|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยักษ์ใหญ่ “โตโยต้า” ติดกับดักส่งออก ครั้งแรกตัวเลขพุ่งเกินครึ่งของยอดผลิตในไทย แต่เจอพิษค่าเงินบาทแข็งส่งผลกระทบ จนส่อแววกำไรลดวูบ ขณะที่ภาครัฐปลอบต้องทำใจ ไม่มีมาตรการทำให้คงที่ได้ เลยต้องดิ้นช่วยเหลือตัวเอง เผย 3 กลยุทธ์ลดต้นทุนรักษากำไร ให้คงอยู่ได้ในอัตราค่าเงิน 33 บาทต่อดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 3 ปี
นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ ประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งปีแรก ประสบความสำเร็จทั้งตลาดในประเทศและส่งออก มีตัวเลขการเติบโตในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก ที่โตโยต้าประเทศส่งออกเกินครึ่งของ หรือประมาณ 51% กำลังการผลิตทั้งหมดในไทย แต่การแข็งค่าของเงินบาทได้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของโตโยต้าพอสมควร
“หากเราไม่ทำอะไรอาจจะเกิดปัญหาขายได้มาก แต่กำไรลดลงก็ได้ ถึงแม้เราจะคาดหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว และจากการได้พูดคุยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะมีมาตรการอะไรควบคุมให้คงที่ได้ เพียงแต่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก ดังนั้นสิ่งสำคัญเราเองจึงต้องมีมาตรการรับมือปัญหาเงินบาทแข็งค่าภายใน 3 ปี โดยสามารถสร้างผลกำไร แม้ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33 บาทก็ตาม”
ทั้งนี้แผนการที่จะแก้ปัญหากำไรลดลง จากผลกระทบของเงินบาทแข็งค่า วิธีที่ดีที่สุดคือการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการลดนำเข้าชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นให้มากที่สุด แม้แต่ปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ที่ได้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศถึง 93% แต่ชิ้นส่วนดังกล่าวบางตัวก็มีส่วนประกอบหลายชิ้นรวมกัน บางชิ้นที่ซ่อนอยู่ซัพพลายเออร์อาจจะนำเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้ ตรงนี้โตโยต้าจะพยายามให้ซัพพลายเออร์ลดการนำเข้าลง
นายโซโนดะกล่าวว่า โดยวิธีที่โตโยต้าจะนำมาใช้ในการลดต้นทุน ได้เตรียมดำเนินการ 3 สิ่งด้วยกัน คือ อันดับแรกชิ้นส่วนตัวไหนที่ยังนำเข้าอยู่ ตรงนี้โตโยต้าจะพยายามขอร้องซัพพลายเออร์เทียร์ 1 ให้ถ่ายโอนเทคโนโลยีมายังไทย ดังเช่นเดนโซ่เร็วๆ นี้ จะเปิดศูนย์พัฒนาและวิจัย (R&D) ในไทย และต่อมาโตโยต้าจะเข้าไปสนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับเทียร์ 2 และ 3 ที่มีจำนวนมากกว่า 1,800 ราย ให้มีศักยภาพระดับสูงขึ้น โดยโตโยต้าได้ร่วมมือกับภาครัฐ ผ่านโครงการพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานโดยสถาบันยานยนต์
สุดท้ายปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบที่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะราคาของเหล็กคุณภาพสูงที่นำมาผลิตรถยนต์ ซึ่งต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทเจเอฟอี กำลังจะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในไทย ซึ่งอนาคตจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนได้
ส่วนผลกระทบที่โตโยต้ากำลังจับตาอีกอย่าง คือปัญหาซับไพร์บ แม้ปัจจุบันจะยังไม่ส่งผลชัดเจนในประเทศไทย แต่การส่งออกที่มากขึ้นของโตโยต้า หากปัญหานี้มีผลต่อประเทศที่ส่งออก ย่อมส่งผลกระทบต่อโตโยต้าได้ ฉะนั้นช่วงครึ่งปีหลังจึงต้องจับอย่างใกล้ชิด
“สำหรับการส่งออกช่วงไตรมาสแรกกำไรลดลงเล็กน้อย แต่เรายังเชื่อมั่นว่าเมื่อถึงสิ้นปีโตโยต้าจะมีผลประกอบการส่งออก 1.72 แสนล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 22.29% แบ่งเป็นส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปกว่า 2.98 แสนคัน คิดเป็นมูลค่า 1.26 แสนล้านบาท เติบโต 19.3% ชิ้นส่วนประกอบและอะไหล่ทดแทนมูลค่า 4.5 หมื่นล้านบาท เติบโต 17%”
นายโซโนดะกล่าวและว่า อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของโตโยต้าโดยรวมช่วงไตรมาสแรก หากเทียบกับปีที่ผ่านมายังมีอัตราการเติบโต แม้ตลาดส่งออกจะมีกำไรลดลง แต่ตลาดในประเทศที่ขยายตัวชัดเจน ทำให้รายได้ของโตโยต้าเติบโตเป็นที่น่าพอใจ
โดยยอดขายรถยนต์โตโยต้าในช่วงไตรมาสแรก ทำได้ทั้งสิ้น 6.7 หมื่นคัน เติบโตจากปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน 17.6% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 2.55 หมื่นคัน เติบโต 35% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4.1 หมื่นคัน เติบโต 8% จากตัวเลขรวมของโตโยต้า ถือว่าเป็นยอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ของโตโยต้า เพราะช่วงตลาดรถยนต์ในไทยสูงสุด 7 แสนคัน ในปี 2005 ยังทำได้เพียง 6.5 หมื่นคัน
ขณะที่ตลาดรถยนต์รวมทุกยี่ห้อช่วงไตรมาสแรก มีจำนวนทั้งหมด 1.6 แสนคัน เติบโตจากปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน 16% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 5.2 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 39% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1.08 แสนคัน เติบโตจากปีที่แล้ว 7% ส่วนสาเหตุที่ตลาดรถยนต์เติบโต โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง ที่เติบโตสูงมาก เนื่องจากการแนะนำรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 ที่มีราคาลดลง และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ขณะที่ปิกอัพก็มียอดขายเติบโตเช่นกันถึงจะไม่สูงมากนักก็ตาม
“จากตัวเลขดังกล่าวทำให้โตโยต้ายังยืนยัน ตัวเลขการขายรถยนต์รวมในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 7 แสนคัน เทียบกับปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 6.3 แสนคัน มีอัตราการเติบโต 11% เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังเติบโตต่อเนื่องตลอด 6 เดือน และตัวเลขจีดีพีที่ประกาศออกมายังโตถึง 6.5%”นายโซโนดะกล่าว
|
|
|
|
|