Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532
การเปลี่ยนแปลงในอาคเนย์ประกันภัย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด

   
search resources

อาคเนย์ประกันภัย (2000), บจก.
นรฤทธิ์ โชติกเสถียร
Insurance




ย้อนหลังไปเมื่อกันยายน ปี '30 เหตุการณ์ในบอร์ดรูมของอาคเนย์ประกันภัย ดูวุ่นวายไปหมด เมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นเก่าแก่กลุ่มหนึ่งนำโดย นรฤทธิ์ โชติกเสถียร ถูกกลุ่มผู้ถือหุ้น ศรีกาญจนา และบุณยรักษ์ นำโดย ดร.ศักดา บุณยรักษ์ เขี่ยออกจากการเป็นกรรมการ และผู้บริหารในบริษัท

เหตุผลสำคัญเกิดจากกลุ่มนรฤทธิ์ มีสัดส่วนหุ้นน้อยกว่า และไม่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มผู้ถือหุ้นและผู้บริหารรายอื่น ๆ ในบอร์ดจากกรณีการเข้ามาถือหุ้นส่วนของบริษัทจอห์น แฮนด๊อก มิวชวลไลฟ์ แห่งสหรัฐอเมริกา ที่กลุ่มนรฤทธิ์ ไปชักชวนให้เข้ามา

เป็นเวลาปีเต็ม ๆ ที่กลุ่มนรฤทธิ์ พยายามแสวงหาหนทางกลับเข้าไปมีอำนาจใหม่ในอาคเนย์ แต่ก็ดูล้มเหลว แม้หนทางที่ว่านี้ดูจะใช้ต้นทุนสูงมากก็ตาม

"ผมเสนอซื้อหุ้นจากกลุ่มคุณพายัพในราคาประมาณ 3,000 บาท / หุ้น สูงกว่าราคาหุ้นที่ผมกว้านซื้อมาเมื่อสิงหาคม ปี '30 ถึง 1 เท่าตัว ตอนแรกผมก็พอมั่นใจว่า ทางฝ่ายพายัพจะขายเพราะราคาที่ผมเสนอมันสูงมาก" นรฤทธิ์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงการต่อสู้เพื่อกลับคืนสู่บริษัทอาคเนย์ของเขา

เป้าหมายคู่ต่อสู้ของเขาไม่ใช่พายัพ แต่เป็น ดร.ศักดา บุณยรักษ์ ที่เขามั่นใจว่า เป็นเสนาธิการที่วางแผนเขี่ยกลุ่มเขาออกจากอาคเนย์ฯ เมื่อปีก่อน

ดูเหมือนศักดา บุณยักษ์ ก็รู้ตัวดีว่า เขาคือเป้าหมายที่กลุ่มนรฤทธิ์ประกาศศึกโดยตรงด้วยปลายปี '31 เขาจึงโน้มน้าวให้พายัพจัดตั้งบริษัทอาคเนย์โฮลดิ้งขึ้น เพื่อปิดประตูแทรกตัวเข้ามาของกลุ่มนรฤทธิ์

อาคเนย์โฮลดิ้ง เป็นบริษัทแม่ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนถือหุ้นประมาณ 56% ในบริษัทอาคเนย์ประกันภัย ผู้ถือหุ้นอาคเนย์โฮลดิ้งก็คือ กลุ่มพันธมิตรพายัพ ศักดา ทินศักดิ์ และพฤติสาน ชุมพล โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ดร.ศักดา กับพายัพ

นรฤทธิ์ มีความเชื่อว่า ปัจจุบัน ดร.ศักดา มีหุ้นอยู่ในอาคเนย์ประกันภัยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 5% เมื่อปี '30 เป็น 31% แล้ว ซึ่งมีความหมายมากต่อฐานะของพายัพ และลูกชายคือ จุลพยัพในอาคเนย์ฯ

เมื่อหนทางการกลับมาในอาคเนย์ฯ ถูกปิดล้อมด้วยเทคนิคการควบคุมหุ้นส่วน และต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนดอกเบี้ยอีกเกือบปีละ 8 ล้านบาท ที่กลุ่มนรฤทธิ์ไปกู้มาจากสถาบันการเงินในกลุ่มธนชาติตอนกว้านซื้อหุ้น ปี '30 เป็นแรงกดดัน 2 ประการที่ทำให้นรฤทธิ์ตัดสินใจขายหุ้นในกลุ่มของตนที่มีอยู่ในอาคเนย์ประกันภัยแก่ เจริญ ศิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อสุราทิพย์

"ผมตกลงกับกลุ่มผมว่า จะขายในราคาประมาณ 1,500 บาท / หุ้น ส่วนหุ้นของผมกับอาทรจะขายออกไปในราคาประมาณ 1,200 บาท / หุ้น" นรฤทธิ์พูดถึงการขายหุ้นแก่เจริญให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

การตกลงซื้อขายหุ้นกันครั้งนี้ เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่แล้ว นับว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของบริษัทอาคเนย์ประกันภัยที่มีอดีตอันยาวนาน

เจริญ ศิริวัฒนภักดี ในปี 2 ปีมานี้ เขาซื้อกิจการหลายแห่งเข้ามาในอาณาจักรธุรกิจของเขา ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ธนาคารมหานคร อินเตอร์ไลฟ์ เขาเป็นคนที่มีสไตล์การทำธุรกิจผสมผสานกัน 2 ลักษณะ คือ ด้านหนึ่งเขาเป็นคนเจรจาธุรกิจที่ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมแบบคนจีน ที่ถือความจริงใจเป็นที่ตั้ง อีกด้านหนึ่งเขาก็มีสต๊าฟที่ประกอบด้วยคนที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ ในจำนวนมากที่คอยป้อนข้อมูลและหาทางเลือกให้เขาตัดสินใจในธุรกิจ

การซื้อหุ้นจากกลุ่มนรฤทธิ์ในอาคเนย์ฯ เขาใช้เวลาเจรจาเพียง 3 ครั้งก็ตกลงกัน

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของอาคเนย์ประกันภัยที่ทอดเวลาไปข้างหน้าอีก 3 ปี อาจอยู่ในมือของเจริญก็เป็นได้

สไตล์การทำธุรกิจของเขากับ ดร.ศักดา มันต่างกันราวฟ้ากับดิน คนนึ่งเป็นกรรมการที่ชอบแบบถึงลูกถึงคน ขณะที่อีกคนหนึ่งเป็นนักวิชาการเต็มตัว ใช้วิจารณญาณบนพื้นฐานของข้อมูล และหลักทฤษฎี ความแตกต่างในสไตล์การบริหารและความคิดเชิงนโยบายของเจริญ กับ ดร.ศักดา ในเช่นนี้ ย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จุดแตกหักในความขัดแย้งในบอร์ดรูม จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

คนอย่างเจริญเขาลงทุนในธุรกิจใด ๆ ไม่ชอบมีใครที่เป็นคนอื่นเข้ามาร่วมหัวจมท้ายด้วย…

คอยดูกันต่อไป ละครชีวิตบทใหม่ในอาคเนย์ฯ !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us