่แต่เฉพาะ APL เท่านั้น หากแต่ APL นั้นได้มีการบุกเบิกการขนส่งแบบ MULTIMODEL มาตั้งแต่อยู่สหรัฐอเมริกา APL เป็นสายการเดินเรือสายแรกของโลกที่ขนสินค้าจากแปซิฟิก ไปทางแถบแอตแลนติก โดยขึ้นท่าเรือแถบอเมริกาตะวันตก แล้วลำเลียงต่อไปทางตะวันออกด้วยรถไฟ ประสบความสำเร็จไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะนำเทคนิคอย่างนั้นมาบุกเบิกในประเทศไทยอีกด้วยหลาย ๆ อย่างประจวบเหมาะกันเช่นนี้

6 เดือนผ่านมาของคลังสินค้า APL ที่บางซื่อ คงต้องล้มลุกคลุกคลานกันบ้าง เพราะค่าภาระอันเกิดจากการลำเลียงตู้สินค้า ระยะทางไกลเช่นนั้นรวมไปถึงการลงทุน ในเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ ที่บางซื่อมากมิใช่น้อย แต่ในระยะ LONG RUN จะเป็นอย่างไร นั่นคือ จุดมุ่งหมายของบริษัทใหญ่ ๆ ที่คิดจะยิ่งยงอยู่ในธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทเรืออย่าง APL คุณภาพของงาน กับราคาที่เหมาะสมการมองตลาดระยะยาว จากเส้นทางในแถบเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีแนวโน้มว่า เส้นทางการค้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ เช่นนี้ก็คือ การมองจุดคุ้มทุนในวันข้างหน้า คงจะไม่ต่างกันนัก

ไม่เกินปลายปีนี้ ฝ่าย OPERATION ของ APL ทั้งหมดจะย้ายจากคลองเตยถิ่นเก่า ไปลงหลักปักฐาน ณ ถิ่นใหม่ที่บางซื่อ นั่นคือ รูปแบบแห่งการตัดสินใจที่มองไกลของ APL กับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ให้กับวงการธุรกิจพาณิชยนาวี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us