Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 เมษายน 2551
ถึงเวลาหุ้นอสังหาขนาดย่อมหลังตัวใหญ่ไปใกล้ราคาเป้าหมายแล้ว             
 


   
search resources

Real Estate
Stock Exchange




หุ้นตัวใหญ่ในกลุ่มอสังหาแล่นฉิวไปแล้วจนใกล้เต็มมูลค่า โบรกฯแนะให้โยกมาเล่นหุ้นขนาด กลาง-เล็ก ดีกว่า เหตุราคาถูกกว่าแถมมีศักยภาพทางโดธุรกิจโดดเด่น

นับตั้งแต่รัฐบาลใหม่เข้ามารับตำแหน่ง กระแสข่าวดีสำหรับกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยก็ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อโครงการเป็นที่ยอมรับในตลาด และมีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ อย่างเช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH), บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH), บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) และ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท (PS)

นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซียพลัส กล่าวว่า จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ทำให้หุ้นขนาดใหญ่หลายตัวมีระดับราคาสูงขึ้นจนใกล้ราคาเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้แล้ว โดยอยู่ในช่วงค่าพี/อี 12 เท่า จนถึง 20 เท่า จึงเห็นว่าโอกาสที่จะเห็นราคาหุ้นขนาดใหญ่จะปรับตัวขึ้นแบบก้าวกระโดด อาจมีไม่มากนัก

ขณะที่หุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่มีศักยภาพทางธุรกิจ และราคาถูกยังมีอีกมากโดยจากการตรวจสอบข้อมูลของหุ้นที่อยู่ในการติดตามของฝ่ายวิจัย พบว่ายังมีหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปนาดกลาง-เล็กอีกหลายตัว ที่โครงการมี Brand Name เป็นที่ยอมรับของตลาด และราคาต่ำอีกหลายบริษัท ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในการลงทุน

ทำให้ฝ่ายวิจัยเชื่อว่ากระแสการลงทุนในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังไม่หมดไป แต่แนวโน้มจากนี้ไป น่าจะให้ความสำคัญกับหุ้นขนาดกลางเล็กมากขึ้น เนื่องจากราคายังต่ำ หรือแม้ในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน โดย บมจ. แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN), บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC), บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF), บมจ.ศุภาลัย (SPALI), บมจ.มั่นคงเคหะการ (MK), และ บมจ.เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (MJD) จะโดดเด่นมากขึ้นจากนี้ไป

เริ่มจากหุ้น LPN อิงค่าพี/อี 12 เท่า ให้ราคาเหมาะสมที่ 10.59 บาท โดยผู้นำในตลาดคอนโดนิเนียมระดับราคากลาง-ล่าง ปัจจุบันมีมูลค่างานในมือกว่า 8,100 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายการบันทึกรายได้ปี 2551 มียอด พรีเซลล์ รองรับกว่า 80% ถือว่าปลอดภัย

ตามด้วย SC อิงค่าพี/อี 10 เท่า ให้ราคาเหมาะสมที่ 20.18 บาท ซึ่งมีโครงสร้างรายได้ปลอดภัยโดยมีค่าเช่ากว่า 780 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขายขยายตัวต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีค่าพี/อี 7 เท่า และเงินปันผลกว่า 6%

ถัดมาคือหุ้น PF อิงค่าพี/อี 6 เท่า ให้ราคาเหมาะสมที่ 6.41 บาท คาดหมายกำไรปี 2551 จะเติบโตกว่า 1 เท่าตัว และยังอาจมีการบันทึกรายการพิเศษจากการขายที่ดินเปล่าเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรก และที่น่าสนใจไม่แพ้กันหุ้น SPALI อิงค่าพี/อี 8 เท่า หรือ 4.85 บาท ซึ่งเป็นหุ้นที่มีจุดเด่นในเรื่องเงินปันผล โดยคาดว่าจะสูงถึง 7-8% ต่อปี ถึงแม้ปี 2551 จะมีการเติบโตไม่มากนัก แต่จะเห็นเติบโต้กว่ากระโดดในปี 2552

รวมทั้งหุ้น MK อิงค่าพี/อี 6 เท่า ให้ราคาเหมาะสมที่ 3.10 บาท ซึ่งนับเป็นหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐในเกณฑ์สูง เนื่องจากพัฒนาโครงการแนวราบทั้ง 100% แต่อย่างไรก็ตามราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองในเชิงบวกเท่าที่ควร

สุดท้ายคือหุ้น MJD อิงค่าพี/อี 7 เท่า ให้ราคาเหมาะสมที่ 6.37 บาท โดยในปี 2551 จะมีโครงการที่ถึงกำหนดโอนมากถึง 4 โครงการ ทำให้ได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐ อาจมีการปรับประมาณการขึ้นในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้จากสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคในขณะนี้ เป็นสัญญาณที่จะสนับสนุนหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลง แม้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ไม่น่าจะปรับลดลงมากเท่ากับดอกเบี้ยนโยบายก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us