Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 เมษายน 2551
"ไทยสมุทรฯ"รักษาฐานที่มั่นรากหญ้าผ่าตัดทีมบริหารพอร์ต-ตั้งกรรมการพัฒนาปรับปรุงสินค้าใหม่             
 


   
search resources

Insurance
ไทยสมุทรประกันชีวิต, บจก




"ไทยสมุทรประกันชีวิต" ยกเครื่องโครงสร้างบริหารพอร์ตลงทุน เพิ่มทีมลงทุนในหุ้น และตลาดต่างประเทศ ผสมกับ ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนาสินค้า เจาะฐานลูกค้าเดิม กลุ่มรากหญ้า ก่อนจะไต่ระดับขึ้นไปจับตลาดกลางถึงบน หว่านเงินลงทุน "รีแบรนดิ้ง ไอที สาขา และบุคลากร" ร่วม 600 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับจากตื่นตัวจากกระแสทุนโลกตะวันตก ยกพลขึ้นบก ชิงตลาดฝั่งรากหญ้า....

เอ็มดี คนใหม่หมาดๆ ดัยนา บุนนาค ของไทยสมุทรประกันชีวิต ตอกย้ำจุดยืนของการยกเครื่องโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร นับจากปลายปีก่อน จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาฐานที่มั่นเดิม โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มรากหญ้า หรือ ลูกค้าประเภทอุตสาหกรรม ที่มีกำลังซื้อน้อย แต่มีจำนวนรายมาก

" เราต้องรักษาฐานเดิม และส่งเสริมช่องทางตัวแทนให้แกร่ง เพราะทุกบริษัท ทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างก็ประกาศตัวลงเล่นในตลาดรากหญ้ากันทั้งนั้น ส่วนในอนาคตก็จะบุกตลาดระดับกลางถึงบนต่อไป แต่ตอนนี้ต้องรักษาฐานเดิมของเราเสียก่อน"

การเปลี่ยนแปลงครั้งแรก ของไทยสมุทรฯก็คือ การเปลี่ยนตัวแม่ทัพ จากคนในครอบครัว "อัสสกุล" มาเป็นคนนอกคือ ดัยนา บุนนาค ผู้คร่ำหวอดในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ทั้งในธุรกิจบริหารจัดการกองทุนและธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ แต่ก็ยังไม่พอ

ในปีนี้ ดัยนา แม่ทัพหญิงคนใหม่ ได้ประกาศถึงการปรับโครงสร้างการทำงานด้วยเหตุผลสำคัญคือ การเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมบนโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรที่เคยเฉื่อยชา ต้องลุกขึ้นมาทำตัวกระฉับกระเฉงไม่ใช่แค่ลุกขึ้นวิ่งให้ทัน แต่ต้องพร้อมจะแซงหน้าอย่างไม่คิดชีวิตด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างใหม่ ที่จะปรากฎในการเปลี่ยนแปลงปีนี้จะต้องเริ่มต้นด้วย การปรับปรุง พัฒนาในหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็น การรีแบรนดิ้ง บุคลากร ระบบ ไอที สาขา และช่องทางใหม่ๆ รวมถึงพอร์ตลงทุน ซึ่ง จะต้องใช้เงินลงทุนร่วม 600ล้านบาท

ปีนี้ ไทยสมุทรฯถึงกับตั้งเป้าหมายจะมีเบี้ยรับปีแรก 2,112 ล้านบาท เติบโต 20% เบี้ยปีต่อไป 7,837 ล้านบาท เติบโต 6%คิดเป็นเบี้ยรับรวม 9,949 ล้านบาท โต 9%

ดัยนา บอกว่า ... "ไทยสมุทรฯ เคยยืนอยู่อันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมประกันชีวิตมานาน แต่หลังจากบริษัทต่างประเทศ เข้ามาปักหลักลงฐาน จากที่หนึ่งก็ตกบัลลังก์แชมป์"

นับจากนั้นเป็นต้นมา ไทยสมุทรฯ ก็เหมือน เทวดาตกสวรรค์ จากที่หนึ่งเลื่อนมาเป็นที่ สอง สาม และแทบจะถูกลืมเลือนไปจากลูกค้าโดยเฉพาะประเภทรายย่อย สามัญทั่วไป

" เดิมเรามีอัตราเฉื่อย แต่ปัจจุบันต้องบอกว่า เราสามารถลุกขึ้นวิ่งได้แล้ว"

ดัยนา บอกว่า ไทยสมุทรฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงการ การบริหารพอร์ตลงทุน และคณะทำงานด้านการปรับปรุง และพัฒนาสินค้า เพื่อให้ทันกับตลาดผู้บริโภค และนโยบายภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะมาตรการภาษีที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมประกันชีวิตมีโอกาสขยายตัวได้มากกว่าแต่ก่อน

โครงสร้างใหม่ เริ่มจาก การตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนา โปรดักส์หรือ สินค้า เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป โดยจะเร่งให้ทันกับมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อกรมธรรม์ จ่ายเบี้ย 10 ปีขึ้นไป สามารถลดหย่อนได้ 1 แสนบาท

" คนทำงานแล้ว จะเริ่มขยายธุรกิจใหม่ๆ เริ่มเก็บออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุ"

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตลาดหลักของไทยสมุทรฯเป็นกลุ่มตลาดระดับกำลังซื้อไม่สูงมาก แต่ก็มี 1.5 ล้านกรมธรรม์ มีลูกค้าที่บริหารอยู่ 2 ล้านกว่าราย ดังนั้น ลูกค้าในกลุ่มเดิมก็จะเป็นตลาดหลักที่จะขยายเข้าไปใน ตลาดประเภทสามัญด้วย จากสินค้าใหม่ๆ ที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะสินค้าประเภท ออมทรัพย์ระยะสั้น

นอกจากนั้น จำนวนตัวแทนที่มีอยู่ 14,000 คนก็จะเร่งยกระดับ ด้วยการอบรม ให้ความรู้ด้านการเงิน เพื่อให้มีสถานะเป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ ไฟแนนเชียล แพลนเนอร์ พร้อมกับเสริมกิจกรรมทางการตลาด ขยายตัวแทนให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเกือบ 6 ทศวรรษ

" เราจะไม่เน้นการใช้เงินเพื่อซื้อตัวคน แบบวูบวาบ เหมือนไฟไหม้ฟาง เพราะนั่นเป็นกลยุทธ์ระยะสั้น แต่เราจะสรางตัวแทนใหม่ เดิมมุ่งแค่แนะนำตัวแทน แต่ต่อไปจะมีทีมไปเสริม ทำรีแบรนด์ ทำภาพลักษณ์ใหม่ และจะมีการตั้งทีมเสริม ธุรกิจแบงแอสชัวรันส์ด้วย และก็กำลังสร้างระบบ คอล เซ็นเตอร์ใหม่ เพื่อให้ลูกค้าจากข้างนอก เข้ามาข้างใน ส่วนคนข้างใน จะไม่เน้น แบบก็โทรออกไปนำเสนอสินค้า ให้กับลูกค้า แบบเทเลมาร์เก็ตติ้ง"

นอกจากนั้น ก็ยังมีการปรับปรุงทีมบริหารพอร์ตลงทุน ที่มีเบี้ยใหม่ หรือขนาดสินทรัพย์ขยายตัวทุกปี จากในปี 2550ที่มีเงินลงทุนราว 46,000 บาท และมีผลตอบแทนจากลงทุนรวม 7.06% และมีเป้าหมาจะทำให้ถึง 7.43% ขณะที่เงินลงทุนในปีนี้คาดจะวิ่งมาที่ 5 หมื่นล้านบาท

นุสรา บัญญัติปิยะพจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ไทยสมุทรประกันชีวิต อธิบายว่า จะมีการปรับโครงสร้างพอร์ตลงทุนใหม่โดยจะสรรหาทีมงานใหม่มืออาชีพจากธุรกิจหลักทรัพย์ และบริหารจัดการลงทุนเข้ามาบริหารพอร์ตลงทุนในหุ้นเพิ่มมากขึ้น

เพราะปีนี้จะมีนโยบายเพิ่มการลงทุนในหุ้นเป็นเท่าตัว จากสัดส่วนที่มีอยู่เดิม คือ ลงทุนในต่างประเทศและในหุ้นเพียง 5%

ทั้งนี้ทีมงานที่จะสรรหาเข้ามาใหม่ จะเข้ามาดูแลพอร์ตลงทุนในหุ้นในประเทศ และพอร์ตลงทุนหุ้น และหน่วยลงทุน ในกองทุนที่จะไปลงทุนในต่างประเทศด้วย

" เรามีนโยบายคือ จะผันเงินจากเงินลงทุนระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนไม่สูง มาที่ พันธบัตรที่มีผลตอบแทนมากกว่ามากขึ้น เพื่อให้สัดส่วนพันธบัตรเพิ่มจาก 37% มาเป็น 42% ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและหน่วยลงทุนในต่างประเทศจากเดิม 2.8% จะเพิ่มเป็น 5.2"

นุสสรา ให้ข้อมูล โครงสร้างผลตอบแทนจากพอร์ตลงทุน ว่า เมื่อปีที่แล้วเงินฝากที่พักไว้ในสถาบันการเงินให้ผลตอบแทนเพียง 4.18% ขณะที่ผลตอบแทนจากตลาดตราสารระยะสั้นอยู่ที่ 6% จะลดลงในปีนี้ ส่วนเงินลงทุนในหุ้นและหน่วยลงทุนในต่างประเทศเคยอยู่ที่ 14% จะเพิ่มเป็น 16% ในปีนี้

" ผลกระทบจากซัพไพร์ม ในอเมริกา ทำให้การลงทุนในต่างประเทศต้องรอบคอบ ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใด" ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้สูงถึง 30% โดยมีการลงทุนสัดส่วน17% ของพอร์ตทั้งหมด

นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในเงินกู้ยืมในกรมธรรม์ ที่ให้ผลตอบแทนถึง 11% กว่า และจะเพิ่มในปีนี้ 17% ส่วนธุรกิจเช่าซื้อที่มีสัด ส่วนเพียง 2% ก็ถือว่าให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ราว 10% รวมถึงสินเชื่อขายทอดตลาดที่จะทำกำไรให้กับ ไทยสมุทรฯอีกราว 100 ล้านบาท

เท่านี้ก็เพียงพอจะบอกถึง แบล็คกรานด์ ขององค์กร ในอดีตที่เคยยืนอยู่แถวหน้าในอดีต ว่าไม่ได้ธรรมดาอย่างที่เห็นกัน เพียงแต่แรงเฉื่อย ที่กำลังสะดุ้งตื่นตัว ก็เพราะเพิ่งถูกกระตุ้นอย่างแรงจากโลกตะวันตก ในช่วงนี้ก็เท่านั้น....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us