Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 เมษายน 2551
ไตรมาสแรก โฆษณาเฉา สื่อทีวีร่วงฉุดยอดรวมติดลบ             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations




ปิดไตรมาสแรกไม่สวยอย่างที่นักโฆษณาส่วนใหญ่ตั้งความหวัง สำหรับงบประมาณการใช้เงินในธุรกิจโฆษณาผ่าน 8 สื่อหลักที่ นีลเส็น มีเดีย รีเสริช(ประเทศไทย) สรุปออกมา

ภาคเศรษฐกิจที่ซบเซาตลอดปีที่ผ่านมา ถูกคาดการณ์ว่าการได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะเข้ามาดูแล ผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้า แต่ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ภาระสำคัญของรัฐบาลดูจะมุ่งไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการโยกย้ายข้าราชการ ส่วนการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ กลับการเป็นการแก้ปัญหามากกว่าการรุกหน้า ทั้งปัญหาราคาข้าว ราคาปุ๋ย จนถึงราคาน้ำมันที่ยังหาทางออกไม่ได้ ปล่อยให้ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้นทุกวัน ผลกระทบที่ส่งมาถึงธุรกิจโฆษณาคือ ความถดถอยของเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ธุรกิจ

ยอดรวมเม็ดเงินโฆษณาในไตรมาแรกของปี 2551 มูลค่า 20,686 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสแรกของปี 2550 ที่มีมูลค่า 21,475 ล้านบาท อยู่ราว 3.67% โดยปัจจัยสำคัญอยู่ที่การถดถอยของการใช้งบโฆษณาทางโทรทัศน์ ตลอด 3 เดือนแรกของปี มีมูลค่า 11,778 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่ทำได้ 12,757 ล้านบาท ประมาณ 7.67%

ด้านสื่อวิทยุที่ตกต่ำมาตลอดปีที่ผ่านมา เริ่มต้นปีนี้อย่างสวยงามต่อเนื่อง 3 เดือน ปิดไตรมาสแรกที่มูลค่า 1,534 ล้านบาท เติบโตจากไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา 1,383 ล้านบาท ถึง 10.92% ขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์ ได้อานิสงส์ของการเติบโตในเดือนมีนาคม 5.50% ฉุดให้ตัวเลขตลอดไตรมาสแรก เติบโตขึ้น 1.20% โดยทำได้ 3,635 ล้านบาท ส่วนสื่อนิตยสารยังไม่สามารถสลัดพ้นจากความถดถอยได้ เม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่สื่อนี้ 1,245 ล้านบาท ลดลง 8.12% จากไตรมาสแรกของปีก่อนที่ทำได้ 1,355 ล้านบาท

ในกลุ่มสื่อขนาดเล็ก ความร้อนแรงของสื่อในโรงภาพยนตร์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา เริ่มลดลงเป็นลำดับจนถึงระดับติดลบในเดือนมีนาคม จบไตรมาสแรกที่ 990 ล้านบาท มีตัวเลขการเติบโตเหลือเพียง 4.21% สื่อ ขณะที่สื่อกลางแจ้ง ปัญหาป้ายโฆษณาล้มเป็นอีกปัจจัยสำคัญ นอกเหนือจากเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ ที่ทำให้ เม็ดเงินโฆษณาที่มีอยู่น้อย ต้องน้อยลงอีก เหลือเพียง 364 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2.15% ด้านสื่ออินสโตร์ กลายเป็นสื่อประเภทเดียวที่มีการเติบโตหยุดนิ่งทั้งในเดือนมีนาคม และโดยรวมในไตรมาสแรก มูลค่าตลอด 3 เดือน 46 ล้านบาท เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เอ็ม150 ขึ้นแท่นผู้นำต่อเนื่อง

หันมาดูที่การใช้งบโฆษณาประจำเดือนมีนาคม เครื่องดื่มให้พลังงาน เอ็ม150 จากค่ายโอสถสภา ครองตำแหน่งเจ้าบุญทุ่มใช้งบสูงสุดเป็นเดือนที่ 2 ด้วยมูลค่า 88.7 ล้านบาท ตามด้วย 2 กลุ่มรถยนต์จากโตโยต้า ทั้งรถปิกอัพ และรถยนต์นั่ง ที่ครองตำแหน่งผู้ใช้งบโฆษณาสูงสุดอันดับ 2 และ 3 ด้วยงบประมาณ 64.9 ล้านบาท และ 60.9 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมาด้วยค่ายรถยนต์อีซูซุ ที่ดึงเอา 4 นักร้องไทยมาเป็นพรีเซนเตอร์ พลิกรูปแบบงานโฆษณาของอีซูซุเป็นครั้งแรก โหมงบโฆษณาด้วยเม็ดเงินราว 48.2 ล้านบาท

ในส่วนของอดีตผู้นำในการใช้งบโฆษณาตลอดกาล ผลิตภัณฑ์พอนด์ส จากค่ายยูนิลีเวอร์ ตกจากตำแหน่งผู้นำมาอยู่ที่อันดับ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ และยังคงถอยต่อเนื่องในเดือนมีนาคม มาอยู่ในอันดับ 6 ด้วยงบประมาณ 44.5 ล้านบาท ขณะที่ 2 ตำแหน่งท้ายบนตารางท้อป 10 ในเดือนกุมภาพันธ์เคยเป็นของ 2 แบรนด์คู่แข่งในธุรกิจน้ำอัดลม อย่าง โค้ก และเป๊ปซี่ เดือนมีนาคมเปลี่ยนหน้าเป็น 2 แบรนด์คู่แข่งในธุรกิจมือถือระบบพรีเพด แฮปปี้ และวัน-ทู- คอลล์ ที่ลงมาชิงลูกค้ากันดุเดือดด้วยงบโฆษณาใกล้เคียงกันที่ 39 ล้านบาท และ 38.9 ล้านบาท ตามลำดับ

เริ่มต้นในไตรมาสที่ 2 การรับมือปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และความตั้งใจในการเดินหน้าสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของประเทศของรัฐบาล จะเกิดขึ้นหรือไม่ จะยังคงเป็นประเด็นสำคัญในการชี้วัดโอกาสการเติบโตของธุรกิจโฆษณาต่อไป เพราะลำพังกลุ่มสินค้าฤดูร้อนที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้ใช้งบโฆษณาสูงในช่วงเดือนเมษายนต่อถึงพฤษภาคม คงไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้ธุรกิจโฆษณาเติบโตขึ้นได้แน่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us