Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 เมษายน 2551
TMBโก่งราคาหุ้นMFCไทย-เทศสนถือเกิน50%             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
Funds




แผนซื้อหุ้น MFC ของออมสินยังไม่คืบ หลังแบงก์ทหารไทยโก่งราคาหุ้นสุดตัว ทั้งๆ ที่ต้นทุนสุดถูก เพราะได้มาจากสินทรัพย์ที่ติดมาสมัยควบ IFCT "พิชิต" เผย หุ้น MFC เนื้อหอม นักลงทุนไทย-เทศรุมจีบ หวังขยายฐานธุรกิจเสริมธุรกิจหลัก หลังเห็นศักยภาพทำกำไรสูง ด้านต่างชาติ ในวางรากฐานต่อยอดไปยังธุรกิจประเภทอื่น ระบุผลงาน Q1 กำไรค่าฟีอื้อ ต่อเนื่องถึงปีนี้

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า การเจรจาซื้อหุ้น MFC ของธนาคารออมสินจากธนาคารทหารไทย (TMB) ในสัดส่วนที่ถืออยู่ประมาณ 11% นั้น ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องของราคา เพราะธนาคารทหารไทยกำหนดราคาขายที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในส่วนของต้นทุนการได้หุ้น MFC ของทหารไทยเองไม่มีข้อมูล เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ติดมาจากการควบรวมกิจการระหว่างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบลจ.เอ็มเอฟซี

ส่วนการซื้อหุ้นของธนาคารออมสินนั้น จะต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หรือไม่นั้น คงไม่มีปัญหา แต่ออมสินต้องหารือกับทางกระทรวงการคลังก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ออมสินสามารถขอผ่อนผันการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อยู่แล้ว

สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบลจ.เอ็มเอฟซี ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน 24.50% กระทรวงการคลัง 16.67% ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 11.68% บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 10.52% บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ็ดคินซัน จำกัด (มหาชน) 4.72% และภาคเอกชน 31.91%

ก่อนหน้านี้ นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับจำนวนหุ้นประมาณ 11.68% ดังกล่าว คาดว่าธนาคารออมสินจะต้องใช้เงินทุนในการซื้อหุ้นประมาณ 120-130 ล้านบาท โดยในส่วนของราคาขายนั้นอาจจะใช้ตามราคาตลาดหรืออาจจะเป็นราคาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน แต่เชื่อว่าคงใช้เงินไม่เกิน 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันอาจจะต้องของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ผ่อนผันไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ด้วย เนื่องจากการถือหุ้นเพิ่มของธนาคารออมสินจะเกินสัดส่วน 25% ซึ่งเป็นจุดที่ต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์

นายพิชิตกล่าวว่า สาเหตุที่ธนาคารทหารไทยยังไม่ตัดสินใจขายหุ้น MFC ออกมา เนื่องจากเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร และปัจจุบันก็ไม่ได้มีอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของเขา แม้จะมีการถือหุ้นของ MFC อยู่ก้อตาม ส่วนความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบลจ.เอ็มเอฟซีและธนาคารทหารไทยในช่วงนี้ เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องกันแล้ว โดยปัจจุบันธนาคารทหารไทยก็มีบริษัทจัดการกองทุนอยู่แล้ว 2 บริษัท นั่นคือ บลจ.ทหารไทย และบลจ.ไอเอ็นจี ที่เข้ามาจากการที่กลุ่มไอเอ็นจีเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น

ไทย-เทศสนใจถือหุ้นMFCเกิน50%

นายพิชิตกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งภาครัฐบาลและบริษัทเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจซื้อหุ้นของบริษัทค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่เสนอซื้อในสัดส่วนที่สูงกว่า 50% ขึ้นไป ซึ่งสาเหตุที่นักลงทุนเหล่านี้ สนใจซื้อหุ้นถึง 50% เพราะส่วนหนึ่งมาจากเห็นศักยภาพในการทำกำไรของเรา และให้ความสำคัญกับธุรกิจอื่นนอกจากธุรกิจที่มีอยู่ ขณะเดียวกันในส่วนของนักลงทุนต่างชาติเอง ก็อาจจะมีจุดประสงค์ในการเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปยังธุรกิจประเภทอื่นๆ

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของบลจ.เอ็มเอฟซีในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับภาครัฐหลานโครงการ เช่น ที่ปรึกษาทางการเงินโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่ปรึกษาในการเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย รวมถึงธุรกิจจัดการกองทุนซึ่งเป็นธุรกิจหลัก โดยในช่วงปีผ่านมา บลจ.เอ็มเอฟซีมีการออกองทุนถึง 15 กองทุนด้วยกัน ซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการ (ค่าฟี) ไหลเข้ามาอยู่ในไตรมาสแรกของปีนี้ค่อนข้างเยอะ โดยในปีนี้เองเชื่อว่า รายได้ค่าฟีของบริษัทจะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากเรายังมีการออกกองทุนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 1 ของบลจ.เอ็มเอฟซี ในส่วนของงบการเงินรวมบริษัทมีกำไรสุทธิ 18.48 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.11 ล้านบาท หรือ 0.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 18.37 ล้านบาท ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจ บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 15.04 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.13 บาท เพิ่มขึ้น 6.88 ล้านบาท หรือ 84.31% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเพียง 8.16 ล้านบาท โดยมี สาเหตุมาจากรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมการจัดตั้งกองทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะปีที่ผ่านมา MFC ได้ตั้งกองทุนรวมทั้งสิ้น 15 กองทุน

นอกจากนี้ ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานประจำปี 2550 ให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 120,000,000 หุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551

"ในปีนี้ บลจ.คาดการณ์จะตั้งกองทุนอีก 16 กองทุน โดยไตรมาสที่ 1 ได้ตั้งกองทุนไปจำนวน 6 กองทุนด้วยกัน ขณะเดียวกันบลจ.ยังมีการจัดกิจกรรมการตลาดเพื่อหารายได้ เเละการจัดกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติม ทำให้เราประเมินว่าผลการดำเนินไตรมาส 2/51 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะเมื่อต้นเดือนเมษายน บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารออมสิน ตั้งกองทุนที่คล้ายกับวายุภักษ์ 1 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก" นายพิชิตกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us