Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ประวัติศาสตร์ 70 ปี เซ็นทรัลกรุ๊ป             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

เซ็นทรัลกรุ๊ป ถึงเวลาต้องผลัดรุ่น
ตำนานเซ็นทรัลยุคแรก คือชีวิตและผลงาน นี่เตียง แซ่เจ็ง
สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เซ็นทรัลกรุ๊ป เติบใหญ่ได้ในยุคของเขา

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น, บจก.
เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.
Retail
Shopping Centers and Department store




หากนับตั้งแต่จุดเริ่มต้น การก่อกำเนิดขึ้นมาของเซ็นทรัลกรุ๊ป ตั้งแต่ยุคบุกเบิกจากกิจการเล็กๆ จนเติบโต กลายเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกครบวงจรขนาดใหญ่ ที่แตกขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมากในขณะนี้ เซ็นทรัลกรุ๊ปจะมีอายุยาวนานถึงกว่า 70 ปี

ผ่านพ้นช่วงการเปลี่ยนแปลงมาถึง 3 ยุคด้วยกัน

ยุคเริ่มต้น (2470-2511) ภายใต้การนำของเตียง จิราธิวัฒน์ ชาวจีนไหหลำ ที่อพยพเข้ามาสร้างรากฐานในประเทศไทย ในปี 2470 เขาเริ่มจากกิจการร้านกาแฟ และ ขายสินค้าเบ็ดเตล็ดเล็กๆ ในย่านบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี ก่อนข้ามฟากมาเปิด "ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง" ขายหนังสือ และสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ในตรอกโรงภาษีเก่า ถนนสุรวงศ์ ในปี 2490 ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิด ก่อนจะมาเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล

ปี 2499 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแรก เปิดขึ้น ที่วังบูรพา และขยายสาขาต่อไปอีก ที่เยาวราช และราชดำริ แต่ 2 สาขาหลังนี้ต้องปิดตัวลง หลังเปิดมาได้ ไม่กี่ปี เพราะ ที่สาขาเยาวราช เปิดในย่านคนจีน ซึ่งยังมีความนิยมในการซื้อสินค้าจากร้านค้าห้องแถว ไม่นิยมซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่สาขาราชประสงค์ สถานที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่ดี จึงไม่สามารถสู้กับห้างไดมารู ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่น ที่มาเปิดก่อนได้

ปี 2511 ห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม ก็เปิดให้บริการ โดยเตียงลงทุนสร้างเป็นตึก 9 ชั้น เปิดเป็นห้างสรรพสินค้าติดเครื่องปรับอากาศแห่งแรกในย่านนี้ แต่สาขาสีลมเพิ่งเปิดให้บริการเพียงปีเดียว และผลประกอบการยังขาดทุน เตียงก็เสียชีวิตไปก่อน

(รายละเอียด อ่านล้อมกรอบ ตำนาน "เซ็นทรัล ยุคแรก...")

ยุคที่ 2 (2511-2532) ภายหลังการเสียชีวิตของเตียง สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ลูกชายคนโต ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำตระกูลต่อจากบิดา เขา และน้องๆ ที่เริ่มทยอยเดินทางกลับมาจากการศึกษาในต่างประเทศ ได้ช่วยกันแก้ปัญหาการขาดทุนของสาขาสีลม จนสามารถพลิกฟื้นกลับมามีกำไร

หลังจากนั้น เซ็นทรัลกรุ๊ป ภายใต้การนำของ สัมฤทธิ์ พี่ชายคนโตของจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ได้เริ่มมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด

ในยุคนี้ ได้มีการตั้งบริษัทเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์ (CDS) ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินการห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเกือบทั้งหมด โดยมีบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ป เป็น โฮลดิ้ง คัมปะนี มีสัมฤทธิ์เป็นประธาน

ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ได้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นมาอีก 8 สาขา

สาขา ที่น่ากล่าวถึง เพราะถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญทางธุรกิจของกลุ่มนี้ มีอยู่ 2 สาขา คือ ที่สาขาชิดลม และโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

สาขาชิดลม เปิดในปี 2516 เป็นสาขา ที่ 5 ถือเป็นป้อมปราการสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเซ็นทรัลกรุ๊ป และเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ซึ่งเป็นบริษัทแกนนำของกลุ่มค้าปลีก

ลักษณะพิเศษของสาขาชิดลม คือ มีการแยกบริษัทออกมาดูแลเป็นการเฉพาะ คือ บริษัทห้างสรรพสินค้าชิดลม จำกัด รับผิดชอบกิจการเฉพาะสาขานี้ สาขาเดียว โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CDS

ห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลมตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดิน ที่เตียง จิราธิวัฒน์ ซื้อไว้นานแล้ว ในราคาตารางวาละ 7,000 บาท จากอดีตอธิบดีกรมสรรพากรผู้หนึ่ง

เล่ากันว่า เดิม ที่ดินแปลงนี้มีบ้านขนาดใหญ่หลังหนึ่ง สร้างทรงเดียวกับพระราชวัง ที่หัวหิน เพราะออกแบบก่อสร้างโดยสถาปนิกคนเดียวกัน โดยเมื่อแรก ที่เข้ามาซื้อ ที่แปลงนี้ เตียงได้รับปาก กับเจ้าของเดิมไว้ว่าจะไม่รื้อบ้านหลังดังกล่าว แต่ต่อมาบริษัทฟิลลิปส์ได้มาขอเช่าทำ Service Center ทำให้เสียหายไปบ้าง พอตกมาอยู่ในรุ่นลูกๆ ของเตียง จึงต้องรื้อเพราะความจำเป็นทางธุรกิจ

สาขาแห่งนี้ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างครั้งแรกสูงถึง 60 ล้านบาท เป็นเงินกู้จากธนาคารกรุงเทพ โดยหวังจะดักกลุ่มลูกค้าในย่านสุขุมวิท และเพลินจิต ที่มีกำลังซื้อสูง

" ที่สาขานี้ คุณสัมฤทธิ์ลงทุนจ้างฝรั่งมาออกแบบตกแต่งภายในตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งในขณะนั้น ไม่มีใครกล้าจ้าง เพราะมันแพง แต่เราว่ามันคุ้ม" สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ ประธานกลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัลคนปัจจุบัน ซึ่งดูแลสาขาชิดลมมา ตั้งแต่ต้นกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลม ถือเป็นต้นแบบให้กับสาขาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง เพราะหลังจากนั้น เป็นต้นมา ทุกสาขาของห้างเซ็นทรัล จะต้องจ้างชาวต่างชาติมาเป็น ผู้ออกแบบตกแต่งภายก่อนจะเปิดทุกครั้ง

สาขาชิดลม เปิดให้บริการในปีแรกก็มีกำไรทันที และสาขานี้ได้กลายเป็นหัวหอกในการต่อสู้กับการแข่งของห้างสรรพสินค้า ที่เริ่มเข้มข้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2527

แม้สาขาชิดลม จะถูกไฟไหม้ไปครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี 2538 สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นประมาณ 1,200 ล้านบาท แต่ก็ได้รับการปรับปรุง และพัฒนาใหม่จนเปิดให้บริการได้อีกครั้ง และยังคงเป็นจุดที่สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัลได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจนถึงปัจจุบัน

การถือกำเนิดขึ้นของสาขาชิดลม เป็นช่วงเดียวกันกับการเกิดขึ้นของบริษัทเซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคตอรี่ ซึ่งเป็น ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ต่างๆ ป้อนเข้าไปขายในห้างเซ็นทรัล

บริษัทนี้ ตั้งขึ้นมาเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงปี 2516 มีการปลุกกระแสชาตินิยม รณรงค์ต่อต้านสินค้าจากต่างประเทศกันอย่างกว้างขวาง ทำให้เซ็นทรัลกรุ๊ปตัดสินใจจะเป็นผู้ผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายเอง เพื่อลดการนำเข้า

ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรเป็นครั้งแรกของกลุ่มนี้

และบริษัทนี้ ได้พัฒนาจนกลายเป็นกลุ่มธุรกิจผลิต และค้าส่ง (Central Marketing Group ; CMG) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 กลุ่มหลัก ที่ทำรายได้ให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ปในปัจจุบัน

โครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เกิดขึ้นหลังจาก ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปสามารถชนะการประมูลเช่าที่ดินบริเวณปากทางลาดพร้าว ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นทุ่งนารกร้างว่างเปล่า จากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ โดยมีระยะเวลาการเช่า 30 ปี และสามารถต่ออายุการเช่าได้อีกครั้งละ 10 ปี

สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ตั้งใจจะพัฒนา ที่ดินแปลงนี้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ มีทั้งห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์ประชุม ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาท

การตัดสินใจของสัมฤทธิ์ในครั้งนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางอุปสรรคจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำ อัตรา ดอกเบี้ยสูง ประกอบกับเป็นช่วง ที่นักลงทุนหวาดระแวงภัย ที่จะเกิดขึ้นตามมา จากชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามเวียดนาม ทำให้ไม่มีใครกล้าคิดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ ก็ไม่อยากสนับสนุนเงินกู้มากนัก

มีเพียงธนาคารกรุงเทพ ที่ปล่อยสินเชื่อให้ในวงเงิน 600 ล้านบาท กับธนาคารศรีนคร อีก 100 ล้านบาท

รวมทั้งเซ็นทรัลกรุ๊ป สามารถหาสถาบันการเงินจากต่างประเทศ คือ Bank of America, Societe Genele จากฝรั่งเศส และ Bank of Canada เข้ามา สนับสนุนเงินหมุนเวียนเข้ามาในโครงการ จนโครงการ ดังกล่าว สามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2523

การก่อกำเนิดขึ้นของโครงการนี้ ส่งผลให้เซ็นทรัลกรุ๊ปมีการแตกกลุ่มธุรกิจออกมาได้อีก 3 กลุ่ม

จากเดิม ที่โครงสร้างธุรกิจของเซ็นทรัลกรุ๊ป ในช่วงก่อนปี 2521 มีเพียงกลุ่มค้าปลีก และกลุ่มผลิต และค้าส่ง โครงการนี้ได้ก่อให้เกิดกลุ่มโรงแรม และ รีสอร์ต กลุ่มฟาสต์ฟู้ด และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเข้ามา ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มได้ขยายตัว และสามารถสร้างรายได้ให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ปเป็นจำนวนมากในภายหลัง

โดยเฉพาะกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เป็นแกนนำ มีการวางกลยุทธ์การขยายตัวให้สอดคล้องไปกับกลุ่มค้าปลีก(CRC) โดย CPN จะเป็นหัวหอกในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ แล้วให้ CRC เข้าไปดำเนินธุรกิจค้าปลีก ในลักษณะของการเซ้งพื้นที่ต่อมาจาก CPN ทำให้รายได้รวมยังคงหมุนเวียน อยู่ภายในกลุ่ม

และกลยุทธ์ดังกล่าว ยังคงใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคที่ 3 (2532-ปัจจุบัน) ปี 2532 เป็นปีที่เซ็นทรัลกรุ๊ปเริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบของห้างสรรพสินค้าใหม่ แยกให้ชัดเจนจากห้างเซ็นทรัล ดีพาทเม้นท์สโตร์ โดยการเปิดห้าง ZEN ขึ้น ที่ศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ห้างดังกล่าวมี รูปแบบ ที่แตกต่างออกมา และเน้นการขายสินค้าทันสมัย จับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าเป็นคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นที่มีรายได้สูง

ช่วงนี้เอง ที่สัมฤทธิ์เริ่มรู้ตัวว่าสุขภาพไม่ดีเพราะป่วยเป็นโรคมะเร็ง ที่ปอด ประกอบกับน้องๆ ขอให้พักผ่อน เพราะทำงานมาหนักมากแล้ว

ในกลุ่มจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ที่ทำงานอยู่ในเซ็นทรัลกรุ๊ป จึงมีการหารือ เพื่อแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบให้ชัดเจน

เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน มีการแต่งตั้งวันชัย จิราธิวัฒน์ น้องชายคนที่ 2 เป็นประธานบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ปแทนสัมฤทธิ์ และมีการแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม มอบหมายให้น้องๆ แต่ละคนรับผิดชอบ ประกอบด้วย

1. กลุ่มค้าปลีก (CRC) มีสุทธิชาติ เป็นประธาน

2. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPN) มีสุทธิธรรม เป็นประธาน

3. กลุ่มโรงแรม และรีสอร์ต มีสุทธิเกียรติ เป็นประธาน

4. กลุ่มฟาสต์ฟู้ด มีสุทธิเกียรติ เป็นประธาน

5. กลุ่มผลิต และค้าส่ง (CMG) มีสุทธิศักดิ์ เป็นประธาน

โดยบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ป ยังคงบทบาทเป็นโฮลดิ้ง คัมปะนี ถือหุ้นใหญ่อยู่ในบริษัทแกนนำหลักของแต่ละกลุ่ม

การแบ่งกลุ่ม ที่ชัดเจนเช่นนี้ ทำให้การบริหารงานในเซ็นทรัลกรุ๊ป มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ที่สัมฤทธิ์จะเป็นคนดูแลเองเป็นหลัก ในลักษณะเถ้าแก่ใหญ่ ก้าวเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

"บทบาทใหญ่จะตกอยู่กัยบอร์ดของเซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งจะเป็นคนคอยกำกับดูแลธุรกิจแต่ละกลุ่ม จะมีการประชุมกัน แล้วประธานของแต่ละกลุ่มก็จะต้องเข้าไปนำเสนอแผนงาน งบประมาณ เพื่อให้บอร์ดซักก่อนอนุมัติ" สุทธิชาติเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงลักษณะการทำงานหลังการแบ่งกลุ่ม

การแบ่งกลุ่มรับผิดชอบ เป็นการให้อิสระในการทำงานกับผู้บริหารของกลุ่มต่างๆ สามารถวางแผนงาน จัดสรรงบประมาณลงทุนของตนเอง ไม่มีการก้าวก่าย ซึ่งกัน และกัน แต่ในการประสานงานกันระหว่างกลุ่ม จะมีการประชุมร่วมกันบ่อยครั้ง

เช่น CRC กับ CPN จะมีการประชุมร่วมกันทุก 1 เดือน และ CRC กับ CMG ก็จะมีการประชุมกัน 2 เดือนต่อครั้ง

ส่วนระดับบริหารของเซ็นทรัลกรุ๊ป ก็มีการประชุมกันทุก 2 อาทิตย์

สัมฤทธิ์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ กลางดึกคืนวันที่ 10 กรกฎาคม 2535

การจากไปของสัมฤทธิ์ ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในเซ็นทรัลกรุ๊ป เพราะทุกอย่างได้จัดวางระบบ และแบ่งความรับผิดชอบไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่กลางปี 2532

เซ็นทรัลกรุ๊ปในยุคที่ 3 นี้ การขยายงานของแต่ละกลุ่ม ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้บางกลุ่ม อย่างเช่น CPN ต้องหยุดชะลอโครงการลงทุนบางโครงการลงชั่วคราว

แต่กล่าวเฉพาะ CRC แล้ว ในยุคนี้ เป็นยุคที่มีการขยายตัวสูงสุด โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ปี 2532 หลังเปิดห้าง ZEN ที่เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์เป็นต้นมา ได้มีการคิดค้นรูปแบบของห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ จออกมาอีกมาก (รายละเอียดอ่านในล้อมกรอบ CRC หัวหอกธุรกิจของเซ็นทรัลกรุ๊ป)

ปี 2540 ทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจหลักของเซ็นทรัลกรุ๊ป สามารถทำรายได้รวมประมาณ 60,000 ล้านบาท

สิ้นปี 2542 ที่ผ่านมา รายได้รวมของทั้ง 5 กลุ่มเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มสูงขึ้น 17%

แม้เซ็นทรัลกรุ๊ป ในยุคปัจจุบัน ได้แตกธุรกิจออกมาเป็น 5 กลุ่ม แต่กลุ่ม ที่ทำรายได้หลัก ก็ยังคงเป็น กลุ่มค้าปลีก นำโดย CRC โดยมีสัดส่วนรายได้สูงถึง 74.2% (รายละเอียดดูจากแผนภูมิโครงสร้างธุรกิจใน เครือจิราธิวัฒน์)

และเชื่อว่ากลุ่มนี้ ยังคงความเป็นแกนหลัก ที่สามารถทำรายได้ให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ปสูงที่สุดต่อไปอีกในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us