|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การดำเนินธุรกิจมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจขายสินค้าประเภทหนึ่งที่นำที่ดินและหรืออาคารขายให้กับผู้ซื้อที่มีความต้องการในที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการ บางคนซื้อเพื่ออยู่อาศัย บางคนก็ซื้อเพื่อนำไปประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการขายอสังหาริมทรัพย์ได้มีการนำอสังหาริมทรัพย์มาพัฒนาออกจำหน่ายหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ที่ดินเปล่า ตึกแถว บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการจัดสรรที่ดิน ซึ่งถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยเป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 และภาษีท้องถิ่นอีก 10% โดยรวมจะต้องเสียในอัตรา 3.3% ของรายรับก่อนหักรายจ่าย การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคลตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่
(ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่ง สำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม (ค) ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปีตามความใน (6) ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
(ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
(ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีค่าตอบแทน
(ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
ผู้ประกอบกิจการขายบ้านพร้อมที่ดินและจัดสรรที่ดินโดยได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงอยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะและมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 ในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมกับชำระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น
โดยไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อชำระภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ตามมาตรา 91/2 (6) มาตรา 91/10 มาตรา 91/12 และมาตรา 91/13 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 สำหรับเงินมัดจำและเงินดาวน์ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์
หากเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีมีการริบเงินมัดจำหรือเงินดาวน์จากผู้จะซื้ออสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากผู้จะซื้อผิดสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เงินดังกล่าวไม่ใช่เงินที่ได้มาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้นจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 แต่อย่างใด
การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3% แต่กำลังมีการแก้ไขลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะให้เหลือเพียง 0.1% ในเร็ววันนี้ที่จะมีกฎหมายประกาศออกมา ก็จะทำให้ผู้ประกอบการขายอสังหาริมทรัพย์ประหยัดภาษีลงไปค่อนข้างมาก
|
|
|
|
|